"อ.อ๊อด" เตือน! บัตรพลังงานมีกัมมันตภาพรังสี ธาตุทำอันตราย เสี่ยงมะเร็ง ส่งสถาบันนิวเคลียร์ตรวจ

14 มิ.ย. 62
จากกรณีที่มีชาวบ้านซื้อบัตรพลังงาน เพื่อรักษาโรค อ้างว่ามีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และอื่น ๆ โดยการใช้บัตรแตะบริเวณที่ปวด หรือนำแก้วน้ำไปวางบนบัตร หรือนำบัตรจุ่มน้ำคนไปมา แล้วนำมาดื่ม ซึ่งอ้างว่าสามารถช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ โดยพบว่าขายในราคาใบละ 1,100-1,500 บาท ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่า บัตรสามารถรักษาโรคได้จริงหรือไม่
บัตรพลังงาน
วันที่ 14 มิ.ย. 62 รองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงค์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า หลังจากได้ทำการนำเครื่องตรวจกระแสไฟฟ้ามาทำการตรวจวัดบัตรพลังงาน พบว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด จึงตัดสินใจใช้กรรไกรตัดบัตรดังกล่าว ก็พบว่ามีผงสีขาวอยู่บริเวณตรงกลาง คาดว่าน่าจะเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของสารที่ให้พลังงานด้วยตัวเอง ตรงกับข้อมูลของบริษัทที่จัดจำหน่ายที่มีใบระบุผลการตรวจจากสำนักงานกัมมันตภาพรังสีของประเทศมาเลเซีย และยังตรงกับผลตรวจของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติอีกด้วย
รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ม.เกษตรศาสตร์
นอกจากสารกัมมันตภาพรังสีที่ตรวจพบแล้ว ยังมีธาตุยูเรเนียม และธาตุเหล็กหนักอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ในบัตรดังกล่าว ซึ่งหากคนที่พกบัตรพลังงาน อาจจะส่งผลทำให้กัมมันตภาพรังสีเข้าไปทำลายโปรตีนที่อยู่ภายในร่างกาย และอาจเป็นสารที่ทำให้ก่อมะเร็งได้
สารสีขาวในบัตรพลังงาน
อย่างไรก็ตาม จะทำการร่างหนังสือส่งไปยังสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ให้ทำการตรวจสอบเอกสารดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งหากพบว่ามีสารกัมมันตภาพรังสีจริง ต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องเร่งเข้ามาดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ล่าสุด ได้มอบบัตรพลังงานเจ้าปัญหาพร้อมกับเอกสารโฆษณาที่เกี่ยวข้องให้กับ​ คุณนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ กรรมการบอร์ดยุทธศาสตร์ ของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ​ ท่านให้ความอนุเคราะห์มารับถึงตึกอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อนำไปส่งมอบให้กับฝ่ายบริการทดสอบว่าบัตรนี้มีสารกัมมันตภาพรังสีจริงหรือไม่ เป็นบัตรเก่าเมื่อปี 59 หรือว่าเป็นบัตรที่นำเข้ามาใหม่เมื่อปี 62 ผลการทดสอบต่าง ๆ ทางสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติจะเป็นผู้แถลง

ขอบคุณเฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ