ข่าวเศรษฐกิจ

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

13 มิ.ย. 67
แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

แบงก์ชาติ เอาจริง! คุมเข้มยกระดับการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า ทั้งบัญชีเดิม-บัญชีใหม่ เพื่อให้ธนาคารสามารถป้องกันความเสี่ยง และแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ที่เกิดกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะดูแลให้กระทบประชาชนผู้สุจริตน้อยที่สุด

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

โดยนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(แบงก์ชาติ) เปิดเผยถึงปัญหาภัยทุจริตทางการเงินว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการออก พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อจัดการบัญชีม้าที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับเงินและถ่ายโอนเงินจากการกระทำผิด และแลกเปลี่ยนเส้นทางเงินเพื่อสนับสนุนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพ.ร.ก. ยังได้กำหนดโทษเอาผิดกับบัญชีม้าให้ชัดเจนขึ้น

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

ที่ผ่านมา การจัดการกับบัญชีม้ายังมีข้อจำกัด ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงร่วมกันยกระดับการจัดการบัญชีม้าให้เข้มงวดขึ้น เพื่อให้ธนาคารสามารถป้องกันความเสี่ยง และแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ที่เกิดกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะดูแลให้กระทบประชาชนผู้สุจริตน้อยที่สุด

แบงก์ชาติยกระดับคุมเข้ม 2 มาตรการ

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

ด้าน น.ส.ดารณี แซ่จู ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ประกอบด้วย มาตรการ 2 กลุ่ม ได้แก่

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

กลุ่มที่ 1 : การยกระดับการจัดการบัญชีม้า

ด้วยการปรับจากการดำเนินการระดับ " บัญชี " เป็นระดับ " บุคคล " รวมถึง การจัดการบัญชีต้องสงสัยได้เร็วขึ้น และดำเนินการเข้มข้นขึ้น ทั้งบัญชีปัจจุบันและการเปิดบัญชีใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. การกวาดล้างบัญชีม้าในระบบ ด้วยการจัดการทุกบัญชีในทุกธนาคารของเจ้าของบัญชีต้องสงสัย โดยธนาคารจะใช้ข้อมูลจาก 3 แหล่ง คือ 
  • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) 
  • ระบบข้อมูล Central Fraud Registry (CFR) และ 
  • ข้อมูลบัญชีที่ธนาคารตรวจสอบว่ามีพฤติกรรมต้องสงสัย เช่น บัญชีที่โอนเงินเข้า-ออกมูลค่าน้อยในเวลาสั้น ๆ หลายครั้ง ก่อนมีเงินโอนเข้า-ออกมูลค่าสูง เพื่อจัดระดับความเสี่ยงในการดำเนินการกับบัญชีเหล่านั้น ซึ่งทุกธนาคารจะมีมาตรฐานเดียวกัน เช่น การระงับการใช้บัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทันที พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามระดับความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้การกวาดล้างบัญชีม้าทำได้ครอบคลุมและรวดเร็วขึ้น

    2. การเพิ่มความเข้มงวดในการเปิดบัญชีใหม่ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ เพื่อป้องกันการเกิดบัญชีม้าใหม่ โดยธนาคารจะตรวจสอบความเสี่ยงของลูกค้าจากฐานข้อมูล 3 แหล่งข้างต้น หากพบลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงมาเปิดบัญชี ทุกธนาคารต้องดำเนินการตามระดับความเสี่ยงด้วยมาตรฐานเดียวกัน

โดยเริ่มตั้งแต่ต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับเข้มข้น ไม่ให้เปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ ให้เปิดบัญชีแบบมีเงื่อนไขไม่ให้ใช้บริการผ่านช่องทาง mobile banking ไปจนถึงการปฏิเสธไม่ให้เปิดบัญชีทุกช่องทาง ทั้งแบบออนไลน์ และที่สาขา

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

กลุ่มที่ 2 : การมีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มเติม เพื่อดูแลธุรกรรมของลูกค้าให้ปลอดภัยมากขึ้น

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ธนาคาร มีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มเติม เพื่อดูแลให้ลูกค้าใช้บริการดิจิทัลได้ปลอดภัยขึ้น ได้แก่ การล็อควงเงินที่ห้ามทำธุรกรรมออนไลน์ เพื่อให้การโอนเงินทำได้ยากขึ้น และการปรับลดวงเงินต่อครั้ง ในการสแกนใบหน้าการทำธุรกรรมบน mobile banking ต่ำกว่า 50,000 บาท

รวมถึง มาตรการที่ให้ธนาคารแต่ละแห่ง จะเสนอบริการเพื่อดูแลลูกค้าเพิ่มเติมได้ เช่น การโอนเงินที่อาศัยบุคคลอื่นช่วยอนุมัติ (double authorisation) การโอนเงินเฉพาะรายชื่อที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะเริ่มเห็นการให้บริการตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2567

คนไทยถูกหลอกมีมูลค่าความเสียหายกว่า 63,000 ล้านบาท

โดยข้อมูลจากศูนย์บริหารการแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ 1 มี.ค.2565 - 31 พฤษภาคม 2567 มีมูลค่าความเสียหายกว่า 63,000 ล้านบาท การหลอกลวงสูงสุด คือ การหลอกให้ลงทุน 36% หลอกโอนเงิน 28% หลอกสินทรัพย์ดิจิทัล 8% หลอกซื้อสินค้า 6% แอปดูดเงิน 4% 

สำหรับรูปแบบการหลอกลวงมีหลากหลาย โดยสูงสุด คือ การหลอกซื้อสินค้า 42% หลอกโอนเงิน 20%  หลอกให้กู้เงิน 10% หลอกลงทุน 8% แอปดูดเงิน 3%  ซึ่งโดยจำนวนคดีหลอกลวงในภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 - เดือนเมษายน 2567 อายัดบัญชีรวมแล้วเกือบ 2 แสนบัญชี และกว่า 30% เป็นบัญชีใหม่ และแนวโน้มบัญชีม้าเพิ่มขึ้น (หมายอายัดจากตำรวจ) 

แบงก์ชาติ เอาจริง! ออกมาตรการคุมเข้ม  จัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์-บัญชีม้า 

advertisement

SPOTLIGHT