การเงิน

คาดการณ์งบแบงก์ ไตรมาส 1 ปี 2567   แบงก์ไหนกำไรดีสุด?

18 เม.ย. 67
คาดการณ์งบแบงก์ ไตรมาส 1 ปี 2567    แบงก์ไหนกำไรดีสุด?

 

เทศกาลประกาศผลประกอบการของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เริ่มขึ้นแล้ว ทั้งระบบแบงก์ และแบงก์ไหนกำไรเท่าไหร่? 

มุมมองนักวิเคราะห์มองอย่างไร วันนี้ SPOTLIGHT จะพาไปหาคำตอบกัน

งบแบงก์

โดยบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ประเมินว่า กำไรไตรมาส 1/2567 จะอยู่ที่ 4.946 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 20.6% QoQ และ 3.0% YoY กำไรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งเชิง 

โดยจะมาจากค่าใช้จ่าสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่ลดลงจากการไม่มี management overlay สำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และอัตราส่วนต้นทุน/รายได้ที่ลดลงจากผลกระทบตามฤดูกาล 

ขณะที่กำไรที่เติบโตเล็กน้อยเชิงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนน่าจะมาจากส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่เพิ่มขึ้นจากอัตราผลตอบแทนสินเชื่อที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้นในปี 2566 แม้ว่า credit cost ที่คาดว่าจะสูงขึ้น YoY ก็ตาม 

โดยมองว่า BBL จะมีการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นที่สุดในไตรมาส 1/2567 เมื่อเทียบกับคู่แข่ง จาก NIM ที่เพิ่มขึ้นและ credit cost ที่ลดลง YoY 

ในทางกลับกัน คาดว่า SCB จะรายงานผลประกอบการที่ไม่น่าตื่นเต้น โดยมีการเติบโตของกำไรที่ทรงตัวทั้ง QoQ และ YoY ในไตรมาส 1/25670 เนื่องจากเราคาดว่า NIM ที่สูงขึ้นจะถูกชดเชยด้วย credit cost ที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรอง (PPOP) ไตรมาส 1/2567 ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 2.43 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ขณะที่สินเชื่อไตรมาส 1/2567 จะทรงตัว เนื่องจากสินเชื่อรายย่อยและ SME ที่ลดลงจะถูกหักล้างด้วยสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐที่สูงขึ้นเล็กน้อย 

อย่างไรก็ตาม คาดว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ใน ไตรมาส 1/2567 จะเป็นไตรมาสแรกที่ ลดลงเล็กน้อย QoQ ที่ 3bps เนื่องจากเราคาดว่าต้นทุนดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราผลตอบแทนสินเชื่อ ขณะที่ NIM จะยังคงเพิ่มขึ้น YoY อีก 45bps จากการได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงขึ้นในปี 2566 อัตราส่วนต้นทุน/รายได้ไตรมาส 1/2567 จะลดลง QoQ จากผลกระทบตามฤดูกาล แต่จะเพิ่มขึ้น YoY 300bps

ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์จะลดลงเล็กน้อย มองว่า อัตราส่วนหนี้เสีย (NPL ratio) ไตรมาส 1/2567 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.55% จาก 3.45% ในไตรมาส 4/2566 เนื่องจากเราเชื่อว่าอาจมี NPL ไหลเข้ามาใหม่จาก SME และลูกค้ารายย่อย หลังสิ้นสุดโครงการปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. ในปี 2566 

อย่างไรก็ตาม บล.กสิกรไทย ยังคงมุมมองเชิงลบต่อกลุ่มธนาคาร โดยเลือก KKP และ TISCO เป็นหุ้นเด่น เพราะเชื่อว่า ราคารถมือสองที่ปรับดีขึ้นในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะถูกปรับลงในครึ่งหลังของปี 2567 จะจำกัด downside risk จากผลขาดทุนจากรถยนต์ที่ถูกยึดและ NIM ของ KKP และ TISCO ขณะเดียวกัน

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จะเริ่มรายงานการเติบโตของกำไรที่ช้าลงในครึ่งหลังของปี 2567 จาก NIM ที่แคบลงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานที่ลดลง แม้เราจะคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 1/2567 จะยังคงแข็งแกร่ง แต่เราเชื่อว่านักลงทุนควรมองไปข้างหน้าถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ที่ว่า NIM อาจจะลดลง และเราคาดว่าการเติบโตของกำไรจะช้าลงมากอยู่ที่ 2% ในปี 2567 เทียบกับ 16% ในปี 2566

advertisement

SPOTLIGHT