www.sso.go.th ประกันสังคม เช็กสิทธิประกันสังคม มาตรา 33 39 40

4 พ.ย. 64

www.sso.go.th ประกันสังคม เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ได้รับความคุ้มครองและสิทธิอะไรบ้าง

 

รวมสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

1. เช็คสิทธิประกันสังคม กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่ผู้ประกันตนตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ทางโรงพยาบาล ไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า และผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามสิทธิฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ตรวจโควิดใช้สิทธิประกันสังคม

นอกจากนั้น ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโควิด ยังสามารถรับบริการตรวจโควิดฟรี ดังนี้

  • ผู้สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ได้แก่ มีไข้ อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป, ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส, หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
  • มีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการป่วย, ไปในสถานที่ชุมชนที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 หรืออยู่ประเทศหรือพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค
  • แพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นติดเชื้อโควิด-19 ตามดุลพินิจของแพทย์

 

โรคและบริการที่ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์

  1. โรคจากการใช้สารเสพเสพติด

  2. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง 

  3. ศัลยกรรมเพื่อความสวยงาม

  4. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

  5. การรักษาภาวะมีบุตรยาก

  6. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ 

  7. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น

  8. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ

  9. การเปลี่ยนเพศ

  10. การผสมเทียม

  11. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น

  12. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด 

  13. การตัดแว่นตา

 

2. เช็คสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

  • ต้องจ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 

  • จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง 

  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง 

 

เอกสารยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) 

  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ

 

3. เช็คสิทธิประกันสังคม กรณีทุพพลภาพ

กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ซึ่งผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ 

ประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ

  • กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต
  • กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯกำหนด

ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทุพพลภาพ

  • กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ 
  • ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
  • ประเภทผู้ป่วยใน    จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs)
  • กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน
  • ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
  • ประเภทผู้ป่วยใน    จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
  • ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
  • ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ
  • ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพและเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ประกาศฯกำหนด


  
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ

  1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคม
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐาน นัดตรวจร่างกายผู้ประกันตนเพื่อประเมินการสูญเสียโดยแพทย์
  3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ประกันตนที่ยื่นคำขอฯ
  4. พิจารณาสั่งจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพรุนแรงเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
  5. กรณีผู้ทุพพลภาพมีความจำเป็นที่จะขอรับเป็นเงินสดหรือ ธนาณัติให้แจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม

 

4. เช็คสิทธิประกันสังคม กรณีเสียชีวิต

กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย    

  • ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ        
  • เงินสงเคราะห์กรณีตาย 

กรณีขอรับค่าทำศพ

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)     
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง     
  • หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ     
  • สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง     
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)

 

5. เช็คสิทธิประกันสังคม สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
  2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  4. อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

 

6. เช็คสิทธิประกันสังคม กรณีชราภาพ

    -  จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

    -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ 

    -  จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน

    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

    -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

 

 ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ

    -  กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง

    -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

 

6. เช็คสิทธิประกันสังคม กรณีว่างงาน

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  2. มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
  4. ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  6. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี มีดังนี้
    1. ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
    2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
    3. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
    4. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
    5. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
    6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
    7.  ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
 

สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 

  • กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทตัวอย่างเช่น  ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
  • ในกรณียื่นคำขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือ สิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน  
 

เช็คสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)

คุณสมบัติของผู้สมัคร     

  1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน     
  2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

       

การยื่นใบสมัคร     

  1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน     
  2. สถานที่ยื่นใบสมัคร ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา 

      

หลักฐานการสมัครมาตรา 39      

  1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)     
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา 

 

เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาทต่อเดือน

         เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

 

วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39

  1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)
  

เช็คสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนนอกระบบ(ม.40)

วิธีรับเงินประโยชน์ทดแทน

1. ณ สำนักงานประกันสังคม

2. ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

3. โอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร

 

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

 

 

อ้างอิง:

sso.go.th

 

 

 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม