เศร้า "ชบาแก้ว" ลูกช้างป่าขวัญใจโซเชียล เครียดติดเชื้อตายกะทันหัน

10 ธ.ค. 63

ลาก่อน "ชบาแก้ว" ลูกช้างพลัดหลงขวัญใจชาวโซเชียล เครียดจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำภูมิคุ้มกันลดติดเชื้อตายกะทันหัน  

จากกรณีการตายของลูกช้างป่าชบาแก้ว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) ชี้แจงถึงสาเหตการตาย โดยวานนี้(9 ธ.ค.63)  เวลา 08.00 น. นายทวีป คำแพงเมือง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว สัตวแพทย์ สบอ.10 (อุดรธานี) สัตวแพทย์ กรมอุทยานแห่งชาติฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการดำเนินการตรวจสอบ ชันสูตร และเก็บตัวอย่างหลักฐานต่าง ๆ จากซากลูกช้างป่า ชบาแก้วที่เสียชีวิตจนครบถ้วน และได้ทำการกลบฝังซาก โรยยาฆ่าเชื้อตามหลักวิชาการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งจะได้นำส่งตัวอย่างไปยังหน่วยงานเพื่อยืนยันการตรวจวินิจฉัย จำนวน 3 แห่ง คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สุรินทร์) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เพื่อตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการต่อไป

70623437_2808401325858894_301

ในเวลา 10.30 น. คณะเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมกันประชุมเพื่อสรุปผลการอนุบาลลูกช้างป่าชบาแก้ว การชันสูตรและวินิจฉัยของทีมสัตวแพทย์เบื้องต้น ดังนี้

1. การดูแลอนุบาลลูกช้างป่า (ชบาแก้ว) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเป็นไปตามแนวทางที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายสัตวแพทย์จาก สบอ.10 (อุดรธานี) นายสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติฯ และผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะนำทุกประการ

2. การดูแลสุขภาพลูกช้างป่า (ชบาแก้ว) โดยนายสัตวแพทย์ประจำ สบอ.10 (อุดรธานี) ที่ผ่านมา ได้เข้ามาตรวจสอบสุขภาพลูกช้างป่า (ชบาแก้ว) เป็นประจำ ปรากฏว่า มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นปกติ ได้ทำการเจาะเลือดตรวจสุขภาพ ไม่มีอาการหรือลักษณะที่บ่งบอกว่ามีการป่วยหรือติดเชื้อแต่อย่างใด

71864065_2843472515685108_837

3. ลักษณะอาการป่วยของลูกช้างป่า (ชบาแก้ว) ตั้งสมมติฐานไว้ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 มีลักษณะอาการคล้ายติดเชื้อโรคเฮอร์ปีไวรัสในช้าง (EEHV)
ประเด็นที่ 2 เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินทางอาหาร

ซึ่งทั้ง 2 อาการนั้นอาจเกิดมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ชบาแก้วเกิดความเครียดส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง จนเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อและแสดงอาการอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงระหว่างวัน 1-8 ธันวาคม อุณหภูมิในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว และท้องที่อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ ได้ลดต่ำลง อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ประมาณ 12-14 องศาเซลเซียสในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นในตอนบ่าย ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างกลางวันและกลางคืน

90625359_2121929614619180_723

ทั้งนี้ชบาแก้ว เป็นลูกช้างพลัดหลงแม่ ตกอยู่ในบ่อเกรอะของชาวบ้าน เจ้าหน้าเข้าช่วยเหลือก่อนส่งตัวไปที่โครงการคชอาณาจักร จ.สุรินทร์ เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บและเพื่อให้ลูกช้างได้กินนมจากแม่ช้างบุญธรรม กระทั่งมีสุขภาพแข็งแรง วิ่งเล่นและซุกซนตามประสาช้างเด็ก จึงส่งตัวกลับมายังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา 

ภาพรวมพบว่าชบาแก้ว มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นปกติ การเจาะเลือดตรวจสุขภาพ ไม่มีอาการหรือลักษณะที่บ่งบอกว่ามีการป่วยหรือติดเชื้อ โดยชบาแก้วได้กลายเป็นขวัญใจของโซเชียล เนื่องจากมีนิสัยติดคน ขี้อ้อน และทีมพี่เลี้ยงมักจะนำภาพน่ารักๆ มาเผยแพร่ในโซเชียลอย่างต่อเนื่อง 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ