รู้จัก "อีกัวน่าเขียว" สัตว์ต่างถิ่น ที่กำลังทำลายระบบนิเวศ สร้างความเดือดร้อนในพื้นที่

23 พ.ย. 66

รู้จัก "อีกัวน่าเขียว" สัตว์ต่างถิ่น ที่กำลังทำลายระบบนิเวศ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่

จากกรณีประเทศไทยพบการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ "อีกัวน่าเขียว" (Alien Speciess) สัตว์ต่างถิ่นในพื้นที่ธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ รวมถึงสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ที่พบการระบาด

ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของจำนวนประชากรอีกัวน่าในประเทศไทย ด้วยการไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้าอีกัวน่าทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่า ที่ไม่พิจารณาอนุญาตให้นำเข้า

ส่งผลให้ การนำเข้าสัตว์ป่ากลุ่มที่ 1 สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ วงศ์อีกัวน่า (Family Iguanidae) ลำดับที่ 690 อีกัวน่าทุกชนิดในสกุล Iguana (Iguana spp.) เป็นเรื่องผิดกฎหมาย จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ผู้ทำผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนและปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

402111706_754589423367333_519

รู้จัก "อีกัวน่าเขียว" สัตว์ต่างถิ่น (Alien Speciess)

อีกัวน่า อวัยวะที่โดดเด่นที่เป็นจดจำ เช่น เหนียงที่แป็นแผ่นหนังกลมขนาดใหญ่ที่ห้อยอยู่ใต้คาง แผงหนามที่มีตั้งแต่คอ กลางหลังเรียงตัวต่อเนื่องไปจนถึงหาง ที่แก้มจะเป็นเกล็ดแผ่นวงกลมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า subtympanic shield และมีช่องหูที่อยู่ในแนวหลังตาแต่ละข้าง มีหางยาวซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ช่วยในการป้องกันจากสัตว์ผู้ล่า โดยหางที่ยาวแข็งแรงจะฟาดใส่ศัตรูที่สร้างความเจ็บปวดได้ และหางสามารถสะบัดบางส่วนให้หลุดได้เหมือนกับกิ้งก่าชนิดอื่นๆ เพื่อหนีได้เร็วขึ้น รวมทั้งมีคุณสมบัติงอกใหม่ได้ มีเกล็ดปกคลุมทั่วร่างกาย เกล็ดที่อยู่รอบคอเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ ทรงกลมนูน มีเกล็ดหนาและเรียงตัวแน่นในส่วนด้านล่างของลำตัว และเกล็ดที่มีตามร่างกายที่มีในส่วนต่างๆ สีสันหลากหลาย

ถึงแม้ว่าชื่อที่ใช้เรียกกิ้งก่าชนิดนี้ว่า อีกัวน่าเขียว แต่สีเกล็ดยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับอายุ โดยที่ช่วงวัยเด็กสีพื้นของเกล็ดเป็นสีเขียวและมีแถบขนาดใหญ่สีน้ำตาล ปัจจัยที่สร้างความผันแปรอีก คือ สภาพอารมณ์ สุขภาพ อันดับในกลุ่ม และอุณหภูมิของพื้นที่ที่ร่างกายอีกัวนาจะต้องปรับตัวถ้าอากาศหนาวเย็นสีเกล็ดจะออกคล้ำ ส่วนในช่วงอากาศร้อนสีเกล็ดจะลดความเข้มลง

404927661_754587876700821_625

ถิ่นอาศัย : อีกัวน่าเขียวปรับตัวเพื่ออยู่กับป่าได้หลายประเภท รวมทั้งการปรับตัวในพื้นที่ป่าที่มีต้นไม้ไม่หนาแน่น โดยเลือกอยู่ในจุดเรือนยอดและต้นไม้ที่อยู่ใกล้น้ำที่จะทิ้งตัวลงน้ำหนีจากสัตว์ผู้ล่าได้ เป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าเขตร้อนของเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน

อาหาร : อีกัวน่าเขียวเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ โดยช่วงวัยอ่อนจะกินแมลง หอย และเมื่อถึงช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์จะกินใบไม้ ดอกไม้

พฤติกรรม : อีกัวน่าเขียวช่วงอายุโตเต็มวัยจะเลือกเกาะกิ่งไม้ในระดับเรือนยอด ส่วนวัยอ่อนจะเกาะกิ่งไม้ในระดับต่ำลงมา เลือกเกาะในจุดที่ได้รับแสงแดดโดยไม่ต้องลงจากต้นไม้ กรณีที่ลงพื้นดินคือเพศเมียที่ลงมาวางไข่ การสื่อสารผ่านการมองเห็น โดยการเคลื่อนลูกตา ซึ่งตัวอื่นจะรับรู้ได้ด้วยการการมองเห็นที่มีประสิทธิภาพสูง

อายุเฉลี่ย : อีกัวน่าเขียวมีอายุขัยประมาณ 20 ปี ในกรงเลี้ยงปรากฏว่าอายุขัยจะน้อยกว่าในป่าเนื่องจากการดูแลที่ไม่เหมาะสม ถ้าการดูแลอย่างถูกต้องอายุขัยในกรงเลี้ยงจะอยู่ในช่วง 10-20 ปี

402595772_669425915332277_591

วัยเจริญพันธุ์ : การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และช่วงที่ลูกอีกัวนาเขียวออกจากไข่จะเป็นช่วงฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ รูปแบบการผสมพันธุ์จะเป็นแบบในหนึ่งฤดูผสมพันธุ์ทั้งเพศเมียและเพศผู้จะผสมพันธุ์กับเพศตรงกันข้ามหลายตัว ท่าทางการเกี้ยวพาราสีของเพศผู้จะทำท่าผงกหัว เหนียงจะ เหยียดและหดเข้า

การผสมพันธุ์จะเริ่มโดยการที่เพศผู้จะขึ้นไปบนหลังเพศเมีย ใช้ปากจับที่ผิวหนังที่จะทำให้เกิดผิวหนัง ต่อมาโคลเอก้าของทั้งสองเพศจะประกบกัน อีกัวนาเขียวเพศเมียจะเก็บรักษาสเปิร์มได้หลายปี ทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสที่สเปิร์มจะผสมกับไข่ได้ในจำนวนที่มากขึ้น เพศเมียจะวางไข่เฉลี่ย 65 วันหลังจากการผสมพันธุ์ ไข่จะวางไข่ในรังในดินที่ลึก 45 เซนติเมตร ซึ่งรังดินนี้อาจจะมีเพศเมียตัวอื่นมาวางไข่ร่วมด้วย ในช่วงเวลา 3 วัน จะมีการวางไข่ที่อาจมากถึง 65 ฟอง โดยมีขนาด 15.4 X 35-40 มิลลิเมตร ระยะฟักไข่ 90-120 วัน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการฟักไข่อยู่ในช่วง 85-91 องศาฟาเรนไฮต์ ลูกที่กำลังจะออกจากไข่จะใช้ฟันที่กัดเปลือกไข่ออกมาที่เรียกว่า คารันเคิล และชุดฟันนั้นจะหลุดออกหลังจากที่ลูกอีกัวนาออกจากไข่ได้ไม่นาน ส่วนไข่แดงก็จะค่อยถูกดูดซึมไปโดยจะใช้เป็นอาหารสำรองในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก

402609392_669425551998980_829

ขนาดและน้ำหนัก : ภายในเวลา 3 ปี จากน้ำหนัก 12 กรัมเมื่อออกจากไข่เติบโตจนกระทั่งมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม อีกัวนาช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์มีความยาวจากปลายปากถึงโคนหางอยู่ในช่วง 1.2 - 1.7 เมตร และความยาวหาง 30 - 42 เซนติเมตร น้ำหนักของอีกัวน่าเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 4 กิโลกรัม

402076231_751698353656440_634

ขอบคุณภาพจาก

สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี

advertisement

ข่าวยอดนิยม