นอนไม่หลับ กลางคืนไม่ยอมนอน ห่วงเล่นมือถือ เสี่ยงอ้วน ซึมเศร้า ไบโพล่า

7 พ.ย. 66

นอนไม่หลับห่วงเล่นมือถือ ดูซีรี่ย์ ปัญหาสุขภาพคนยุคใหม่ เสี่ยงสารพัดโรคทั้งกายใจ ควรเห็นความสำคัญนาฬิกาชีวิตเพื่อสุกขภาพดีระยะยาว

การนอนเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพที่ดี จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกได้มีคำว่าควรนอนหลับให้เพียงพอวันละ 7 - 9 ชั่วโมง แต่จากข้อมูลพบว่าประชากรโลกจำนวนไม่น้อยมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยร้อยละ 35 เป็นปัญหาการนอนไม่หลับ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่านอกจากการนอนไม่หลับแล้วยังมีปัญหาการไม่ยอมหลับไม่ยอมนอนเนื่องจากการใช้ชีวิตอยู่กับอินเตอร์เน็ต ดูวิดีโอต่างๆ ดูการแข่งขันกีฬาการดูซีรี่ย์ ทั้งนี้การนอนไม่เพียงพอจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะสั้นจะทำให้ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย มีปัญหาต่อการเรียนรู้ในวันถัดไป

ซึ่งพบว่าคนที่นอนหลับไม่เพียงพอมีปัญหาขาดงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ในระยะยาวมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาซึมเศร้า ปัญหาโรคไบโพล่าโดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ป่วยอยู่เดิมอาจจะทำให้อาการกำเริบได้ รวมถึงทำให้อ้วน เป็นต้น

ดังนั้นเราให้ความสำคัญกับการนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพรักษาจังหวะชีวิตให้ดีจังหวะการนอนการตื่น บางคน นอนเวลาเที่ยงคืนตื่นตอนเที่ยงก็ขอให้ค่อยๆ ปรับ โดยคำแนะนำ คืองดกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว 4 ชั่วโมงก่อนการเข้านอน เช่น งดดื่มกาแฟ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการเล่นโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต และในห้องนอนควรจัดให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการนอนโดยละเว้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่าขอให้ยกเลิกการนับแกะเพราะการนับแกะยิ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลส่งผลกระทบให้นอนไม่หลับตามมา

โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับพบได้ 1 ใน 3 ของประชากรยิ่งสูงวัยยิ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้วิธีสังเกตถ้าหัวถึงหมอนเกินครึ่งชั่วโมงแล้วยังไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ควรมาพบแพทย์ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการนอนกรนซึ่งนำไปสู่การที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งพบได้ 1 ใน 10 ของประชากรชาย ส่วนประชากรหญิงพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งในขณะที่วัยเด็กพบได้ร้อยละ 1-2 ซึ่งลักษณะนี้จัดว่าเป็นอันตราย ขอให้ตระหนักและหลับให้เพียงพอ

นอนไม่เป็นเวลาเสี่ยงปัญหาสุขภาพ

ในแต่ละช่วงเวลาร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่แตกต่างกัน เช่นในวัยเด็กครูจะให้เด็กนอนช่วงเวลาบ่ายบ่ายก็เพราะร่างกายของเด็กขณะนั้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตามวงจรการนอน หรือนาฬิกาชีวิตของคนแต่ละที่แตกต่างกัน คนที่ทำงานเป็นกะและเปลี่ยนกะบ่อยๆ เช่นทุกๆ 3 วันจะมีปัญหาค่อนข้างมาก วงจรชีวิต นาฬิกาชีวิตไม่คงที่ มีโรคที่เกิดจากการนอนเยอะ เช่นเคยมีการทำการศึกษาที่รพ.จุฬาฯ ในกลุ่มพยาบาลที่เปลี่ยนกะเข้าเวรบ่อยๆ มีปัญหาโรคลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย และมีการศึกษาในประเทศสแกนดิเนเวีย พบว่าเพิ่มการเกิดการเป็นเนื้องอกบางชนิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ทำงานเป็นกะแต่ไม่ได้เปลี่ยนกะบ่อยๆ ใช้เวลาเป็นเดือนเดือนจะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ดังนั้นอยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญนาฬิกาชีวิต เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและมีสุขภาพที่ดีหลังตื่นนอน

ข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม