การเงิน

กูรูคาดกนง.ขึ้นดอกเบี้ย0.25% 29 มี.ค.นี้มองดัชนีหุ้นไทย 1550-1620 จุด

27 มี.ค. 66
กูรูคาดกนง.ขึ้นดอกเบี้ย0.25% 29 มี.ค.นี้มองดัชนีหุ้นไทย 1550-1620 จุด

เหล่ากูรูต่างมองตรงกันว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธที่ 29 มี.ค.2566 นี้คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% ต่อปี 

คาดว่าเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในรอบวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้

ในการประชุมกนง.ครั้งนี้ คาดว่า กนง.อาจจะปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการบริโภคในประเทศ และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้น จากการประชุมเดือนธันวาคม 

ส่วนคาดการณ์ยอดการส่งออกอาจถูกปรับลง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยจะสอดคล้องกับรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในช่วงนี้ ที่ตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนกุมภาพันธ์ จะยังคงหดตัว -7 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 

ทั้งนี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะขยายตัว +2%y/y ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ดุลการค้าอาจขาดดุลเกือบ -2 พันล้านดอลลาร์ได้

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจยังมีปัจจัยที่จะต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมกนง.รายงานเศรษฐกิจการเงิน ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ทิศทางเงินทุนต่างชาติและสกุลเงินเอเซีย

รวมถึง จับตาวิกฤตภาคธนาคารสหรัฐ และยุโรป ซึ่งส่งผลให้ภาวะตลาดเงินที่ยังมีความเสี่ยงและเปราะบาง โดยในช่วงสั้นมอง SET จะแกว่งตัวในรอบ 1,550-1,620 จุด แม้ธนาคารกลางสหรัฐจะออกมาตรการที่รวดเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงวิกฤตที่จะลุกลามได้ดีด แต่ยังประเมินว่า ตลาดการเงินโลกยังคงมีความเสี่ยงและเปราะบาง จากผลกระทบวิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรปที่ต้องติดตามต่อไป 

โดยน.ส.รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายส่งเสริมธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “SPOTLIGHT” ว่า ประเมิน กนง.ในการประชุมครั้งนี้(29 มี.ค.) จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.75% แต่คาดว่าเสียงของกนง.จะแตก ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ เพื่อจะส่งสัญญาณหยุดพักการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน พ.ค.2566 นี้ 

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดกนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เช่นเดียวกัน และจะเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้ ผลจากแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนก.พ.ล่าสุด อยู่ที่ 3.8% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่สูงกว่าเป้าหมายของธปท.ที่ 1-3% โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปีนี้จะกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายของกนง. ที่ราว 2.8% 

ขณะที่ Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน มองว่า กนง.) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ “ขึ้น” ดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 1.75% 

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เฟดจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อและอาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% แต่ตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลง ท่ามกลางความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร

แนะควรจับตา ความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคารสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในอนาคต

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เฟดจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อและอาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% แต่ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลง ท่ามกลางความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรจับตา ความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคารสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในอนาคต

สำหรับมุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • สหรัฐฯ : รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนกุมภาพันธ์ อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.4%m/m ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและราคาสินค้าโดยรวม ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ PCE ชะลอลงสู่ระดับ 5.1% ทั้งนี้ ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อจากผลกระทบของปัญหาสภาพคล่องในระบบธนาคาร ก็จะช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนทะลุระดับ 5.25% แต่ว่าเฟดอาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมาย 2% อย่างชัดเจน มองว่าอาจเห็นภาพการชะลอตัวลงมากขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะการจ้างงาน ตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หลังตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยและเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

 

  • ยุโรป : ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Ifo Business Climate) เดือนมี.ค.2566 ตลาดคาดว่า ดัชนีอาจปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 91 จุด กดดัน โดยแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ภาวะเงินเฟ้อสูง 

ล่าสุด ความกังวลต่อเสถียรภาพของระบบธนาคาร นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลางว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนแตะจุดสูงสุด (Terminal Rate) ณ ระดับใด

  • เอเชีย : ตลาดจะรอจับตา การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือน อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ว่าจะสามารถคงโมเมนตัมขยายตัวราว +13% ช่วงเดียวกันปีก่อนได้หรือไม่ ฝั่งญี่ปุ่น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว จะช่วยหนุนให้ยอดค้าปลีกในเดือนก.พ.ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น +5.8% ช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่จีน ตลาดประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง หลังการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการเดือนมีนาคม ที่ระดับ 50.5 จุด และ 54.3 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว)

ขณะที่ประเมินภาวะตลาดหุ้นไทย โดยบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอ็กซ์ จำกัด มองว่า SET ในช่วงสั้น จะแกว่งตัวในกรอบ 1,550-1,620 จุด แม้จะออกมาตรการรวดเร็วของธนาคารกลางจะช่วยลดความเสี่ยงวิกฤตจะลุกลามได้ดี แต่มองว่าวิกฤตการเงินโลกยังมีความเสี่ยงและเปราะบาง แนะนำให้เลือกลงทุนเป็นหุ้นรายตัว 


สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  เปิด(27 มี.ค.) อยู่ที่ 34.22 อ่อนค่าจาก 34.12 ท้ายสัปดาห์ก่อน และมองกรอบวันนี้ที่ระดับ 34.05-34.35 บาท/ดอลลาร์ จากการที่ตลาดมีความวิตกเรื่องภาคธนาคารยุโรป และเข้าถือครองเงินดอลลาร์และเยน


ด้าน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า เงินบาท มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways โดยมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้น หรือ ในจังหวะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นทดสอบโซนแนวต้านแถว 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยโฟลว์ซื้อสกุลเงินต่างประเทศของบรรดาผู้นำเข้าและบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น (Japanese MNCs) นอกจากนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคัล ทั้ง RSI และ MACD ยังชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideways ใกล้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วันในช่วงนี้

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากอัตราเงินเฟ้อ PCE ออกมาสูงกว่าคาด และผู้เล่นในตลาดได้คลายกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร แต่หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) จากความกังวลดังกล่าว เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ ความกังวลอยู่ที่ฝั่งธนาคารยุโรปมากกว่าฝั่งสหรัฐฯ (กดดันสกุลเงินฝั่งยุโรปอ่อนค่าลง) ทั้งนี้ ทองคำและเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ผู้เล่นในตลาดต้องการถือมากกว่าเงินดอลลาร์ได้ หากตลาดปิดรับความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม แนะนำว่า ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนแนะนำว่า ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.90-34.50 บาท/ดอลลาร์

advertisement

SPOTLIGHT