ไขข้อสงสัย "ซากเชื้อโควิด" คืออะไร?

20 ส.ค. 63

เพจ หมอแล็บแพนด้า ช่วยไขข้อสงสัย "ซากเชื้อ" คืออะไร หลังไทยพบผู้ป่วยโควิดวานนี้ แต่แพทย์ระบุว่าเป็นแค่ซากเชื้อ

จากกรณีที่วานนี้ (19 ส.ค.) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงกรณีพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ จำนวน 2 ราย โดยกรมควบคุมโรคยืนยันในส่วนของรายที่ 1 เป็นผู้ติดเชื้อรายเดิม ที่ตรวจพบ "ซากเชื้อ" ซึ่งไม่มีความสามารถในการแพร่เชื้อใดๆ แล้ว ส่วนรายที่ 2 ต้องรอตรวจสอบข้อมูลต่อไป ย้ำยังไม่เข้าข่ายการระบาดระลอก 2 นั้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ด่วน! รพ.รามาฯ เผย พบคนไทยติดเชื้อโควิด 1 ราย เพิ่งออกจากสถานกักกันของรัฐ
- สธ. แถลงไทม์ไลน์ผู้ป่วยโควิดรายใหม่ ที่รพ.รามาฯ ยืนยันไม่เข้าข่ายระบาดรอบใหม่
- สถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย 20 ส.ค. ป่วยใหม่ 7 รายไม่รวมเคส รพ.รามาฯ

เรื่องนี้ทำให้หลายคนสงสัยคำว่า "ซากเชื้อ" หมายถึงอะไร เรื่องนี้เฟซบุ๊กเพจ "หมอแล็บแพนด้า" ได้อธิบายดังนี้ "หลายคนสงสัยว่า ตรวจเจอ “ซากเชื้อ” ที่ทางภาครัฐแถลงคืออะไร ซากเชื้อก็เหมือนซากอ้อยที่เราเคี้ยวแล้วคายทิ้ง เอามาตรวจทางห้องแล็บยังไงก็รู้ว่าเป็นซากอ้อยซึ่งมันเคยเป็นอ้อยมาก่อน แต่จะเอาซากนั้นไปปลูกหรือขยายพันธุ์เพิ่มก็คงไม่ได้

ซากเชื้อโควิดก็เหมือนกัน ตรวจในห้องแล็บก็รู้ว่าเป็นเชื้อก่อโรคโควิด เพราะเราตรวจเจอชิ้นส่วนดีเอ็นเอของมันแต่มันก่อโรคไม่ได้แล้ว เพราะเหลือแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของร่างกาย มันไม่มีชีวิตแล้ว แต่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เราก็เลยสามารถตรวจเจอซากของมันได้นั่นเอง

ก่อนจะเป็นซาก มันเคยติดเชื้อในคนนั้นๆ มาก่อนครับ แต่ร่างกายกำจัดหมดแล้ว คือหายแล้วนั่นแหละ ก็เลยเหลือแต่ซากไวรัสที่คงค้างอยู่ สักพักก็หมดไปจนตรวจไม่เจอ"

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ