รำลึก 28 ปี “พุ่มพวง ดวงจันทร์” จากนักร้องบ้านนอกสู่ราชินีลูกทุ่ง

13 มิ.ย. 63

ตำนานที่แฟนเพลงชาวไทยไม่เคยลืม 28 ปีของการจากไปแต่ยังอยู่ในใจตลอดมา (พ.ศ.2535-พ.ศ.2563) “พุ่มพวง ดวงจันทร์“ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2504 ชื่อเล่น ผึ้ง มีชื่อจริงเมื่อเกิดว่า “รำพึง จิตรหาญ” เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเจ้าของฉายา "ราชินีลูกทุ่ง" ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

พุ่มพวง ดวงจันทร์

เธอเกิดที่จังหวัดชัยนาท แต่โตที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพทำไร่อ้อยและมีฐานะที่ยากจน เธอเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 12 คนเธอชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก เคยเดินสายประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาของเธอฝากให้เธอนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของไวพจน์ เพชรสุพรรณ ซึ่งแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ โดยขณะนั้นเธอใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ ต่อมามนต์ เมืองเหนือ ได้ตั้งชื่อในวงการบันเทิงให้เธอใหม่ว่า พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

พุ่มพวง ดวงจันทร์ เริ่มมีชื่อเสียงมากที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2525 โดยมีผลงานเพลงดังเช่น อาทิ สาวนาสั่งแฟน, นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง, กระแซะเข้ามาซิ, ดาวเรืองดาวโรย, คนดังลืมหลังควาย, บทเรียนราคาแพง ฯลฯ เป็นต้น ส่วนมากมาจากการประพันธ์ของวิเชียร คำเจริญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 เธอได้ย้ายมาเป็นศิลปินสังกัดท็อปไลน์ ไดมอนด์ เธอเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 จากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง สงครามเพลง ซึ่งกำกับโดยฉลอง ภักดีวิจิตร โดยแสดงคู่กับยอดรัก สลักใจ และเธอยังแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง ส่วนมากเธอมักรับบทเป็นนางเอก อาทิ รอยไม้เรียว, ผ่าโลกบันเทิง, นักร้อง นักเลง เป็นต้น

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น "พุ่มพวง ดวงจันทร์" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ "รักไม่อันตราย" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้น

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

พ.ศ. 2521 พุ่มพวงได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จากเพลง “อกสาวเหนือสะอื้น” นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง "ส้มตำ" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

พุ่มพวง ดวงจันทร์ หายหน้าไปจากวงการในช่วงปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากเธอป่วยด้วยโรคเอสแอลอี และได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 รวมอายุได้ 31 ปี โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ในขณะนั้นยังทรงพระยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

แม้เธอจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ผลงานของเธอก็ยังตราตรึงและเป็นตำนานตลอดไป โดยยังมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งอีกหลายรายได้นำผลงานเพลงของเธอมาขับร้องใหม่

 

พุ่มพวง ดวงจันทร์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เลขเด็ดพุ่มพวง รำลึก 28 ปี พุ่มพวง ดวงจันนทร์ 
- "ไก่ จันทน์จวง" เปิดคำพูดสุดท้ายของ "พุ่มพวง" ก่อนจากไป

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวบันเทิง เป็นกระแส