Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สทนช. เตือน 20 จังหวัด ระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 6-12 ก.ค. 68

สทนช. เตือน 20 จังหวัด ระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 6-12 ก.ค. 68

5 ก.ค. 68
14:39 น.
แชร์

สทนช. ประกาศเตือน 20 จังหวัด เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 6 - 12 ก.ค. 2568

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประกาศฉบับที่ 10/2568 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขัง และระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง โดยได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่ามีพื้นที่บางส่วนเสี่ยงต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เนื่องจากระบายไม่ทันและระดับน้ำโขงเปลี่ยนแปลง ในช่วงวันที่ 6 - 12 ก.ค. 2568 ดังนี้

1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำท่วมขัง ดังนี้

1.1 ภาคเหนือ

  1. จ.เชียงราย (อ.เมืองเชียงราย แม่สาย พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง เชียงของ เวียงแก่น และเชียงแสน)
  2. จ.น่าน (อ.เมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง ภูเพียง สองแคว เฉลิมพระเกียรติ เชียงกลาง ท่าวังผา และเวียงสา)
  3. จ.พะเยา (อ.เมืองพะเยา ดอกคำใต้ ปง เชียงคำ และเชียงม่วน)
  4. จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง)

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. จ.เลย (อ.เมืองเลย นาด้วง ด่านซ้าย นาแห้ว และปากชม)
  2. จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย โพนพิสัย และรัตนวาปี)
  3. จ.บึงกาฬ (อ.เมืองบึงกาฬ เซกา บึงโขงหลง และปากคาด)
  4. จ.อุดรธานี (อ.เมืองอุดรธานี วังสามหมอ เพ็ญ สร้างคอม บ้านดุง และหนองหาน)
  5. จ.สกลนคร (อ.อากาศอำนวย และสว่างแดนดิน)
  6. จ.นครพนม (อ.ศรีสงคราม และนาทม)
  7. จ.ยโสธร (อ.เมืองยโสธร และมหาชนะชัย)
  8. จ.อุบลราชธานี (อ.โขงเจียม สิรินธร พิบูลมังสาหาร และศรีเมืองใหม่)

1.3 ภาคตะวันออก

  1. จ.ชลบุรี (อ.บางละมุง และศรีราชา)
  2. จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง และนิคมพัฒนา)
  3. จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์)
  4. จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง คลองใหญ่ และบ่อไร่)

1.4 ภาคใต้

  1. จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง สุขสำราญ กะเปอร์ ละอุ่น และกระบุรี)
  2. จ.พังงา (อ.คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง)
  3. จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
  4. จ.สุราษฎร์ธานี (อ.ชัยบุรี บ้านตาขุน และบ้านนาสาร)

2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกักบริเวณ จ.ลำปาง น่าน พิษณุโลก สระบุรี สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ นครพนม ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และกระบี่ และเร่งพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยโทง และอ่างเก็บน้ำห้วยซวง จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำหนองหญ้าม้า จ.กาฬสินธุ์ อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล จ.ตราด รวมทั้งพิจารณาพร่องน้ำในแหล่งน้ำ ได้แก่ กว๊านพะเยา จ.พะเยา หนองหาร จ.สกลนคร และหนองกุดทิง จ.บึงกาฬ เพื่อรองรับปริมาณน้ำหลากจากฝนที่ตกหนักในพื้นที่

3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำอิง บริเวณอ.เชียงคำ เทิง พญาเม็งราย ขุนตาล และเชียงของ จ.เชียงราย และแม่น้ำสาย บริเวณอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย

4. เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีปริมาณฝนตกสะสม บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ จ.เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ตลอด 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วม รวมถึงพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน

2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ อิทธิพลของการขึ้น - ลง ของน้ำทะเล โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสาร เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่ที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

Advertisement

แชร์
สทนช. เตือน 20 จังหวัด ระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 6-12 ก.ค. 68