"ไพบูลย์ นิติตะวัน" นั่งประธาน กมธ.ตรวจสอบใช้งบฯกู้โควิด 1.9 ล้านล้านบาท

18 มิ.ย. 63

คะแนนเสียงขาดลอย "ไพบูลย์ นิติตะวัน" นั่งประธาน กมธ.ตรวจสอบใช้งบฯกู้โควิด 1.9 ล้านล้านบาท

วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่รัฐสภา เกียกกาย มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตามตรวจสอบการใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สภาผู้แทนราษฎรนัดแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธาน มีนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ซึ่งอาวุโสสูงสุดเป็นประธานชั่วคราว

อ่านข่าวทีี่เกี่ยวข้อง "1.9 ล้านล้าน"
- ไขข้อสงสัย พ.ร.ก.เงินกู้ ก่อหนี้ 1.9 ล้านล้าน ใช่หรือไม่ กี่ปีถึงจะใช้หมด
- “อนุทิน” แย้มข่าวดีกลางสภา! ไทยเตรียมเลิกต่ออายุ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"
- สภาฯลงมติเห็นชอบ พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้าน แก้ไขฟื้นฟูสถานการณ์โควิด

ส.ส.ซีกพรรคฝ่ายค้าน ได้เสนอให้ซีกรัฐบาลเสียสละให้ตัวแทนจากฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ในฐานะประธาน กมธ.เพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ เพราะเป็นเงินจำนวนมากที่รัฐบาลกู้มา เพื่อสอดคล้องกับสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ประกาศถึงแนวทางการทำงานของรัฐบาล NEw Normal ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความเห็นและร่วมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

ทำให้นายสัญญา นิลสุพรรณ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประรัฐ ตัดบทด้วยการเสนอชื่อ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน กมธ.ทันที

จากนั้น ทำให้ที่ประชุมตึงเครียดทันที โดยมี กมธ.ยกมือเพื่อขอภิปรายจำนวนมาก นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา อภิปรายว่า ประธาน กมธ.คณะนี้ จำเป็นต้องได้คนที่มีความรู้ความสามารถมีความอาวุโสทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิ ซึ่งคนเห็นในกมธ.นี้ ตนเห็นว่า นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นผู้ที่เหมาะสม ถ้ารัฐบาลอยากให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมจำเป็นต้องใจกว้าง มองที่ตัวบุคคลที่จะทำให้ภารกิจที่ได้รับเป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ถัดมา กมธ.ซีกฝ่ายค้าน ได้สนับสนุนให้นายกนก เป็นประธาน โดยเห็นว่า แม้นายไพบูลย์จะมีความสามารถแต่ไม่มีความเหมาะสม เพราะจากข่าวเห็นว่า เป็นชื่อที่ถูกเสนอมาจากรัฐบาล การตรวจสอบงบก้อนนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ จึงขอให้นายไพบูลย์ถอนตัวแล้วให้นายกนกทำหน้าที่จะดีเพราะ เป็นที่ยอมรับ ไม่มีตำหนิ 

จากนั้น นายวิสาร ได้เสนอให้มีการลงคะแนนลับ และหากนายกนก ไม่รับการเสนอชื่อ ฝ่ายค้านจะวอล์กเอาท์  ทำให้น.ส.พัชรินทร์ ซําศิริพงษ์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอให้มีการลงคะแนนแบบเปิดเผย แต่ฝ่ายเลขานุการ กมธ. ยืนยันว่า ตามข้อบังคับ เมื่อมีคู่แข่ง ต้องลงคะแนนแบบลับ โดยทั้งนายไพบูลย์ และนายกนก ไม่มีถอนตัว ที่สุดจึงเปิดให้มีการลงคะแนนลับ โดยให้เขียนหมายเลขลงในคะแนนเพื่อกล่องลงคะแนนหน้าห้องประชุม โดยมีกมธ.ลงคะแนน 48 คน ขาด1 เสียง เนื่องจาก น.ส.นภาพร เพ็ชร์จินดา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ไม่เข้าประชุม 

ผลการลงคะแนนลับปรากฏว่า นายไพบูลย์ ชนะ นายกนก 28 ต่อ 19 และไม่ประสงค์ลงคะแนน 1 เสียง ได้เป็นประธาน กมธ.วิสามัญ โดยใช้เวลาในการพิจารณานานเกือบ 2 ชั่วโมง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ