วิธีต่อ พ.ร.บ. ภาษีรถยนต์ ปี 2567 ง่ายๆ ไม่ยากอย่างที่คิด

16 มี.ค. 67

ขับรถออกจากบ้านทุกวัน ลืมมองเจ้าป้ายสี่เหลี่ยมที่ติดอยู่ขอบกระจกหน้ารถกันบ้างหรือเปล่า ว่าเจ้ากระดาษใบเล็กๆ ใบนั้นมันสิ้นอายุกันเมื่อไหร่นะ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ และการต่อภาษีรถนั้นเป็นของคู่กันต้องทำในทุก ๆ ปี ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็ต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องชำเลืองตามองก่อนขับรถออกจากบ้าน ไม่ต้องให้พี่ตำรวจมาช่วยตรวจสอบว่ามันหมดอายุแล้ว โดนจับปรับเสียค่าลืมกันไปอีกหลายบาท

img

วิธีต่อ พ.ร.บ.+ภาษีรถยนต์ปี 2567

สำหรับคนที่มีเวลาสามารถไปที่เดินเรื่องที่ขนส่งก็ได้ จะมีบริการให้ซื้อหรือเลือกบริษัทประกันหรือ พ.ร.บ.เสิร์ฟกันถึงที่ ก่อนที่จะทำการต่อภาษีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ต่อไป ซื้อเสร็จเข้าช่องตรวจเอกสาร รอจ่ายเงินเป็นอันจบ สำหรับการต่อ พ.ร.บ. หรือที่เรียกกันว่าประกันภัยภาคบังคับนั้น สามารถทำทางออนไลน์ได้สำหรับคนที่ไม่มีเวลา ลงทะเบียนขอยื่นต่อ พ.ร.บ. ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th

untitled

และใครที่ใช้รถยนต์ใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี สามารถชำระภาษีประจำปีผ่านระบบออนไลน์ ของ กรมการขนส่งทางบก ได้ทันที ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก e-Service > https://eservice.dlt.go.th และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android

ส่วนรถยนต์เก่าหน่อยอายุนานกว่า 7 ปี หรือ รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ก็ยื่นชำระทางช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน แต่ต้องนำรถไปตรวจสภาพ จากสถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือเรียกกันสั้นๆ ว่า ตรอ. ในกรณีที่ไม่สะดวกเอารถไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งทาง เพราะคิวยาวเหยียด ก็เลือกใช้ ตรอ.ได้ ซึ่งสามารถต่อได้ล่วงหน้าภายใน 3 เดือน หรือ 90 วันก่อนวันที่ภาษีรถจะหมดอายุ และรถยนต์ที่ติดแก๊สทุกชนิด ต้องตรวจสภาพ และต้องยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งฯ เท่านั้น

วิธีการง่ายๆ ต่อทะเบียนออนไลน์

ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ กรอกข้อมูล และ Log-in เข้าสู่ เลือก “บริการ” และ คลิกเมนู “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต” กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ พ.ร.บ. เลือกวิธีการชำระเงิน จะหักผ่านบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส ก็ย่อมได้ เป็นอันเสร็จกระบวนการ และรับเอกสารทางไปรษณีย์ประมาณ 5 วันทำการ

untitled2

ใช้เอกสารอะไรต่อ พ.ร.บ.และภาษี

สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ ชื่อผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ ข้อมูลทะเบียนรถสมุดคู่มือ สีฟ้า สีเขียว และประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.ต้องซื้อไว้ มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน ใบตรวจสภาพรถยนต์จาก ตรอ.ในกรณีรถยนต์ที่มีอายุเกินกว่า 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี เมื่อมีเอกสารครบเรียบร้อย ก็ต่อ พ.ร.บ.และภาษีรถยนต์ได้เลยจะไปเอง หรือยื่นทางออนไลน์ก็ทำได้

untitled8

ถ้าไม่ต่อภาษีจะโดนอะไรบ้าง

อย่ารอให้รถยนต์ที่ขาดต่อภาษี รถยนต์ที่ขาดการต่อเกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 3 ปี สามารถเสียค่าภาษีรถยนต์และต่อทะเบียนได้ตามปกติ พร้อมกับจ่ายค่าปรับภาษีรถยนต์ย้อนหลังร้อยละ 1 ต่อเดือน ส่วนรถยนต์ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีขึ้นไป ทะเบียนจะถูกระงับการใช้งาน ซึ่งต้องจดทะเบียนใหม่ ต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนและเล่มทะเบียนคืนให้ขนส่งทางภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่โดนยกเลิก หากไม่นำไปคืน จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และค่อยต่อใหม่ แต่ต้องโดนค่าปรับเช่นกัน

เตือนกันสักนิด ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ.และภาษีจะมีผลเสียแน่นอน หากขับรถยนต์ จักรยานยนต์แล้วไปเกิดอุบัติเหตุ งานเข้าขนานใหญ่คู่กรณีเอาเรื่องไม่รู้จะไปเบิกค่าเสียหายกับใคร ต้องจ่ายกันเอง หากมีประกันภัยรถยนต์ ก็ต้องต่อ พ.ร.บ.และภาษีเช่นกัน ไม่งั้นค่าใช้จ่ายอ่วม อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย มีไว้อุ่นใจกว่าไม่มี แถมโดยค่าปรับ แต่หากไม่มีการต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนเอาได้ด้วยเช่นกัน อย่าลืมไปต่อกันนะ!

untitled3untitled4untitled5untitled6untitled7


advertisement

Powered by อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์

ข่าวยอดนิยม