เปิดเหตุผลทวง พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับไทย หลังส่งเป็นทูตสันถวไมตรีศรีลังกา

2 ก.ค. 66

เปิดสาเหตุการทวงคืน พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้าง “งาอุ้มบาตร” ทูตสันถวไมตรีไทย-ศรีลังกา หลังมีปัญหาสุขภาพจากการร่วมขบวนกว่า 30 ครั้งต่อเดือน

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 ที่ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ เที่ยวบิน AZS-5701 จากประเทศศรีลังกา ได้นำ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยที่มีลักษณะงาอุ้มบาตร กลับคืนสู่อ้อมกอดแผ่นดินเกิด ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เชือกที่รัฐบาลไทยมอบให้กับรัฐบาลศรีลังกา เพื่อเป็นทูตสันถวไมตรีเมื่อ มกราคม ปี 2544

สำหรับ พลายศักดิ์สุรินทร์ ถือด้ว่าเป็นช้างที่มีความยาวที่สุดในศรีลังกา ซึ่งงาจะยาวอยู่ที่ 50 เซนติเมตร และด้วยช้างส่วนใหญ่ที่ศรีลังกาจะมีงาสั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทางศรีลังกาได้ขอช้างเชือกนี้ไปแห่พระบรมสารีริกธาตุ ตามเอกสารที่ระบุเอาไว้เมื่อปี 2544

พลายศักดิ์สุรินทร์

ทำไมถึงต้องส่ง "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับไทย

ตั้งแต่ส่ง พลายศักดิ์สุรินทร์ ไปยังศรีลังกาเป็นเวลากว่า 22 ปี ช้างเชือกนี้ต้องเดินขบวนถึงเดือนละ 30 ครั้ง จนขาซ้ายด้านหน้างอเข่าไม่ได้ และมีฝีขนาดใหญ่ด้านหลังทั้งสองแห่ง ทำให้สภาพร่างกายทรุดโทรมเกินกว่าวัยทั้งที่มีอายุประมาณ 30 ปี

อีกทั้งยังมีการดูแลที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากขาทางวัดที่ดูแลล่ามโซ่ทั้งขาหน้าและหลังด้วยโซ่ที่สั้นทำให้ขยับตัวได้ลำบาก

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับเรื่องร้องเรียนจาก องค์การ Rally for Animal Rights & Environment (RARE) ซึ่งเป็นองค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ถึงการใช้แรงงานอย่างหนัก กับพลายศักดิ์สุรินทร์

ที่ผ่านมาพลายศักดิ์สุรินทร์ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร มีสภาพผอมโซ ผอมแห้ง เห็นกระดูกหลัง ผิวหนังหยาบ ขาหน้าซ้ายผิดปกติ งอเข่าไม่ได้นานราว 8 ปี มีฝีหนองสะโพกขวาและซ้าย ฝ่าเท้าบางเพราะยืนนานเกินไป ประกอบกับช่วงเวลานี้ศรีลังกาประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทำให้ช้างได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม

พลายศักดิ์สุรินทร์

พลายศักดิ์สุรินทร์

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส