โควิดชลบุรี ผู้ว่าฯ สั่งห้ามมั่วสุมดื่มเหล้า ริมหาด-อ่างเก็บน้ำ ฝ่าฝืนคุก 1 ปี ปรับ 1 แสน

18 เม.ย. 64

โควิดชลบุรี ผู้ว่าฯ ออกมาตรการเร่งด่วน สั่งห้ามมั่วสุมดื่มเหล้า ริมหาด-อ่างเก็บน้ำ ป้องกันการแพร่ระบาด ฝ่าฝืนคุก 1 ปี ปรับ 1 แสน

วันที่ 17 เม.ย.64 นายภัครธรณ์ เทียนไขย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ออกคำสั่งคณะกรรมการโรคดต่อจังหวัดชลบุรี เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิค 19

โควิดชลบุรี ยังเพิ่มต่อเนื่อง ป่วยใหม่อีก 97 ราย จากคลัสเตอร์สถานบันเทิง

โดยระบุว่า ตามที่ ได้มีคำสั่งคณะกรรการโรคติตต่อจังหวัดชลบุรี ที่ 18/2564 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 โดยเป็นการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่จังหวัดชลบุรี นั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการเพร่ระบาดของโรคติตเชื้อไรรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดชสบุรี ให้เกิดประสิทริภาพและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ประกอบกับ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2564 และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน 2564
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในข้อ 4.3 ตามคำสั่ง คกก.โรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ที่ 18/2564 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 เป็น พื้นที่บริเวณชายหาด ชายทะเล อ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ห้ามจัดให้มีการมั่วสุม รวมกลุ่มดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรคหรือเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน วุ่นวาย แกประชาชนบริเวณใกล้เคียงทุกรูปแบบ เว้นแต่เป็นการออกกำลังกาย การเล่น หรือแข่งกีฬา หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรีเห็นชอบให้จัดขึ้นตามมาตรการที่กำหนด
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ อาจมีความผิตตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ถุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะจึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (3) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
1618724470199
 
ภาพจาก AFP

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ