คลัง ยังไม่มีแผน กู้เงิน เพิ่ม 1 ล้านล้าน เผยงบเยียวยา 3 แสนล้านบาท

29 เม.ย. 64

กรณีข่าว กู้เงิน เพิ่ม 1 ล้านล้านบาท นาง แพรติเซีย มงคลวณิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยถึงกระแสข่าวกระทรวงการคลังเตรียมกู้ฉุกเฉินเยียวยาโควิดอีก 1 ล้านล้านบาทว่า สบน.ยังไม่ทราบเกี่ยวกับนโยบายการกู้เงินดังกล่าว แต่ปัจจุบันพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)​กู้เงิน1 ล้านล้านบาท ยังเหลืออยู่และสามารถใช้ได้จนถึง 30 ก.ย.นี้

เอกชนเสนอ ล็อกดาวน์ 15 วัน ชี้เศรษฐกิจเสียหายเดือนละ 1 แสนล้าน 

ทั้งนี้ หากจะจัดทำแผนกู้เงินเพิ่ม จะต้องทำในกรณีมีความจำเป็นไม่มีงบประมาณเหลือใช้แล้ว รวมถึงต้องรู้ว่าจะกู้เงินนำไปใช้ทำอะไร มีวัตถุประสงค์ในการกู้ที่ชัดเจน

นอกจากนี้ จะต้องมีการหารือในคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อขยายกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะตามกรอบวินัยการเงินการคลังด้วย เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะในสิ้นปีงบประมาณนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 57-58% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)​ แต่หากจะกู้เพิ่มขึ้น หนี้สาธารณะอาจสูงเกินกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี

อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะของไทยที่ทยอยปรับสูงขึ้นนั้น เป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศได้ก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายดูแลแก้ปัญหาโควิด”

ในส่วนของความคืบหน้าการกู้เงินตามพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทนั้น สบน. ได้กู้เงินแล้ว 660,000 ล้านบาท จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินแล้วกว่า 700,000 ล้านบาท และในกระเป๋ายังมีวงเงินจากการกู้เหลืออยู่ 250,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการจ่ายเงินในโครงการเราชนะ ซึ่งภายในเดือนนี้ สบน. ก็มีแผนจะกู้เงินอีก 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นรูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ตามมติครม. ด้วย

นอกจากนี้ เพจเฟซบุ๊ค สำนักเศรษฐกิจการคลัง ได้ชี้แจงข้อเรียกร้องให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่า จากกรณีที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยให้เร่งดำเนินการในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม หรือควรมีเม็ดเงินเติมลงไปในระบบ 2-3 แสนล้านบาท ให้เศรษฐกิจฟื้นได้นั้น

กระทรวงการคลังได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีการดำเนินมาตรการเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการใด ๆ ในระยะต่อไป กระทรวงการคลังจะพิจารณาอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา

และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 กว่า 3 แสนล้านบาท โดยในส่วนของมาตรการของกระทรวงการคลังที่จะพิจารณาดำเนินการ จะเป็นการช่วยอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ลดภาระของประชาชนและกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป

เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 เปิดให้จองใช้สิทธิ์ วันที่ 17 พ.ค.นี้ 

สุพัฒนพงษ์ ชวนคนรวยรักชาติเอาเงินเก็บมาใช้ ชี้ยอดฝากสูง 5-6 แสนล้าน 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม