“ไทย” ไม่รอด! ติด 1 ใน 10 มลพิษแย่ที่สุดในโลก กระทบสุขภาพทุกคน

1 ก.พ. 66

“เว็บไซต์ iqair.com” เผยผลจัดลำดับคุณภาพอากาศของเมือง ที่มีมลพิษแย่ที่สุดในโลก “ไทย” ไม่รอด ติด 1 ใน 10 มีผลกระทบต่อสุขภาพทุกคน

วันที่ 1 ก.พ. 66 เว็บไซต์ iqair.com เปิดเผยการจัดลำดับเมืองที่มี คุณภาพอากาศเป็นมลพิษแย่ที่สุดในโลก ณ เวลา 17.30 น. โดย 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.คูเวต ซิตี้ คูเวต ที่มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 196 เท่ากับ 2. เมืองอู่ฮั่น จีน ที่มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 196 ถือว่ามากที่สุด

คุณภาพอากาศ
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ iqair.com

 

รองลงมาลำดับ 3.เมืองมุมไบ อินเดีย มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 186 4.เมืองฉงชิ่ง จีน มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 172 5.เมืองเดลี อินเดีย มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 170 6.เมืองคาบูล อัฟกานิสถาน มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 162 7.กทม. ไทย มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 162  8.เมืองธากา บังกลาเทศ มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 163 9.เมืองเฉิงตู จีน มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 159 และ10.เมืองAstana คาซัคสถาน มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 158

ขณะที่จ.เชียงใหม่ของไทย อยู่ลำดับที่ 11 มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) อยู่ที่ 156 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นค่าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนทั้งสิ้น

คุณภาพอากาศ
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ iqair.com

สำหรับเมืองที่ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ดีต่อสุขภาพประชาชน อาทิ เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เมืองบรัสเซลส์ เบลเยียม เมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย เมืองลอสแองเจอลิส สหรัฐฯ เป็นต้น รวมถึงประเทศที่คนไทยชอบเดินทางไปท่องเที่ยว เช่น เมืองเคียวโตะ ญี่ปุ่น เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร เมืองปารีส ฝรั่งเศส นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ เมืองอินช็อน เกาหลีใต้ เป็นต้น

ผ่านมากรมอนามัยได้แนะนำให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง ดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิดก่อนออกจากบ้าน 2.สำรองหน้ากากป้องกันฝุ่น เช่น หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95 3.ดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ 4.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่

5.ทำความสะอาดบ้าน และอุปกรณ์ภายในบ้าน 6.หมั่นตรวจเช็กบ้านปิดช่องหรือรู ตามขอบประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 จากภายนอกไม่ให้เข้ามาในอาคารในช่วงฝุ่นสูง 7.วันที่ฝุ่น PM2.5  เกินค่ามาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ให้เปลี่ยนมาออกกำลังกายภายในอาคารแทน 8.สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรสำรองยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 9.สังเกตตนเองและบุคคลในครอบครัว หากพบอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ และ 10.ช่วยกันลดฝุ่น PM2.5 เช่น ลดการปิ้งย่างที่ใช้เตาถ่าน งดจุดธูปเทียนทั้งภายในและภายนอกอาคาร งดการเผาในที่โล่ง ลดการใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ รวมถึงร่วมปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยดักฝุ่นละออง

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส