Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ภัยใกล้ตัว เศษฝาพลาสติกหลุดลงในเครื่องดื่ม จิบไม่ระวังอาจเจ็บได้

ภัยใกล้ตัว เศษฝาพลาสติกหลุดลงในเครื่องดื่ม จิบไม่ระวังอาจเจ็บได้

23 พ.ค. 68
16:38 น.
แชร์

หมอ ยกเคส เศษฝาพลาสติกในเครื่องดื่ม หลุดเข้าไปในหลอดอาหาร เจ็บทรมานคล้ายกงจักรบาด ต้องผ่าตัดเปิดช่องอกเพื่อทำการรักษา

ในยุคที่ผู้คนบริโภคเครื่องดื่มจากร้านสะดวกซื้อ คาเฟ่ หรือร้านชงสดเป็นประจำ เรื่องเล็กๆ อย่าง "ฝาพลาสติกหลุดลงในเครื่องดื่ม" อาจดูเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ บางคนมองอาจมองเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้ว นี่อาจเป็นภัยเงียบที่แฝงด้วยอันตรายถึงตายได้แบบกะทันหัน

1. ฝาพลาสติกหลุดลงในเครื่องดื่ม : ความบกพร่องเล็กน้อยที่อาจเปลี่ยนเป็นโศกนาฏกรรม

ฝาพลาสติกหรือชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้ปิดฝาขวด ฝาแก้ว หรือชิ้นส่วนที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือชงเครื่องดื่มนั้น ผลิตจากวัสดุพลาสติกบางชนิด เช่น โพลีโพรพิลีน (PP) หรือพอลิเอทิลีน (PE) ซึ่งสามารถทนความร้อนได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อชิ้นส่วนเหล่านี้เสื่อมสภาพ แตกหัก หรือเกิดจากขั้นตอนการผลิตที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ก็อาจเกิดเหตุการณ์ชิ้นส่วน "หลุด" ปะปนไปในเครื่องดื่มได้โดยผู้บริโภคไม่ทันรู้ตัว

2. พลาสติกในเครื่องดื่ม : ภัยคุกคามต่อทางเดินหายใจ

เมื่อผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีเศษพลาสติกปนเปื้อนเข้าไป มีความเป็นไปได้ที่เศษชิ้นส่วนนั้นจะ เข้าสู่ทางเดินหายใจ แทนที่จะลงไปยังกระเพาะอาหารตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ดูดเครื่องดื่มผ่านหลอด หรือดื่มขณะรีบร้อนจนสำลัก

หากพลาสติกชิ้นเล็กมีลักษณะแหลมคมหรือมีขอบคม อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

• ไอเรื้อรังเฉียบพลัน

• หายใจติดขัด หอบ หรือเจ็บหน้าอก

• เสียงหายใจมีเสียงหวีด

• เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ

• ในกรณีที่พลาสติกติดแน่นอยู่ในหลอดลมหรือปอด อาจต้องใช้การส่องกล้องหรือผ่าตัดเพื่อนำออก

3. พลาสติกในระบบย่อยอาหาร : ไม่ย่อย ไม่ละลาย และอาจทำลายลำไส้

พลาสติกไม่สามารถย่อยสลายในร่างกายมนุษย์ได้ หากพลาสติกเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะเคลื่อนที่ตามระบบทางเดินอาหารไปยังลำไส้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบ ดังนี้

• เกิดอาการแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

• ท้องอืดเรื้อรัง หรือการขับถ่ายผิดปกติ

• เสี่ยงต่อการอุดตันของลำไส้ หากชิ้นส่วนมีขนาดใหญ่หรือมีหลายชิ้น

• ถ้าชิ้นส่วนมีขอบแหลม อาจแทงทะลุลำไส้ ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจถึงแก่ชีวิตได้

กรณีศึกษา : อุบัติเหตุที่เกิดจากพลาสติกในเครื่องดื่ม

จากช่วงหนึ่งของคลิป ก้างปลาทิ่มคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชูไม่ช่วย สุดท้ายเสียชีวิต ของคุณหมอธนีย์ นพ. ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์อยู่ที่สหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และการปลูกถ่ายปอด ได้เผยถึงประเด็นน่าสนใจเกี่ยว ฝาแก้วพลาสติก ที่ด้านบนมีพลาสติกเป็นกลมๆ เล็กๆ เพื่อให้หลอดแทงเข้าไปได้

โดยเคสดังกล่าว หลังหลอดแทงเข้าไปแล้วตัวพลาสติกกลมๆ มันหลุดไปทั้งอัน ซึ่งปกติแล้วมันไม่ควรหลุด มันควรติดอยู่กับฝา แต่มันดันหลุดออกมาทั้งอันเลย แล้วพลาสติกกลมๆ มันคมมาก และเขาไม่รู้ก็เลยดูดเข้าไป ดูดพลาสติกคมๆ ที่แหลมเหมือนมีดเข้าไปในหลอดอาหาร ตอนแรกเข้าไปไม่ลึก แล้วเขาเจ็บคอทันที จากนั้นมันบาดลึก เหมือนเป็นกงจักรบาด

ทำให้เขาต้องผ่าตัดเปิดช่องอกเพื่อแก้ไขข้างใน กว่าจะหาพลาสติกกลมๆ นี่เจอนานเลยทีเดียว การรักษาก็ไม่ง่าย และไม่ใช่ทุกที่จะผ่าตัดให้เราได้ ในกรณีของก้างปลาอาจจะทำ ซีที-สแกน อาจจะเห็น แต่นี่คือพลาสติกบางมากๆ อาจจะไม่เห็นก็ได้ ทำให้ไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน ผ่าตัดเข้าไปก็อาจเจอแต่เลือดแดงฉาน แต่ไม่รู้ว่าพลาสติมันซ่อนอยู่ตรงไหน นี่คือความยากของมัน

แล้วต้องทำอย่างไรถึงปลอดภัย

• สังเกตลักษณะของภาชนะและฝาก่อนดื่มทุกครั้ง โดยเฉพาะหากมีรอยแตก หรือฝาหลวม

• หลีกเลี่ยงการดื่มขณะวิ่ง รีบร้อน หรือพูดคุยไปพร้อมกัน

• หากดื่มแล้วรู้สึกสำลัก ไอ หรือเจ็บหน้าอก ควรรีบพบแพทย์

• เลือกเครื่องดื่มจากร้านค้าที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง

"ฝาพลาสติกหลุดปนในเครื่องดื่ม" ผลกระทบอาจใหญ่หลวงกว่าที่คิด โดยเฉพาะหากเศษพลาสติกเข้าสู่ระบบหายใจหรือทางเดินอาหาร การตระหนักรู้ของผู้บริโภค และการควบคุมคุณภาพจากผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐ คือหนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหานี้

Advertisement

แชร์
ภัยใกล้ตัว เศษฝาพลาสติกหลุดลงในเครื่องดื่ม จิบไม่ระวังอาจเจ็บได้