ดราม่าสนั่น บริษัทเอกชนมาเลเซียยื่นจดทะเบียนชื่อเมนู “เสือร้องไห้”

14 ม.ค. 64

สื่อมาเลย์รายงานข่าว ดราม่าข้ามประเทศ บริษัทเอกชนมาเลเซียยื่นเครื่องหมายการค้าชื่อเมนู “เสือร้องไห้” ชี้เป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมาเลเซีย ชาวเน็ตรุมประณาม ชี้ เป็นเรื่องไม่เหมาะสม

“มาเลย์ เมล์” สื่อยักษ์ใหญ่ของมาเลเซีย รายงานว่า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในมาเลเซีย ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อเมนู “เสือร้องไห้” ในภาษามาเลเซีย ซึ่งเรียกว่า "ฮารีมาอู เมอนางิส" โดยระบุ เป็นมรดกทางภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของชาวมาเลเซีย เตรียมผูกขาดเรียกเก็บผลประโยชน์ทางธุรกิจจากเมนูนี้

รายงานข่าวด่วนที่กำลังกลายเป็นกระแสดราม่าร้อนแรงอยู่ในโลกโซเชี่ยลขณะนี้ ระบุว่า บริษัทที่มีชื่อว่า นูร์ ข่าน เอ็นเตอร์ไพรส์ ของมาเลเซีย ได้ทำการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อเมนูอาหาร “เสือร้องไห้” หรือ “ฮาริมาอู เมอนางิส” โดยมีการยื่นเรื่องผ่านสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งมาเลเซีย เรียบร้อยแล้ว

120342245_3395859423837680_47

มาเลย์ เมล์ ระบุว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังบริษัทแห่งนี้ คือ นางดาติน นูร์ การ์ตินี นูร์ โมฮาเหม็ด ซึ่งเป็นนักธุรกิจชื่อดังอีกทั้งยังเป็นแม่ของดาราสาว นีโลฟะห์ การ์ตินี ของมาเลเซียอีกด้วย

การยื่นจดลิขสิทธิ์และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมนู เสือร้องไห้ หรือ ฮาริมาอู เมอนางิส ในครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกต่างรับรู้ว่า เมนูเสือร้องไห้นี้เป็นอาหารพื้นเมืองของคนไทย

ชาวเน็ตในโลกออนไลน์ของมาเลเซีย พากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อเมนูเสือร้องไห้ จะกระทบเจ้าของร้านอาหารขนาดเล็กที่ขายเมนูนี้เช่นกัน

ขณะที่ทางนางดาติน นูร์ ได้อ้างเหตุผลว่า เมนูเสือร้องไห้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาวมาเลเซีย ที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมายาวนาน

รายงานข่าวระบุว่า บริษัทของนางดาติน นูร์ ได้ยื่นจดทะเบียนลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้ากับทางการมาเลเซียตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่เรื่องนี้เพิ่งจะกลายเป็นข่าว และเพิ่งเล็ดรอดมาถึงสื่อมวลชนวานนี้ (13 มกราคม)

2

หลังจากที่เรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกมา มีรายงานว่า ชาวมาเลเซียจำนวนมากมีท่าทีไม่เห็นด้วย เพราะถึงแม้ชาวมาเลเซียจะรู้จักและรับประทานเมนู ฮาริเมา เมอนางิส นี้มายาวนาน แต่ชาวมาเลเซียส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า เมนูนี้น่าจะมีต้นกำเนิดในประเทศไทยมากกว่า ขณะผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนระบุว่า ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ที่บริษัทเอกชนแห่งนี้ จะเอามรดกทางวัฒนธรรม ไปจดทะเบียนเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตัวในเชิงพานิชย์

ล่าสุดมีรายงานว่า รัฐบาลมาเลเซียประกาศชะลอ การรับรองคำขอจดทะเบียนลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในครั้งนี้เอาไว้แล้ว โดยระบุว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม