เปิดรายชื่อเอกชนร่วมลงขันถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก จ่อขอคลังงดเก็บภาษี

18 พ.ย. 65

กางรายชื่อเอกชนร่วมลงขัน 700 ล้านหนุนถ่ายทอดสดบอลโลก จ่อขอคลังลดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ชี้เป็นการสนับสนุนคนไทยให้สนใจกีฬา

วันที่ 18 ..  ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (บอร์ดกองทุน)กรณี การซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 20 ..-18 .. นี้ ระบุว่า

ในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ครั้งนี้คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เงินที่ต้องจ่ายให้ทางฟีฟ่านั้น เป็นวงเงิน 1200 ล้านบาท ซึ่งทาง ฟีฟ่า ให้แบ่งจ่ายเป็น 2 งวด คืองวดแรก ก่อนการแข่งขันนัดแรกจะเริ่มขึ้น ในวันที่ 20 ..วงเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งจะใช้งบที่ได้จาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จ่ายไปก่อน ขณะที่ งวดที่ 2 จะต้องจ่ายก่อนวันที่ 25 ..อีก 600 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเงินจากภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมสนับสนุน

นอกจากนี้ ในที่ประชุมบอร์ดกองทุนฯ ได้มีการหารือข้อกฎหมาย ว่าหากภาคเอกชนไม่สามารถจ่ายเงินได้ทันเวลา ก็จะมีการดูทางเลือกอื่นๆ เช่น อาจจะมีการนำเงินจากภาครัฐส่วนอื่นๆ นำออกมาจ่ายก่อน แล้วเมื่อภาคเอกชนจ่ายมาครบก็จะนำไปคืน ซึ่งดูข้อกฎหมายแล้วสามารถทำได้ ไม่มีปัญหา มั่นใจว่าสามารถจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ฟีฟ่าได้ครบทันเวลาอย่างแน่นอน

ด้าน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ในส่วนการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) จะมีการเซ็นสัญญากับฟีฟ่าในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 โดยจะมีการโอนเงินค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้ก่อน 50% และอีก 50% จะโอนให้ในวันที่ 25 ..

ก่อนหน้านี้ด้าน พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ประสานงานกับภาคเอกชน จนได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ภาคเอกชน รวมเป็นจำนวนกว่า 700 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยสปอนเซอร์หลักรายใหญ่ จะมี 3 ราย ได้แก่

  • บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทลูก 300 ล้านบาท 
  • บริษัท ปตท.น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ 150 ล้านบาท 
  • บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  100 ล้านบาท ซึ่ง 3 กลุ่มนี้ สนับสนุนงบให้รวมกันอยู่ที่ 550 ล้านบาท

 ส่วนที่เหลือเป็นเอกชนรายย่อย ที่สนับสนุนเงินให้อยู่ที่บริษัทละ 30-50 ล้านบาท

ดังนั้นหากรวมเงินสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. อีก 600 ล้านบาท ก็จะมีเงินอยู่ในมือแล้วทั้งหมด 1,300 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอกับการจ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด โดยไม่ต้องใช้งบจากกองทุนกีฬาแต่อย่างใด

สำหรับค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 การเจรจาจบอยู่ที่ 33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ1,200 ล้านบาท แต่หากต้องจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ 15% ก็จะอยู่ที่ราว 1,400 ล้านบาท

นอกจากนี้ มีรายงานว่าจะมีการทำเรื่องไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ช่วยยกเว้นการจัดเก็บภาษีดังกล่าวเนื่องจากเป็นเรื่องของรัฐต่อรัฐ ไม่ได้ค้ากำไร แต่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสนใจกีฬา

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม