หมอยง ชี้กำจัดโควิดให้หมดไม่ได้ ต้องอยู่ด้วยภูมิต้านทานและวัคซีน

28 พ.ค. 64

28 พ.ค. 64 หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า โควิด-19

จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าในปีที่แล้วสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยจะเป็นสายพันธุ์มาจากประเทศจีน ในขณะนั้นจากการตรวจจะพบว่าปริมาณไวรัสที่ตรวจพบในผู้ที่ติดเชื้อมีปริมาณไม่มากเท่าในปัจจุบัน

หมอยง เผยในไทยห่วง โควิดสายพันธุ์อินเดีย แพร่แซง สายพันธุ์อังกฤษ 

การควบคุมระยะแรกเรามีมาตรการเต็มที่ ก็สามารถควบคุมได้ ต่อมาเมื่อการระบาดในระลอกสองตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สายพันธุ์ได้พัฒนาเป็นสายพันธุ์ G หรือที่ระบาดมาจากแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน การตรวจพบปริมาณไวรัสในผู้ป่วยก็มีปริมาณเพิ่มขึ้น โรคก็ทำท่าที่จะควบคุมได้

การระบาดระลอกสามเกิดขึ้นปลายเดือนมีนาคม การระบาดครั้งนี้เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ปริมาณไวรัสที่ตรวจพบในลำคอผู้ป่วยสูงมากจริงๆจึงทำให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่ายและอย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิมๆ ทำให้การควบคุมลำบากยิ่งขึ้นอีก

จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ปริมาณไวรัสที่มีจำนวนมากทำให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่รวมกันหรือในครอบครัวเดียวกันซึ่งแตกต่างกับปีที่แล้วอย่างมาก การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เมื่อเราเรียนรู้เราก็พยายามที่จะต่อสู้ ลดจำนวนการแพร่กระจายของไวรัส แต่ไวรัสเองก็มีการปรับตัวให้แพร่กระจายได้ง่าย เพิ่มขึ้น เพื่อต่อสู้กับมาตรการต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น

เราไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัสโควิด-19 ให้หมดสิ้นไปได้ ขณะนี้ทำอย่างไรที่จะให้เราและไวรัสอยู่ด้วยกันได้ก็ต้องหมายความว่าถ้าเรามีภูมิต้านทานและไม่เกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตและไวรัสก็ต้องไม่ทำร้ายเซลล์เจ้าบ้านที่ไปอาศัยอยู่โดยกฎเกณฑ์จะต้องมีการเลือกตามทฤษฎีแห่งความอยู่รอด

ดังนั้นถ้าทุกคนมีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือจากการให้วัคซีน และถ้าติดเชื้อไวรัสแล้วไม่เกิดโรคหรือเกิดน้อยที่สุด อย่างเช่นไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆที่พบอยู่มากมายก็จะเป็นวิธีที่จะทำให้สงบลงได้ จึงมีความจำเป็นที่ให้คนหมู่มากมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน

#หมอยง

หมอยง แจงละเอียด ข้อห้ามหรือใครไม่ควรรับวัคซีนและการเตรียมตัว 

หมอยง แนะรัฐบาลปรับเปลี่ยนชนิดหรือยี่ห้อของวัคซีนโควิด 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ