Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ขับรถชนสัตว์ ใครต้องรับผิด กฎหมายไทยว่าไว้อย่างไร?

ขับรถชนสัตว์ ใครต้องรับผิด กฎหมายไทยว่าไว้อย่างไร?

8 ก.ค. 68
17:35 น.
แชร์

อุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ได้จำกัดแค่การชนคนเท่านั้น แต่ “การขับรถชนสัตว์” ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทหรือแม้แต่ในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือแม้กระทั่งสัตว์ใหญ่อย่างวัวหรือควาย ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า ใครต้องรับผิดชอบ? เจ้าของรถหรือเจ้าของสัตว์?

 

ความรับผิดชอบกรณีรถชนสัตว์

 

สามารถแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 กรณีหลักๆ ดังนี้

 

1.ชนสัตว์ที่ “ไม่มีเจ้าของ”

 

หากขับรถชนสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่สามารถระบุตัวเจ้าของได้ ผู้ขับขี่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายต่อตัวรถและค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยตนเองทั้งหมด เนื่องจากไม่มีคู่กรณีในการเรียกร้องค่าเสียหาย

 

2.ชนสัตว์ที่ “มีเจ้าของ”

 

ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงมีเจ้าของชัดเจน และวิ่งออกมาจนเกิดอุบัติเหตุบนถนนหรือทางสาธารณะ ทำให้รถเสียหาย หรือสัตว์ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยอ้างอิงจากพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 111 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433

 

กฎหมายเขียนไว้อย่างไร?

 

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

 

มาตรา 111 ห้ามมิให้ผู้ใด ขี่ จูง ไล่ ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตาม ต้องโทษปรับไม่เกิน 500 บาท (ตามมาตรา 148)

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

มาตรา 433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยง การรักษา ตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

 

บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้

 

อย่างไรก็ตาม “เจ้าของสัตว์เลี้ยง” ต้องรับผิดชอบหากสัตว์ของตนก่อให้เกิดความเสียหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้ดูแลอย่างรอบคอบที่สุดแล้ว และเหตุที่เกิดขึ้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แม้จะระมัดระวังเต็มที่แล้วก็ตาม

Advertisement

แชร์
ขับรถชนสัตว์ ใครต้องรับผิด กฎหมายไทยว่าไว้อย่างไร?