งงทั้งบาง! เทศบาลถอนฟ้องเงินหาย 58 ล้านโยนแบงก์รับผิดตะลึงบัญชีไหลกลางดึก (คลิป)

24 พ.ย. 65

กรณีนายอาทิตย์ คูณผลอายุ 66 ปี รองนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ได้รับมอบอำนาจจาก นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ให้มาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ซึ่งได้โอนเงินจากบัญชีธนาคาร รวมจำนวน 2,029 ครั้ง มียอดการโอนตั้งแต่หลักพันบาทไปจนถึงหลักแสนบาท ตั้งแต่วันที่ 1-14 พ.ย. 65 รวมเป็นเงิน 39,042,839 บาท

208081946652

และระหว่างวันที่ 13-30 พ.ย. 65 เงินถูกโอนไปจากทั้ง 2 บัญชีแล้วโอนเข้าไประบบช็อปปี้ จำนวน 2,000 ครั้ รวมเป็นเงิน 19,515,131 บาท รวมเป็นเงินถูกโอนไปทั้งหมด 58,557,970 บาท สงสัยว่าน่าจะมีการโจรกรรมข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อลักลอบทำธุระกรรมดังกล่าว ทางเทศบาลฯจึงมีความประสงค์ดำเนินคดีถึงที่สุดกับผู้กระทำความผิด

196005

วันที่ 24 พ.ย. 65 เวลา 09.00 น. นายอาทิตย์ คูณผล รองนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี เปิดเผยความคืบหน้าของคดีว่า ตามที่ได้มอบหมายให้ นายสุรศักดิ์ สุระวงศ์ นิติกรชำนาญพิเศษ และนายเรืองวิทย์ โหตระไวศยะ นิติกรปฏิบัติการ มาแจ้งความเมื่อวันที่ 15-17 พ.ย. 65 เนื่องจากข้อความที่แจ้งความไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้มอบอำนาจ จึงขอยกเลิกการแจ้งความทั้งหมด

นายอาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าตอนนั้นข้อมูลทางเรายังตรวจสอบไม่ชัดเจนเราก็รีบไปแจ้งความ เพราะว่าเงินเราที่ฝากไว้ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนชยางกรูหาย แต่เมื่อมาตรวจสอบแล้วทางเราก็รีบไปแจ้งความ แต่เมื่อมาตรวจพบความผิดปกติอยู่ 2 ประเด็น ได้แก่

ประเด็นที่ 1 หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการฝากเงินกับระบบ KTB ออนไลน์ เมื่อเงินถูกโอนออกจากบัญชีกรณีที่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจแล้วระบบมันจะแจ้งเตือนขึ้นมายังมือถือหรือว่าเครื่องของเจ้าหน้าที่ที่โอนส่วนประเด็นที่

ประเด็นที่ 2 ในการโอนที่ถูกต้องมันจะไม่มีค่าธรรมเนียมแต่ข้อสังเกตที่เราพบเงินที่หายไปทั้งหมดไม่มีการแจ้งเตือนแต่ปรากฏว่ามีค่าทำเนียมทุกรายการรายการละ 10 บาท ซึ่งธนาคารต้องรับผิดชอบ เราจึงไปดำเนินการแจ้งความกับธนาคารกรุงไทย สาขาถนนชยางกรู ณะนี้ทางเทศบาลนครอุบลฯได้ยกเลิกเรื่องบัญชีเงินทั้งหมดกับธนาคารกรุงไทย เปลี่ยนไปทำทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารออมสิน และจะใช้ระบบเดิม โดยใช้ระบบการเขียนเช็คแบบเดิม แทนระบบการเบิกจ่ายเงินแบบระบบ KTB ออนไลน์

513132

นายแสนรู้ (นามสมมติ) คนที่รู้เรื่องระบบเงินของทางราชการ เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายหรือโอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน KTB ของทางราชการ จะต้องมีผู้ถือรหัสบัญชีอย่างน้อย 2-3 คน เช่น ผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ่ายอย่าง ผอ.คลัง หรือปลัดที่ดูแลการเงินของคลัง และรหัสดังกล่าวก็ต้องเป็นความลับห้ามบอกใคร ส่วนช่องในการนำรหัสไปผูกกับแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ต่าง ๆ เท่าที่รู้มา อาจจะเป็นการผิดพลาดในการให้รหัสกับพนักงานไปสั่งซื้อของ 1 ครั้ง หรือหลายครั้ง แต่ไม่ยอมเปลี่ยนรหัส

อธิบายง่าย ๆ ยกตัวอย่าง คนที่ใช้มือถือเอารหัสของธนาคารตัวเองไปผูกซื้อของอะไรสักอย่างเอาไว้ในการสั่งซื้อออนไลน์ แล้วไม่อยากเปลี่ยนรหัส เพื่อง่ายต่อการสั่งซื้อรอบต่อไป โดยการแค่กดปลายนิ้วเลือกสินค้า และเงินจะถูกดูดออกไปเองตามระบบและราคาที่ซื้อสิ่งของเหล่านั้น ซึ่งการดูดเงินออกไปจากระบบเทศบาลฯก็เป็นแบบเดียวกัน โดยมีการสั่งซื้อจากคนๆหนึ่งหรือหลายๆคนที่สามารถกดสั่งซื้อของได้

171422

จากนั้น เมื่อมีการกดสั่งซื้อของทั้งหมดไป เงินที่ออกจาก KTB จะต้องเข้าไปสู่บัญชีของแอปช็อปปิ้ง พอเงินเข้าสู่ระบบเรียบร้อย ก็จะเป็นการโอนเงินไปยังร้านต่าง ๆ ที่ผูกกับระบบแอปช็อปปิ้งไว้ คือหากเราจะเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ทำง่าย ๆ ก็คือ ตั้งหน้าร้านขึ้นมาหลอก โชว์สิ่งของที่มีการขายเป็นร้านเอาไว้ พอได้รับคำสั่งซื้อสิ่งของเข้ามา ก็รับแต่เงินแต่ไม่จำเป็นต้องส่งของดังกล่าวไปให้ปลายทางที่สั่งซื้อ ทำให้คนที่ตั้งใจที่ทุจริตเงินหรือต้องการฟอกเงิน สามารถทำวิธีดังกล่าวได้

151254999480548647106409749688

อย่างไรก็ตาม การเปิดร้านหลอกดังกล่าวต้องมีเลขที่บัญชี และที่มาที่ไปของเงินต้นทางจนไปสู่ปลายทาง ซึ่งหากเทศบาลฯใช้วิธีนี้โดยการทุจริต ตำรวจก็ต้องสามารถตามเส้นทางการเงินได้ว่า เงินออกมาจากไหนและโอนไปให้ใคร ยิ่งไปกว่านั้นการสั่งซื้อดังกล่าว ตำรวจไซเบอร์ ก็สามารถเช็คที่ IP ของคนสั่งซื้อได้ว่าสั่งซื้อที่ไหนและสั่งซื้อจากโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ

ส่วนสเตตเมนต์ของทางเทศบาลฯที่ทีมข่าวไปได้หลักฐานมาในวันนี้ ที่เห็นตามข้อมูลว่ามีการสั่งซื้อของเป็นรายนาที และมีการสั่งซื้อในช่วงเวลากลางคืน ก็เป็นเพราะว่าคนที่ตั้งใจทุจริตในเรื่องนี้ อาศัยช่วงที่เป็นเวลาว่างหลังเลิกงาน โดยการเริ่มกดสั่งซื้อของตั้งแต่ 21.00-07.00 น. ส่วนยอดเงินที่อยู่ด้านหลัง เป็นยอดเงินคงเหลือจากการสั่งซื้อของแต่ละครั้ง ซึ่งจากการตรวจสอบเงินของเทศบาลฯก่อนถูกย้ายเงินออกไป มีเงินในบัญชีกว่า 300 ล้านบาท ทำให้ตนเองมองว่าหากเรื่องนี้เป็นการทุจริตเป็นกระบวนการ เป็นไปได้หรือไม่ที่คน ๆ หนึ่งที่มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงิน เอาเงินออกไปหมุนทำอะไร แล้วตั้งใจว่าจะนำเงินมาคืน แต่เรื่องมันแดงเสียก่อน จึงไม่มีการโอนเงินกลับคืนสู่บัญชีที่ย้ายเงินออกไป

 

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ทุบโต๊ะข่าว เป็นกระแส