คนถูกทิ้งติดโควิดเจอความจริงเตียงเต็มแล้ว “เส้นด้าย” จี้รัฐรับมือ ก่อนสายเกินแก้ (คลิป)

21 ก.พ. 65

เมื่อวันที่ 20 ก.พ.65 เวลา 12.30 น. ศบค.รายงานสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศไทย พบติดเชื้อโควิดเพิ่มอีก 13,962 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 18,466 ราย จากการค้นหาเชิงรุก 186 ราย เรือนจำหรือที่ต้องขัง 118 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 183 ราย

424420

สำหรับผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม 65 จำนวน 488,880 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 2,712,315 ราย หายป่วยเพิ่ม 13,962 ราย รวมหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 2,527,231 ราย รักษาอยู่รวม 162,460 ราย อาการหนัก 747 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 189 ราย เสียชีวิต 30 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 22,624 คน ฉีดวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 121,583,665 โดส

995404

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 ก.พ.65 ขอให้จับตาการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์ของ ศบค.ชุดใหญ่ โดยยืนยันได้ว่าไม่มีทิศทางที่จะประกาศล็อกดาวน์ และไม่มีการยกเลิกมาตรการเข้าประเทศแบบ Test&Go เนื่องจากในกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศ พบอัตราการติดเชื้อไม่เกิน 3% ยังอยู่ในขีดความสามารถรองรับของระบบบสาธารณสุข

ทั้งนี้ เมื่อไม่มาตรการล็อกดาวน์ และยังคงนโยบายเปิดประเทศ อาจต้องมีมาตรการที่เข้มงวด ส่วนจะเป็นอย่างไรขอให้ติดตามจากผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ นอกจากนี้ ยังต้องความร่วมมือนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่ออกให้ความเห็น ขอให้ระบุด้วยว่าเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว

243822654210

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความจำเป็นจะต้องยกระดับเตือนภัยโควิด-19 จากระดับ 3 เป็นระดับ 4 สำหรับมาตรการควบคุมหลังยกระดับเตือนภัยระดับ 4 ทั่วประเทศ มีดังต่อไปนี้ 

-ปิดสถานที่เสี่ยง

-ทำงานจากที่บ้าน 50 – 80%

-งดไปรับประทานร่วมกัน งดดื่มสุราในร้าน

-งดเข้าสถานที่เสี่ยงทุกประเภท

-เลี่ยงเข้าใกล้ผู้อื่นนอกบ้าน

-คัดกรองก่อนเดินทาง ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่

-ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ

ส่วนกรณีแฟนเพจเฟซบุ๊ก "เส้นด้าย ได้ที่ไม่ใช่เส้น" โพสต์เรื่องราวสุดสะเทือนใจ เนื่องจากมีชายคนหนึ่งนอนโทรมอยู่บริเวณหน้าธนาคาร ย่านมไหสวรรค์ กรุงเทพฯ พร้อมระบุข้อความว่า "ในวันที่ฮอสพิเทล​หลายที่เริ่มปิดรับคนไข้ โรงพยาบาล​หลาย​แห่ง​เตียง​เริ่ม​เต็ม คนไข้หลายคนยังรอคอยยาอยู่​ที่บ้าน...ภาพเดิม ๆ เริ่มกลับมา

531725

โดยวันนี้ที่เราเจอ รปภ.ท่านหนึ่ง​ต้องมานอนบริเวณ​หน้าธนาคาร ​เพราะที่ห้องเช่า มีเมียและลูก เพื่อนบ้านอีกหลายชีวิต​ต้องใช้ห้องน้ำรวม หลังจากพยายาม​ติดต่อเข้ารับการรักษา​รพ.ประกันสังคม ​และเบอร์​ต่าง ๆ ไม่สำเร็จ ​เนื่องจาก​ติดวันหยุด​ จึงตัดสินใจ​เก็บข้าวของเสื้อผ้า​มานอนรอการรักษา​ เบื้องต้น​อาสาเส้นด้าย​นำส่ง ศูนย์​พักคอยเราต้องรอด คันนายาว ​เรียบร้อย​แล้ว"

ล่าสุดเวลา 15.30 น. ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี เดินทางไปที่ธนาคารดังกล่าว พบว่าอยู่ย่านบุคคโล แต่ธนาคารปิด แต่จากการสอบถามชาวบ้านบอกว่าวันนี้ธนาคารเปิดทำการปกติ แต่ปิดในเวลา 15.00 น. ซึ่งในย่านนี้เป็นย่านพาณิชย์ มีแค่ห้างร้านต่าง ๆ ธนาคาร และคลินิก จะไม่ใช่แหล่งชุมชน

327030

ทีมข่าวได้ติดต่อไปทางโทรศัพท์เพื่อพูดคุยกับนายภัท (นามสมมติ) อายุ 49 ปี รปภ.ผู้ติดเชื้อโควิด-19 กล่าวว่า จริง ๆ แล้วตนเพิ่งจะหายป่วยโควิด19 มาได้แค่ 2 เดือนเท่านั้น จึงพอจะรู้ระบบและขั้นตอนการส่งตัวผู้ป่วย แต่รอบนี้น้องที่ทำงานติดโควิดก่อน ตรวจผลพบเชื้อในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 65 ส่วนตนตรวจเช่นกันแต่วันนั้นยังไม่พบ

441775

จากนั้นวันที่ 20 ก.พ.65 ตนตรวจอีกครั้งก็พบว่าติดเชื้อโควิด-19 จึงรีบเดินทางไปโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม แต่ลืมนำเอาบัตรประชาชนไป จากนั้นก็พยายามขอให้เจ้าหน้าที่สวอป แต่เขาก็ไม่ยอม ตนจึงกลับออกมาข้างนอก และไม่กล้าเข้าบ้าน เนื่องจากที่บ้านเป็นบ้านเช่า และอยู่กันหลายครบครัว ที่สำคัญใช้ห้องน้ำรวม ทำให้ตนตัดสินใจว่าจะรอข้างนอกก่อน และน้องที่ทำงานก็ช่วยโทรศัพท์ติดต่อหาหน่วยงานให้ ตนจึงเผลอหลับข้างธนาคาร ก่อนที่จะมีกลุ่มเส้นด้ายมาช่วย ตนก็รู้สึกดีใจมาก ๆ

"ตอนนี้แค่ไอ และเจ็บคอ ได้ยารักษาตามอาการ ส่วนอื่นปกติดี กำลังใจยังดีมากครับ ผมจึงอยากให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ดี และให้มากขึ้น เพราะตอนนี้คนติดโควิดกันเยอะมากครับ" รปภ.ผู้ติดเชื้อโควิด-19 กล่าว

147007

นางสาวหรรษา ใจชื่น อายุ 30 ปี อาสาภาคสนามเส้นด้าย ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดช่วยเหลือรปภ.คนดังกล่าว เปิดเผยว่า ตนได้รับแจ้งจากกู้ภัยเวลา 20.00 น. พบชายติดโควิด-19 นอนอยู่บริเวณหน้าธนาคารแห่งหนึ่ง พร้อมมีข้าวขงและขนเสื้อผ้าออกมาด้วย กลุ่มเส้นด้ายรีบช่วยเหลือทันที เมื่อไปถึงเวลาประมาณ 22.00 น. ก็พบว่ารปภ.คนดังกล่าวหลับอยู่ จากการพูดคุยก็ยังเป็นผู้ป่วยอาการสีเขียว ซึ่งกลุ่มเส้นด้ายไม่อาจปล่อยไว้ได้ แม้เป็นคนไข้สีเขียว 

962800

ทั้งนี้ เคสแบบนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่กลุ่มเส้นด้ายช่วยเหลือ และเป็นเคสธรรมดามาก ๆ เพราะก่อนหน้านี้เคยเจอ 2 เคสในวันเดียวกัน พบทั้งเด็กติดเชื้อปอดเรื้อรัง และผู้ใหญ่มีอาการหนัก อาเจียนเป็นเลือด และแน่นอนว่าสถานการณ์วันนี้อาจจะกำลังวนกลับไปสู่รูปแบบเดิมหรือไม่ เพราะปัญหาหลัง ๆ คือคนไทยไม่มีข้อมูล ประเทศไทยเจอโควิดมา 2 ปี รัฐบาลยังไม่มีข้อมูลให้ประชาชนชัดเจน คนไข้ไม่รู้ว่าป่วยกลุ่ม “HI” หรือ Home Isolation คืออะไร บางคนวิตกจะไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเดียว

นางสาวหรรษา กล่าวทิ้งท้ายว่า "สิ่งเดียวคืออยากให้รัฐบาลแก้ระบบ อย่างน้อยผู้ป่วยอยู่บ้านต้องมีข้าวสาร อาหารแห้งให้เขา 7 วัน มียาและมีคนให้ข้อมูล อย่างน้อยช่วยผู้ป่วยสีเขียวช่วยลดเตียง เพราะเตียงสำคัญกับ 3 กลุ่มมาก ๆ คือ ผู้สูงอายุ เด็ก และ 7 โรคเสี่ยง ควรมีสำรองให้คนเหล่านี้ ตอนนี้ทุกอย่างลงมาที่เส้นด้ายหมด และรัฐบาลผ่านกี่ซีซั่นแล้วก็ยังเอาไม่อยู่"

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ทุบโต๊ะข่าว เป็นกระแส