ธุรกิจการตลาด

Traffy Fondue แก้ปัญหาเดือดร้อนคนกรุงฯ พลิกโฉมกรุงเทพฯก้าวสู่ SMART CITY

17 พ.ย. 66
Traffy Fondue แก้ปัญหาเดือดร้อนคนกรุงฯ พลิกโฉมกรุงเทพฯก้าวสู่ SMART CITY

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยได้สร้างการพัฒนาอย่างรวดเร็วในสังคมและนับวัน ‘เทคโนโลยี’ มีการพัฒนาให้ฉลาดล้ำ จนมันสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คน และธุรกิจให้ดีขึ้นตามไปด้วย

ทีม SPOTLIGHT พาทุกคนมารู้จักกับแนวคิดของภาครัฐ ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ทันสมัย หรือเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เข้ามาเติมเต็มการพัฒนาเมือง นั่นก็คือ Traffy  Fondue แอพพลิเคชั่นแก้ปัญหาความเดือดร้อนคนกรุงฯที่ส่งตรงสู่มือผู้ว่าฯ กทม.

277765829_5161784103882400_90

เริ่มการเปลี่ยนแปลงด้วย Traffy Fondue

Traffy Fondue  (ทราฟฟี่ฟองดูว์) แอพพลิเคชั่นสำหรับแจ้งปัญหา และติดตามปัญหาเมือง ที่จัดทำเพื่อลดปัญหาต่างๆภายในเมือง โดยผู้ใช้สารถร้องเรียนปัญหาต่างๆที่พบเจอในชีวิตประจำวันตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ท้องถนนที่ชำรุด ทางเดินเท้าที่ขรุขระ ขยะตามท้องถนน การจราจรที่ติดขัด หรือแม้กระทั้งน้ำประป่าที่รั่วไหล

โดย Traffy Fondue  เป็นการพัฒนาของ ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม นักวิจัยประจำศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 

ปัจจุบัน กทม. ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบเพิ่มการแจ้งเตือนให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น การเตือนภัยเรื่องฝุ่น PM2.5 อุบัติเหตุบนท้องถนน ภัยพิบัติ และการเตือนภัยต่างๆ

line-chatbot-3

ประชาชนสามารถร้องเรียนได้โดยตรงผ่าน Traffy Fondue

จุดเด่นของ Traffy Fondue คือความสะดวกรวดเร็ว สามารถตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นได้ เนื่องจากประชาชนสามารถแจ้งปัญหาโดยตรงต่อผู้รับผิดชอบในพื้นที่ได้ทันที และยังสามารถตรวจสอบได้เลยว่าเรื่องที่ได้ร้องเรียน ได้มีผู้ดูแลดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งเป็นการลดการทุจริตระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนได้อย่างดี

นอกจากนี้ นายชัชาติ ได้กล่าวเสริมว่า การพัฒนาของ Traffy Fondueได้สอดคล้องกับแนวคิด Smart Enough City ที่ประกอบไปด้วย :

  1. People Desirable เป็นความต้องการของประชาชน

  2. Business Viable ธุรกิจดำเนินการได้

  3. Technical Feasible เป็นไปได้เชิงเทคนิค

ซึ่งในภาพรวมการแก้ไขปัญหาผ่าน Traffy Fondue ได้แก้ปัญหาได้เร็วขึ้นกว่า 11 เท่า ใช้เวลาปัญหาน้อยลง 91.7% จาก 1,375 ชม. เหลือเพียงแค่ 114 ชม. เพราะประชาชนไว้ใจกทม.มากขึ้น โดยมีการแก้ไขปัญหาเช่น :

-แก้ไขไฟฟ้าดับ 28,000 ดวง

-ติดกล้องป้องกันภัยอาชาญากรรม กว่า 60,000 เรื่อง

-การบรรเทาปัญหาขยะและความสะอาด การเทอาหารลงท่อระบายน้ำ

-สามารถช่วยกันประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่

screenshot2023-11-17100201

 สรุปสถิติการแจ้งปัญหาผ่าน Traffy Fondue

-เรื่องที่มีผู้ร้องเรียน 440,020 เรื่อง

-เสร็จสิ้น 322,903 เรื่อง

-ส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ 92,331 เรื่อง

-ดำเนินการ 8,663 เรื่อง

-รอรับเรื่อง 1,980 เรื่อง

มาถึงตรงนี้คงต้องย้อนกลับไปดูความตั้งใจของการสร้างเมืองอัจฉริยะกันหน่อยว่า หากกทม.กำลังจะกลายเป็น Smart City ต้องมีแนวทางในการพัฒนาส่วนไหน อย่างไรบ้าง 

istock-1303611258

เมืองอัจฉริยะ คืออะไร

นิยามของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) คือ เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย และชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใชทรัพยากร โดยเน้นการมีส่วนรวมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่

การสร้างเมืองอัจฉริยะต้องอาศัย

1.ข้อมูล (Data)

2.การเชื่อมโยง (Connectivity)

3.กฎหมาย (legal)

4.เเพลตฟอร์ม (Platform)

914940

Bangkok Smart City สร้างกรุงเทพฯให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

กรุงเทพมหานครเมืองอัจฉริยะ (Bangkok Smart City) หมายถึง เมืองที่มีสภาพแวดล้อม ในการพัฒนาและแก้ปัญหาด้วยวิธีการอันชาญฉลาด เพิ่มประสิทธิภาพการ ใหบริการ การบริหารจัดการเมือง จากการมีสวนรวมของประชาชนทุกกลุ่ม

เช่นเดียวกันกับใช้ประโยชน์จากข้อมูล ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จากนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดเหมาะสมกับบริบทของเมืองและพื้นที่ และพัฒนาเมือง

ในกลุ่มเมือง 2 ลักษณะ ประกอบด้วย

1.) กลุ่มเมืองเดิม โดยจะมุ่งเน้นการฟื้นฟูเมืองเดิม

2.) กลุ่มเมืองใหม่ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองใหม่

Bangkok Smart City ได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) รวมถึงแผนประกอบอื่นๆ ตามกรอบวิสัยทัศน์ “มหานครแห่งเอเชีย” เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0

f7250be9-c7fe-4441-a3b8-1c160

สร้างเมืองอัจริยะใน 6 ด้านตามหลักสากล

  1. ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) สอดคล้องกับมหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้

  2. ด้านระบบขนส่งและการสื่อสารอัจฉริยะ (Smart Mobility) สอดคล้องกับมหานครปลอดภัย และมหานครสีเขียว สะดวกสบาย

  3. ด้านพลังงานและดานสิ่งแวดลอมอัจฉริยะ (Smart Energy & Environment) จำแนกออกเป็น พลังงานอัจฉริยะที่สอดคล้องกับมหานครสีเขียว สะดวกสบาย และสิ่งแวดลอมอัจฉริยะที่สอดคล้องกับมหานคร ปลอดภัย มหานครสีเขียว สะดวกสบาย และมหานครกระชับ

  4. ด้านระบบบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) สอดคล้องกับมหานครประชาธิปไตย และการจัดการเมืองมหานคร

  5. ด้านพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) สอดคล้องกับมหานครสำหรับทุกคน

  6. ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) สอดคล้องกับมหานครปลอดภัยและมหานครสีเขียว สะดวกสบาย

istock-1469788610

การสร้างเมืองที่ฉลาด ต้องนึกถึงคนใช้

แม้ว่าการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ต้องอาศัยถึง 6 ด้านในการพัฒนา แต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างเมือง คือ คน “การสร้างเมืองที่ฉลาด ต้องคำนึงถึงคนใช้”

โดยมีการยกตัวอย่าง “ในกรุงเทพฯมีที่จอดแท็กซี่อัจฉริยะกว่า 180 จุด แต่ปัจจุบันไม่เหลือซาก เพราะตอนสร้างไม่คิดถึงคน ไม่คิดถึงเทคโนโลยีที่เหมาะ และเรามีป้ายรถเมล์อัจฉริยะ แต่รถเมล์ที่เราใช้ปัจจุบันเป็นรถเมล์เก่า มีอายุมากกว่า 30 ปี ที่ปูด้วยไม้กระดาน สร้างอะไรต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย”

แต่หนึ่งสิ่งที่เราต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ท้องถนนที่ชำรุด ทางเดินเท้าที่ขรุขระ ขยะตามท้องถนน การจราจรที่ติดขัด น้ำประป่าที่รั่วไหล

ความเป็นหลวงของ กรุงเทพมหานคร หากสามารถพัฒนาจนเป็น Smart City ได้ทั้งหมด นอกจากชีวิตคนกรุงฯจะดีขึ้นแล้ว ยังเอื้อและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย 

 63fbdfc6-8081-4dd5-9ae8-59924

 

 

advertisement

SPOTLIGHT