เลือดขึ้นหน้า! หนุ่มพิการกำปั้นทุบกระจกลิฟต์ BTS ฉุนล็อกไม่ให้ใช้แฉทำผิดแบบแต่ไม่แก้ (คลิป)

13 มี.ค. 61
กรณีเมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ หรือ "ซาบะ" ผู้พิการนั่งรถเข็นวีลแชร์ และเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก Accessibility Is Freedom นักรณรงค์เพื่อสิทธิคนพิการ ได้ใช้มือชกกระจกบริเวณลิฟต์ ชั้น 2 สถานีรถไฟฟ้า BTS อโศก ซึ่งเป็นลิฟต์ที่จัดไว้บริการผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ไม่สะดวกในการใช้บันได หากต้องการใช้ ต้องกดปุ่มเพื่อเรียกพนักงาน
นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ สมาชิกภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้
วันนี้ (12 มี.ค.) นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ หรือ "ซาบะ" ซึ่งเป็นสมาชิกภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ กล่าวว่า ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 20.00 น. ตนต้องไปทำธุระที่ค่อนข้างรีบ จึงเลือกใช้การเดินทางด้วย BTS ที่สถานีอโศก ชั้น 2 ผ่านทางเชื่อมระหว่างห้าง terminal 21 กับอาคารสถานี เพื่อเดินทางไปลงสถานีเพลินจิต
เจ้าหน้าที่ รปภ. ที่ปฎิบัติหน้าที่ตามสถานีต่างๆ
เมื่อตนเข้าไปในสถานี เจ้าหน้าที่ รปภ.ก็ให้ตนเซ็นชื่อในสมุดบันทึกการเดินทางของคนพิการ ซึ่งตนเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS มาตลอด 3 ปี พบว่ามีเพียงสถานีอโศกเพียงที่เดียวที่ให้เซ็นชื่อ แต่ตนก็ปฏิเสธมาโดยตลอด เมื่อเจ้าหน้าที่ รปภ.ดูเหมือนจะไม่ยอม ตนก็ให้ไปเรียกผู้จัดการสถานีมาพูดคุย ซึ่งผู้จัดการก็ยังยืนยันว่าจะต้องให้เซ็นโดยอ้างว่าเป็นนโยบายของ BTS ตนจึงขอพบผู้บริหารสูงสุดที่อยู่ที่สถานี ผู้จัดการก็บอกว่า ตอนนี้ไม่มี ต้องโทรไปที่คอลเซ็นเตอร์ ตนจึงโทรไปแต่ก็ได้รับคำตอบแบบเดียวกัน ซึ่งนายมานิตย์ อธิบายสาเหตุของการปฏิเสธการเซ็นชื่อว่า มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คนพิการก็มีสิทธิเท่าเทียมประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ เมื่อตนวางสายโทรศัพท์แล้ว ได้ถามผู้จัดการสถานีว่า ถ้าไม่เซ็นชื่อจะเกิดอะไรขึ้น และก็ได้คำตอบกลับมาว่า "ไม่สามารถเดินทางได้" ดังนั้น ตนจึงไปซื้อตั๋วแบบคนทั่วไป ในราคา 26 บาท แต่โดยปกติ ผู้พิการสามารถโดยสารได้ฟรี ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เสียเวลาไปมากกว่าครึ่งชั่วโมง
ลิฟต์โดยสารที่จัดไว้บริการผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผผู้ที่ไม่สะดวกในการใช้บันใด
เมื่อตนซื้อตั๋วแล้ว กำลังจะไปขึ้นลิฟต์ จากห้องจำหน่ายตั๋วชั้น 2 ไปชานชาลาชั้น 3 แต่ปรากฏว่า ประตูนิรภัยลิฟต์ถูกล็อก เมื่อพยายามมองหาเจ้าหน้าที่ ก็ปรากฏว่าไม่มีเจ้าหน้าที่แม้แต่คนเดียว ผ่านไป 5 นาที ก็ยังไม่มีใครมา ตนจึงตัดสินใจใช้มือทุบไปที่กระจกประตูนิรภัยของลิฟต์ไปหลายครั้ง ซึ่งตนยอมรับว่ารู้สึกโมโหเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จึงได้ตัดสินใจทำแบบนั้นลงไป และคนพิการไม่ต้องการจะเป็นผู้พิเศษ ต้องการเดินทางได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ไม่ต้องการสร้างเรื่องแบบนี้ ก็ต้องขอโทษทุกๆท่าน แต่เราไม่มีทางไปแล้ว ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีแรงบันดาลใจจากข่าวป้าทุบรถ ยอมรับว่า ตนผิดที่ไปทุกกระจก ทำลายทรัพย์สิน แต่ปัญหาสะสมมานาน ตนไม่ได้อยากเรียกร้องความสนใจ หรือความสงสาร เพียงแต่อยากได้สิทธิที่เท่าเทียมกัน
นายมานิตย์ นั่งรถเข็นเพื่อเข้ามายังสถานีรถไฟฟ้า
นายมานิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะช่วยให้ผู้พิการสามารถดูแลตัวเองได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ถือว่านายกฯ มีนโยบายที่ชัดเจน แต่สิ่งที่ตนต้องการถามคือ กระทรวงคมนาคมทำอะไรอยู่ อีกทั้งศาลปกครองสูงสุดเคยตัดสินให้กทม. สร้างลิฟต์ที่ BTS ให้เสร็จภายใน 1 ปี จนถึงตอนนี้ ผ่านมา 3 ปี ก็ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าตนยังไม่เห็นกระทรวงคมนาคมเคลื่อนไหวที่จะแก้ปัญหานี้ ที่สะสมมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่ BTS ยังไม่สร้าง ตนก็จะฟ้องกระทรวงคมนาคม กทม.และ BTS แน่นอน
นายมานิตย์ กดลิฟต์เรียกเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้ นายมานิตย์ ได้กล่าวถึงลิฟต์แบบยาว ที่ระบุว่าเป็นการสร้างผิดแบบ คือลิฟต์สร้างตัวเดียวไปถึงชั้น 3 ทั้งที่ลิฟต์จากชั้น 1 ควรขึ้นไปแค่ชั้น 2 ที่เป็นห้องจำหน่ายตั๋ว ก่อนจะเปลี่ยนลิฟต์อีกตัว จากชั้น 2 ไปชั้น 3 ซึ่งเป็นส่วนของชานชาลา และมีประตูกระจกนิรภัยล็อกปิดไว้อีกชั้น ซึ่งต้องกดปุ่มด้านหน้าเพื่อเรียกเจ้าหน้าที่ลงมาเปิด ทั้งที่กระจกนิรภัยไม่ควรมี อีกทั้ง หากวันใดฝนตก หน้าลิฟต์ดังกล่าวก็ไม่มีหลังคากันฝน ต้องรอจนกว่าเจ้าหน้าที่จะลงมาเปิด

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ