มีงานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า สุนัขมีความสามารถพิเศษในการรับรู้และตอบสนองต่ออารมณ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะกับเจ้าของที่พวกเขารักและผูกพันด้วย แล้วน้องหมารู้ได้อย่างไรว่าเราเศร้า
เมื่อน้องหมารับรู้ว่าเจ้าของกำลังเศร้า พวกเขาก็จะแสดงออกในแบบของตัวเอง เช่น เข้ามาใกล้ชิด คลอเคลีย หรือเลียหน้าเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจ บางครั้งอาจส่งเสียงครางหงิง ๆ หรือแค่นั่งเฝ้าอยู่ข้าง ๆ เพื่อให้กำลังใจ
หลายคนอาจจะบ่นว่า "น้องแมวไม่เห็นสนใจเราเลย" ทั้งเมิน ทั้งขู่ ทั้งข่วน มาเห็นความสำคัญกันก็แค่ตอนจะให้อาหารเท่านั้น แต่ความจริงแล้วแมวก็สามารถอ่านอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้เช่นกัน และอาจปรับพฤติกรรมให้เข้ากับอารมณ์ของเราด้วย
งานวิจัยจาก University of Bari ประเทศอิตาลี พบว่าแมวสามารถใช้ทั้งภาพและเสียงเพื่อประเมินอารมณ์ของมนุษย์ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงหัวเราะ แมวจะจ้องมองภาพใบหน้ายิ้มของมนุษย์นานกว่า และเมื่อได้ยินเสียงคำรามก็จะมองภาพใบหน้าโกรธนานกว่า
นักวิจัยสรุปว่า แมวสามารถประมวลผลได้ว่ามนุษย์กำลังรู้สึกอย่างไร และอาจมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน เช่น หากเจ้าของโกรธ ระดับความเครียดในร่างกายของแมวก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเจ้าของมีความสุข แมวก็จะมีท่าทางผ่อนคลายลง
ดังนั้น หากวันไหนคุณเศร้า แล้วน้องแมวเข้ามาคลอเคลีย อยู่ใกล้ๆ หรือเลีย นั่นอาจเป็นการแสดงถึงการปลอบใจในแบบฉบับของเจ้าเหมียวนั่นเอง แม้บางครั้งอาจมี "love bite" (งับเบาๆ) ที่แสดงความรักและความไว้ใจ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และนิสัยของแมวแต่ละตัว
ความสามารถของสัตว์เลี้ยงในการรับรู้อารมณ์ของมนุษย์นำไปสู่แนวคิดเรื่อง "Pet Therapy" หรือ "Animal Assisted Therapy" ซึ่งเป็นการบำบัดที่ใช้สัตว์เข้ามาช่วยลดความเจ็บปวด ความวิตกกังวล และช่วยเยียวยาจิตใจในผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ
สัตว์เลี้ยงช่วยฮีลใจได้อย่างไร
นอกจากนี้ การเลี้ยงสัตว์ยังมีส่วนช่วยในเรื่องสุขภาพจิต เช่น ลดความรู้สึกกลัว เพิ่มแรงจูงใจ และทำให้รู้สึกเหมือนมี Social Support แถมยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายของผู้ป่วยบางโรคอีกด้วย
แม้ว่าการเลี้ยงสัตว์จะช่วยเยียวยาจิตใจและเติมเต็มชีวิตได้มาก แต่สิ่งสำคัญที่ต้องย้ำคือ เราควรเลี้ยงสัตว์ในวันที่พร้อมที่สุด เพราะการดูแลชีวิตหนึ่งชีวิตไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เราต้องรับผิดชอบชีวิตของพวกเขาไปจนแก่เฒ่า
สิ่งที่เราต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือ:
การเลี้ยงสัตว์หนึ่งตัวเปรียบเสมือนการมีลูก การตัดสินใจดูแลชีวิตน้อย ๆ จึงต้องอาศัยความพร้อมทั้งกายและใจ เพื่อให้ความผูกพันนี้เป็น "กาวทางสังคม" ที่ช่วยยึดโยงเราเข้าด้วยกันตลอดไป ไม่ใช่เป็นภาระที่นำมาซึ่งความเครียด
ท้ายที่สุดแล้ว ในวันที่เราเหนื่อย เศร้า หรือหมดแรง เพียงแค่มีสัตว์เลี้ยงอยู่เคียงข้างคอยปลอบโยน ก็เป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ที่ช่วยให้เราก้าวผ่านทุกอย่างไปได้ "อย่างน้อยเราก็ยังมีสัตว์เลี้ยง" นั่นเป็นประโยคที่ช่วยเยียวยาใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์จริง ๆ
ที่มา: National Library of Medicine
Advertisement