ผู้ว่าฯชัชชาติ สั่งสอบปมจัดซื้อ เครื่องออกกำลังกาย แพงเกินจริง

6 มิ.ย. 67

 

ผู้ว่าฯชัชชาติ สั่งสอบปมจัดซื้อ เครื่องออกกำลังกายในศูนย์กีฬา 2 แห่ง แพงเกินจริง มูลค่าเกือบ 10 ล้านบอก กทม.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาเอง 

จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก "ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย" เปิดเผยถึงข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของ กทม. โดยพบเห็นความผิดปกติในการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ส่อแพงจริง 

ซึ่งเป็นการจัดซื้อของ ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ และศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ รวมกัน 2 ที่เกือบ 10 ล้านบาท แบ่งเป็น ศูนย์วารีภิรมย์ 4,999,990 บาท และ ศูนย์วชิรเบญจทัศวงเงิน 4,998,800 บาท 

โดยทีม STRONG สืบเสาะข้อมูลพบว่ายังมีอีก 7 โครงการ ได้แก่

- ศูนย์มิตรไมตรี 11 ล้านบาท

- ศูนย์อ่อนนุช 15.6 ล้านบาท

- ศูนย์วัดดอกไม้ 11.5 ล้านบาท

- ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 12.1 ล้านบาท

- ศูนย์นันทนาการ สังกัดสำนักนันทนาการ 17.9 ล้านบาท

- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 11.1 ล้านบาท

- ครุภัณฑ์เสริมสร้างสมรรถภาพผู้สูงอายุ 24 ล้าน

รวมเป็นงบกว่า 103.2 ล้านบาท 

ซึ่งจากการตรวจดูเอกสารเบื้องต้นพบว่า ราคาสูงผิดปกติ และมีแค่ 2-3 บริษัทเดิมๆเท่านั้นที่ผลัดกันได้งาน งานนี้ สตง. ป.ป.ช. และหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจต้องตรวจสอบ 

ต่อมาวันที่ 6 มิ.ย. 67 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมฝ่ายเกี่ยวข้อง แถลงชี้แจงถึงกระบวนการตรวจสอบ การจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในศูนย์กีฬา วชิรเบญจทัศ และศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding ว่า ตนเพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันอาทิตย์ขณะไปประชุมผู้ว่าฯโลกที่ประเทศสิงคโปร์ แต่ก่อนหน้านั้นมีข้อมูลว่า 2 เดือนก่อน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.สุ่มตรวจ ก่อนทักท้วงโครงการดังกล่าวว่า อาจมีความผิดปกติ ซึ่งเบื้องต้นได้ส่งเอกสารชี้แจงไปแล้ว 

เมื่อถามว่า ยอมรับใช่ไหมว่า ราคาการจัดซื้อสูงกว่าปกติ นายชัชชาติ d]jk;ยอมรับว่า ถ้าดูจากกระแสก็ซื้อในราคาสูงกว่าปกติ แต่หากดูตามกระบวนการเบื้องต้นก็เป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง ปี 2560 มีการทำ TOR ผ่านขบวนการ e-bidding เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม กทม.ได้มีการตั้งคณะกรรมการป้องกันการทุจริต หรือ คปท. เข้ามาตรวจสอบ ทำงานคู่ขนานกันกับการตรวจสอบของ สตง. พร้อมยอมรับว่ามีเรื่องที่ไม่โปร่งใสอยู่บ้าง แต่ก็พร้อมจะตรวจสอบและปรับปรุง ถ้าอธิบายไม่ได้ ก็ต้องมีคนรับผิดชอบหากพบว่า มีการทุจริตจะดำเนินการตามกฎหมายเต็มที่ 

พร้อมบอกว่า "ยืนยันผมโปร่งใส เหมือนตอนนี้ยืนแก้ผ้าให้ดูได้เลย" 

ส่วนการป้องกันการทุจริตของ กทม. นายชัชชาติ บอกว่า เป็นลักษณะ 4+1 โดยแยกส่วนทำงานฝ่ายบริการข้าราชการประจำ และสภา อันดับแรกคือ เรื่องร่างบัญญัติงบประมาณ ต่อมาจะเข้าสู่สภาโดยมี คณะกรรมการ 50 ท่าน ช่วยกันตรวจสอบ ก่อนที่ต่อมาจะใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างปี 2560 ในการตั้งราคากลาง ท้ายที่สุดจะเข้าสู่การตรวจสอบโดยภาคเอกชน ผ่าน ACTAi ที่ให้ประชาชนร่วมกันตรวจสอบ ซึ่งหลังจากนี้ก็จะตรวจสอบโครงการอื่นด้วย 

ด้าน นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า ถ้าดูข้อมูลจาก ACTAi พบว่า ผู้ชนะการประกวดราคา มีการทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานครมาก่อนแล้ว อย่างโครงการเครื่องออกกำลังกายก็มีการเสนอราคาตั้งแต่ปี มี.ค. 2565 ซึ่งเป็นผู้บริหารชุดก่อน ราคาลู่วิ่งอยู่ที่ประมาณ 600,000 บาท ในตอนนั้น และมีการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 2565 ก่อนที่คณะบริหารชุดปัจจุบันจะเข้ามาทำงานในเดือน มิ.ย. 2565 ก่อนทำการจัดซื้อจัดจ้างปี2566 

ในส่วนของเรื่องราคา กรุงเทพมหานคร ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคากลาง ส่วนใหญ่จะนำราคาที่เคยซื้อมาแล้วในครั้งก่อนมาตั้งเป็นฐาน พร้อมยืนยันว่า ถึงแม้จะมีการตั้งโครงการช่วงปี 2565 แต่การจัดซื้อฯ ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับผู้ว่าฯ คนก่อน คือ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เพราะการดำเนินการต่างๆ และงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อเป็นงบประมาณปี 2566 

ด้าน นายสมบูรณ์ หอมนาน รองปลัด กทม. อธิบายเพิ่มเติมในส่วนของการสืบราคาว่า  กระบวนการสืบราคาเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างปี 2560 ได้บัญญัติไว้ว่า ต้องสำรวจราคาตามท้องตลาด ไม่น้อยกว่า 3 บริษัท จากนั้นมีคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ในแต่ละรายการจัดซื้อ ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งของผู้มีอำนาจ และตัวบุคคล แต่ละโครงการสลับหมุนเวียนกันไป แต่ทั้งนี้หากตรวจสอบพบการกระทำผิด หรือการทุจริตจริง ต้องดำเนินคดีตามกฎหมายไม่มีละเว้น

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส