นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ในฐานะทนาย ผมขออธิบายให้เข้าใจตรงนี้ครับว่า ทำไม อดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงต้องรับผิดชอบเป็นเงิน 10,028,861,880.83 บาท แม้ศาลจะยืนยันว่าเธอ “ไม่ได้เป็นผู้ทุจริตโดยตรง”
1. ไม่ได้โกงเอง แต่ปล่อยให้คนอื่นโกง ศาลปกครองสูงสุดชี้ว่า ในช่วงที่ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวมีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในขั้นตอน “ขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ” (G to G) หน่วยงานตรวจสอบ เช่น สตง. และ ป.ป.ช. ส่งหนังสือเตือนว่าเกิดความเสียหาย แต่ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ กลับเพิกเฉย
2. หน้าที่โดยตำแหน่ง คือ ต้องหยุดความเสียหาย ยิ่งลักษณ์มีอำนาจตามกฎหมาย ที่จะตรวจสอบ ติดตาม หรือสั่งหยุดโครงการได้แต่กลับ ไม่ดำเนินการแม้จะมีข้อมูลว่าเกิดความเสียหาย ปล่อยให้โครงการเดินหน้าท่ามกลางความเสี่ยงและความเสียหายที่ทวีขึ้นเรื่อย ๆ
3. ศาลชี้ว่าเป็น “ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” การนิ่งเฉยทั้งที่รู้ว่าเกิดปัญหา ถือเป็น ความประมาทในหน้าที่ระดับสูงสุด จึงเข้าข่ายความรับผิดทางละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8 และ 10 แม้จะไม่โกงเอง แต่ถ้าปล่อยให้เกิดความเสียหาย ก็ต้องชดใช้
4. ความเสียหายเกิดในสัญญา G to G มูลค่า 20,057 ล้านบาท ศาลระบุว่า ยิ่งลักษณ์ควรรับผิดเพียง 50% ของยอดเสียหายนี้ เพราะความเสียหายไม่ได้เกิดจากเธอคนเดียว จึงคำนวณออกมาเป็นเงินที่เธอต้องชดใช้ = 10,028 ล้านบาท
สรุปง่าย ๆ:“ถ้าไม่ลงมือโกง แต่รู้แล้วไม่หยุด = ละเลยหน้าที่ = ต้องจ่าย”
นี่คือบทเรียนทางกฎหมายสำหรับผู้นำทุกระดับว่า อำนาจต้องมาคู่กับความรับผิด ไม่ใช่แค่สิทธิในการสั่งการ #ทนายรณรงค์ #คดีจำนำข้าว #ยิ่งลักษณ์ #ศาลปกครองสูงสุด #ละเลยหน้าที่ #ผู้นำต้องรับผิด
Advertisement