เปิดข้อมูลโครงการ 900 วัน ทางยกระดับลาดกระบัง งบพันล้านถล่มก่อนสร้างเสร็จ

10 ก.ค. 66

โครงการก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบัง โปรเจ็กต์ 900 วัน งบประมาณสร้าง 1.6 พันล้าน ถล่มก่อนสร้างเสร็จ คร่า 2 ชีวิต เจ็บอื้อ

จากกรณี สะพานถล่ม บริเวณโครงการก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยรายงานล่าสุดพบว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 2 ศพ และบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง

สำหรับ โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ระยะทางโครงการรวม 3,500 เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีความรวดเร็วและเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของชุมชน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพและรองรับปริมาณการจราจรบนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ระยะเวลาดำเนินการ 900 วัน เริ่มสัญญาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 และสิ้นสุดสัญญาวันที่ 11 สิงหาคม 2566

และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.เขตลาดกระบัง ได้ตั้งกระทู้ถามสด เรื่อง ความคืบหน้าโครงการ เนื่อจาก ปัจจุบันการก่อสร้างไม่มีความคืบหน้า รวมทั้งมีการตั้งวางวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างบนถนนกีดขวางการจราจร ทำให้การจราจรติดขัดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่สัญจรผ่านถนนสายนี้ได้รับความเดือดร้อนและไม่ปลอดภัย

นายสุรจิตต์ กล่าวว่า ถนนลาดกระบัง 54 ระยะทาง 600-700 ม. พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตลาดกระบังและอีกส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดใกล้เคียง โครงการนี้มีวงเงินก่อสร้าง กว่า 1,600 ล้านบาท แต่จะเห็นได้ว่ารายชื่อของผู้ควบคุมงานไม่มีบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่หรือผู้อำนวยการเขตร่วมเป็นเจ้าหน้าที่โครงการด้วยเลย

สะพานถล่ม

นอกจากนี้ความก้าวหน้าของโครงการยังช้ากว่าที่กำหนดถึง 45.69% ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรในพื้นที่ ซึ่งเมื่อลงพื้นที่โครงการจริงพบว่ามีคนงานเพียงไม่กี่คน และคาดว่าจะเสร็จไม่ทันตามสัญญาในวันที่ 16 ธ.ค. 67

ด้าน รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในเรื่องนี้สำนักการโยธาและสำนักงานเขตจะนำเรื่องร้องเรียนไปปรับปรุง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน นอกจากนี้จะส่งข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการให้สำนักงานเขตประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบเป็นระยะ

ในส่วนของการก่อสร้างได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นการหล่อแผ่นคอนกรีตจากโรงงานและนำมาติดตั้งในพื้นที่ โดยจะเร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการโดยเร่งด่วน ด้านการจราจรจะกั้นพื้นที่ก่อสร้างเกาะกลางถนนให้เหลือช่องจราจร 2 เลน เพื่อลดปัญหาการจราจร รวมทั้งจะติดตั้งป้ายเตือน ไฟฟ้าส่องสว่าง และขีดสีตีเส้นทางม้าลายให้ชัดเจน ปัญหาฝุ่นจะใช้รถบรรทุกน้ำฉีดพ่นในพื้นที่ วัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และตรวจวัดควันดำเป็นระยะ รวมถึงงดการก่อสร้างที่ทำให้เกิดเสียงดังในช่วงเวลากลางคืน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

f0rmrnfakaa7-ll

ข้อมูลจาก : สวพ.fm91

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส