เกษตรกรพะเยา ปลูกฝรั่งพันธุ์กูจิม สร้างรายได้งาม เก็บผลผลิตได้แทบทุกวัน

3 ก.ค. 64

เกษตรกรในพื้นที่ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ปลูกฝรั่งพันธ์กูจิม แบบอินทรีย์สามารถออกผลผลิตขายสร้างรายได้ดี โดยในแต่ละปีสามารถเก็บผลผลิตได้แทบทุกวันซึ่งจะมีรสชาติที่หวาน กรอบ อร่อย และเป็นที่ต้องการของตลาด และจำหน่ายแทบไม่ทัน

นายอุดม มะรังสี เกษตรกรวัย 54 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 12 ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา กำลังเข้าทำการดูแลและเก็บผลผลิตฝรั่งพันธ์กูจิม ที่เขาทำการปลูกไว้กว่า 1,500 ต้น หลังเคยใช้พื้นที่ดังกล่าวทำการปลูกลิ้นจี่มา และต่อมาก็ทำการเปลี่ยนเป็นปลูกฝรั่งดังกล่าว ซึ่งขณะนี้สามารถที่จะเก็บผลผลิตได้เป็นจำนวนมากและมีลูกขนาดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ซึ่งในแต่ละปีสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดแทบทุกวัน ฝรั่งในสวนแห่งนี้ยังใช้การดูแลแบบธรรมชาติและวิธีการห่อผลทุกผล ซึ่งจะไม่ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลง

1625288298471

นายอุดม กล่าวว่า สวนฝรั่งของตนเองนั้นปลูกมาแล้วประมาณ 10 ปี โดยเรียกสายพันธุ์ว่า "กูจิม" ซึ่งตนเองนั้นได้มีการแปรเปลี่ยนสายพันธุ์ โดยนำพันธุ์ของฝรั่ง ซึ่งถือว่าเป็นพันธุ์พื้นเมือง มาผสมกับฝรั่งพันธุ์กิมจู และได้พันธุ์ที่มีความหวาน กรอบ อร่อย จึงให้ชื่อว่าพันธุ์กูจิม ซึ่งให้ผลผลิตดีมาก

1625288325484

ขณะนี้ทำการขยายการปลูกเป็น 1,500 กว่าต้น แยกปลูกในแต่ละสวน 3 แห่ง โดยตนเองจะเป็นผู้ดูแลเพียงคนเดียว ใช้วิธีการแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี และมีการห่อผลทุกลูก ซึ่งในแต่ละปีจะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยจะทำการสลับกันออก และใน 1 อาทิตย์ก็จะทำการเก็บผลผลิต 2 ครั้ง ซึ่งรวมแล้วแต่ละอาทิตย์ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ยมากกว่า 400-500 กิโลกรัม และจะนำไปจำหน่ายเอง ในราคากิโลกรัมละ 30 บาท

1625288393664

นายอุดม เผยอีกว่า ตนจะไม่มีการขายส่งให้กับพ่อค้า เนื่องจากอยากให้ลูกค้าได้รับประทานฝรั่งที่มีคุณภาพ จากสวนของตนเอง ซึ่งตนจะนำฝรั่งซึ่งเป็นผลผลิตของสวน ออกจำหน่ายที่บริเวณตลาดต้นสัก ศูนย์ราชการจังหวัดพะเยา และตลาดถนนคนเดิน ริมกว๊านพะเยา ในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์เท่านั้น และจะมีลูกค้ามาซื้อรับประทานหมดทุกครั้ง ซึ่งถือว่าการปลูกฝรั่งดังกล่าวถือว่าสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดีมาก แต่ละปีรายได้เฉลี่ยหลายแสนบาท เนื่องจากจะขายด้วยตนเองทั้งหมด ซึ่งฝรั่งดังกล่าวก็จะสามารถเก็บผลลิตได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากตนจะให้สวนแต่ละแห่งที่มีอยู่มีการสลับการออกผลลิต จึงทำให้สามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ