แอป Whoscall ป้องแก๊งคอล 17 ล้านเลข ดึง โจอี้ ภูวศิษฐ์ ร้องเพลงเตือนภัย

23 พ.ย. 66

Gogolook เผยที่งาน ASAS แอป Whoscall ปี 2565 สามารถบล็อคเบอร์โทร.แก๊งคอลเซ็นเตอร์ไปแล้ว 17 ล้านเลข พบส่ง sms ลวงเหยื่อมากขึ้น ล่าสุด ดึง โจอี้ ภูวศิษฐ์ ส่งซิงเกิล "ตัดสาย" เตือนภัยมิจฉาชีพ ขยายฐานสู่กลุ่มเด็กจนถึงผู้สูงวัย

การหลอกลวงออนไลน์เป็นอาชญากรรมประเภทที่มีการรายงานมากที่สุด ประเทศส่วนใหญ่ระบุว่า 20%- 50% ของอาชญากรรมทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการหลอกลวงออนไลน์ แต่ตัวเลขนี้เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เนื่องจากเหยื่อเพียง 7% เท่านั้นที่แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ในปีที่ผ่านมา

อาชญากรรมออนไลน์สร้างความสูญเสียเกือบ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ มีผู้คนกว่า 300 ล้านคนที่ตกเป็นเหยื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยให้ มิจฉาชีพพัฒนาการหลอกลวงด้วยเช่นกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

ล่าสุดที่งานประชุมต่อต้านการหลอกลวง Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พ.ย.ที่ผ่านมา นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท โกโกลุก (ประเทศไทย) จำกัด GOGOLOOK ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ที่สามารถระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก เพื่อรู้ทันสายมิจฉาชีพ สำหรับสมาร์ทโฟน กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงเหยื่อไปเรื่อย ทางแอปพลิเคชัน #Whoscall พยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากเบอร์โทรศัพท์ ระบุปลายสายว่าเป็นใครโทร.มา, ระบุตัวตัวของ SMS ที่ส่งเข้ามา และลิงก์เว็บไซต์ ชื่อว่า URL Scanner ถือเป็นฟีทเจอร์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในปี 2566

artboard1_0

"สามารถเอาลิงก์เว็บไซต์ที่เราสงสัยว่า จะมาหลอกลวงหรือไม่ นำไปวางที่ URL Scanner ภายใน แอปพลิเคชัน Whoscall ก็จะสามารถตรวจสอบมิจฉาชีพได้ ซึ่งฐานข้อมูลที่เรามี มาจาก GOGOLOOK และ Google และความร่วมมือกับ GASA เขาก็มีฐานข้อมูลของ Scam เหมือนกัน" นางสาวฐิตินันท์ กล่าว

นางสาวฐิตินันท์ กล่าวต่อว่า ในปี 2565 แอปพลิเคชัน Whoscall สามารถป้องกันสายมิจฉาชีพได้มากถึง 17 ล้านหมายเลข ในส่วนของ SMS ยังพบว่า ใน 10 ข้อความ เป็นข้อความขยะหรือมิจฉาชีพมากถึง 7 ข้อความ ซึ่งในปี 2566 คาดว่าการส่ง SMS จะเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ลวงเหยื่อมากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก เฉลี่ยการยิง SMS ออกไปต่อเบอร์โทร.ไม่ถึง 10 สตางค์ แต่สามารถรีเทิร์นมูลค่าได้สูงมากกว่าการโทรศัพท์

artboard1copy_0

"ตอนนี้เทรนด์ของการแอบอ้างที่ Scam กำลังให้ความสนใจในการหลอกเหยื่อ คือการแอบอ้างบุคคลเป็นคนใกล้ตัว, คนดัง, หรือหน่วยงานราชการ นอกเหนือจากอีเว้นท์, วิกฤติ และการลงทุน เป็นต้น ซึ่ง Scam จะหลอกแบบมีชั้นเชิงมากขึ้น เช่น วันนี้โทร.มาแอบอ้างเป็นคนใกล้ตัวเราให้เชื่อใจก่อน "พอดีเราเปลี่ยนเบอร์ใหม่อย่าลืมเซฟนะ" เราก็จะกดเซฟเบอร์นี้ หลังจากนั้นราว 1 อาทิตย์ เบอร์นี้โทร.มา Whoscall ก็จะจับไม่ได้แล้วว่า เป็นเบอร์มิจฉาชีพ เพราะเราได้ทำการบันทึกเบอร์เข้าโทรศัพท์ไปแล้ว" นางสาวฐิตินันท์ กล่าว

นางสาวฐิตินันท์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงต้องทำงานเพิ่มในเรื่องของความตระหนักรู้ และเพิ่มเกราะป้องกันให้กับประชาชน ปัจจุบัน แอปพลิเคชัน Whoscall มียอดดาวน์โหลดแล้วทั่วโลกกว่า 100 ล้านดาวน์โหลด ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือไต้หวัน

นางสาวฐิตินันท์ กล่าวถึงแผนการดำเนินงานว่า จากปัญหาต่างๆ บริษัทฯเล็งเห็นว่า มิจฉาชีพหลอกลวงเหยื่อทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงวัย จึงออกแคมเปญสร้างการตระหนักรู้ ให้รู้จักแอปพลิเคชัน Whoscall ที่สามารถป้องกันหรือรู้ทันสายมิจฉาชีพได้ ล่าสุดร่วมมือกับ GMM GRAMMY ได้ “โจอี้ ภูวศิษฐ์ อนันต์พรสิริ” เจ้าของเพลงฮิต “นะหน้าทอง” ในซิงเกิล "ตัดสาย" สร้างจากความช้ำใจของคนไทย ที่ โจอี้ ภูวศิษฐ์ ไม่อยากให้ใครเป็นรายต่อไป มา ‘ตัดสาย’ และรีพอร์ตเบอร์ใจร้าย
ให้ ตาย ตกนรก! ด้วยกัน

1700703339172

"Whoscall ไม่ได้อยากสู้คนเดียว อยากให้ทุกคนเข้ามาช่วยกันทั้งภาครัฐ และเอกชน เพราะมันเป็นปัญหาระดับชาติ คนเดียวแก้ไม่ได้ จะรอรอให้ตำรวจ, ธนาคารแก้อย่างเดียวไม่ได้ เรามาช่วยปกป้องคนไทยกันเองไม่ให้โดนหลอกต่อไป" นางสาวฐิตินันท์ กล่าวทิ้งท้าย.

17007032810301700703368817

อย่างไรก็ดี Jeff Kuo ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ที่สามารถระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก เพื่อรู้ทันสายมิจฉาชีพ สำหรับสมาร์ทโฟน ในฐานะ พันธมิตรองค์กร GASA (The Global Anti-Scam Alliance) และผู้ร่วมจัดงานประชุม ASAS ได้เผยคะแนนความเชื่อมั่นในความมั่นใจเกินเหตุ จนนำไปสู่ความผิดพลาด ดังนี้

อันดับ 1 อินโดนีเซีย 80 คะแนน, จีน 78.6 คะแนน, ฟิลิปปินส์ 74 คะแนน, ไต้หวัน 67.1 คะแนน, เกาหลีใต้ 61.3 คะแนน และ อันดับ 6 ประเทศไทย 63.3 คะแนน ตามลำดับ และยังพบช่องทางที่ใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ ในส่วนของดิจิทัลแพลตฟอร์ม ยังพบว่า เฟซบุ๊ก 47.3%, Line 40.4%, Gmail 10.6%, Instagram 6.1% และ google 5.1% ที่อาชญากรรมใช้ในการหลอกเหยื่อทางออนไลน์ มากที่สุดตามลำดับ

s__33366108_0

gasa-x-gogolook_asia-scam-repgasa-x-gogolook_asia-scam-rep_1gasa-x-gogolook_asia-scam-rep_2gasa-x-gogolook_asia-scam-rep_3gasa-x-gogolook_asia-scam-rep_4

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส