นายกฯ เกาะติดสถานการณ์น้ำ  กทม-ปริมณฑล เฝ้าระวังใกล้ชิด

2 ต.ค. 66

นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ติดตามสถานการณ์น้ำ เป็นห่วงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ ลำปาง แพร่ และอุบลฯ พร้อมขอบคุณเจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความทุ่มเท ด้าน กอปภ.ก. ประสาน 10 จังหวัด รวม กทม. และ ปริมณฑล เฝ้าระวังสถานการณ์ใกล้ชิด

วันนี้ (1 ตุลาคม 2566) เวลา 19.00 น.ณ ห้องประชุมศูนย์ปฎิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสภาพอากาศ จากว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาและรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์  กล่าวรายงานสรุปสภาพอากาศว่า  ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพุดผ่านส่งผลให้ให้ภาคเหนือ และภาคอีสานได้รับผลกระทบจากน้ำฝน  มีน้ำท่วมขัง และดินสไลด์บางพื้นที่ หลังจากนี ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน จนถึงวันที่ 7 กันยายน น้ำฝนจะลดน้อยลง มวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ และฝนกลับมาตกจำนวนมากอีกครั้ง ตั้งแต่ 7 กันยายน เป็นต้นไป สำหรับข้อกังวลเรื่องพายุโคอินุ ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ

ทางด้านนายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวบรรยายสรุปสถานการณ์น้ําว่า ภาพรวมจากปริมาณฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ทําให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณ น้ําล้นตลิ่งและน้ําท่วมขังในพื้นที่  เช่น ลุ่มน้ําวัง มีพื้นที่ น้ําท่วมเนื่องจากปริมาณน้ําในแม่น้ําวังล้นตลิ่ง ส่งผลกระทบกับจังหวัดลําปาง และจังหวัดตากบางส่วน ลุ่มน้ํา ยม-น่าน

จากปริมาณฝนที่ตกในเขตจังหวัดแพร่ ทําให้ปริมาณน้ําในแม่น้ํายมเพิ่มสูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบกับ จังหวัดสุโขทัยบางส่วน ลุ่มน้ําเจ้าพระยา ปริมาณน้ําที่จังหวัดนครสวรรค์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เนื่องจากปริมาณน้ําในแม่น้ําปิงและแม่น้ําน่านยังคงสูงขึ้น ทําให้ต้องมีการบริหารจัดการน้ําและจัด จราจรน้ําในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่าง โดยควบคุมปริมาณน้ําไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้มีผลกระทบ ต่อพื้นที่ท้ายน้ําน้อยที่สุด ในส่วนลุ่มน้ําชี-มูล พื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ําชีปริมาณน้ําเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนในพื้นที่แม่น้ําชีตอนล่างยังคงมีน้ําล้นตลิ่งบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และจังหวัดยโสธร แต่มีแนวโน้ม ลดลง และในส่วนของลุ่มน้ํามูล มีน้ําท่วมบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากปริมาณน้ําล้นตลิ่งบริเวณสถานี M.7 อําเภอวารินชําราบ โดยปริมาณน้ําดังกล่าวจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันสามารถระบายน้ําได้อย่างต่อเนื่อง

ภายหลังรับฟังบรรยายสรุป นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ จากทุกหน่วยงาน ที่ ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อติดตามสถานการณ์และดูแลพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

อย่างเต็มที่ ตนเองได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาตลอด และเป็นห่วงพี่น้องประชาชน วันนี้ต้องมาดูด้วยตัวเองที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำแห่งนี้ ทั้งเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำแบบ Real-time รับฟังข้อติดขัดในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ท่านได้ทำงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพที่สุด ที่สำคัญก็อยากมาให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประชุมร่วมกันผ่านระบU Video conference เพื่อไม่เป็นการรบกวนหน้างานของท่านที่ทำงานหนักอยู่ในพื้นที่ โดยวันนี้มีสำนักงานชลประทานทั่วประเทศ กรมอุตุฯ และ ปภ. มาร่วมกันประเมินสถานการณ์น้ำและร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อให้การทำงานคล่องตัวที่สุด ซึ่งเบื้องต้น จากที่ได้รับฟังรายงาน เป็นห่วงสถานการณ์ในจังหวัดลำปาง แพร่ และอุบลฯ ที่ถึงแม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงบ้าง แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องดูแล ฟื้นฟูและซ่อมแชมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนอย่างเรงด่วน โดยเฉพาะ ณ ขณะนี้จังหวัดสุโขทัย น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะต้องรองรับมวลน้ำที่ไหลลงมาจากจังหวัดแพร่ ซึ่งไหลเข้าท่วมทั้งในพื้นที่เกษตรกรรมและตัวเมืองบางส่วนแล้ว

นายกรัฐมนตรีย้ำ เรื่องสำคัญที่ต้องหารือ คือการวางแผนรับมือกับมวลน้ำที่จะเข้ามาอีกระลอก ซึ่งจะซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปกว่าเดิม การประชุมวันนี้ขอให้ทุกท่านให้ความเห็นอย่างเต็มที่ ติดขัดอะไร

ขอให้พูดกันตรง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันสถานการณ์

นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน ประกอบด้วย

  1. สถานการณ์น้ำ ให้กรมชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดจราจรน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำยม-น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา

 

  1. ให้หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กรมชลประทาน ตรวจสอบความมั่นคงของพนังกั้นน้ำ สะพาน และอาคารชลประทาน ให้มีความมั่นคง และพร้อมใช้งานตลอด

ช่วงฤดูน้ำหลาก

  1. การช่วยเหลือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเช่น เร่งซ่อมแชมที่ อยู่อาศัย กำจัดขยะที่ มากับน้ำ และตามที่ประชาชนร้องขอ

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการระดมสรรพกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพ

หน่วยงานท้องถิ่น

  1. พยากรณ์อากาศ ให้กรมอุตุวิทยาติดตามสภาพอากาศ และแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเตือนสภาพอากาศกับประชาชน เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด
  2. และการแจ้งเตือน ให้กรมชลประทานร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย หรือ กอปภ.ก. ได้ประสาน 10 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยาลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ตลอดจนประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมถึงเตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม นอกจากนี้ ยังได้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำและแนวป้องกันน้ำท่วมให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันระดับน้ำล้นข้ามแนวคันกั้นน้ำ อีกทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม