“ตักบาตรดอกไม้” หรือ “ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” นับเป็นประเพณีอันเก่าแก่ ที่ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ยิ่งเพราะหนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง บุญกุศลอันยิ่งใหญ่กับการถวาย “ดอกเข้าพรรษา” แด่พระภิกษุสงฆ์
ทำไมต้องตักบาตรด้วยดอกไม้ ?
ประเพณีนี้ตามเจตนาเดิมของชาวบ้านคือ ต้องการให้พระที่กำลังเดินขึ้นไปที่พระอุโบสถเพื่ออธิษฐานเข้าพรรษาได้มีดอกไม้บูชาพระ ชาวบ้านเองก็พลอยได้บุญจากการได้ถวายดอกไม้แด่ภิกษุ-สามเณร ไปด้วย
ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิธีการใหญ่ มีประชาชนจากท้องถิ่นอื่นมาร่วมงาน ขบวนรถแต่ละอำเภอตกแต่งสวยงาม บางครั้งก็มีการโฆษณากิจกรรมของท้องถิ่นตนไปด้วย เป็นงานที่รวมคน รวมความคิด รวมฝีมือ และรวมศรัทธา
ดอกไม้ที่ใช้ตักบาตร : ต้องเป็น “ดอกเข้าพรรษา” เท่านั้น
การนำดอกไม้ถวายพระหรือบูชาพระจะทำเมื่อใดก็ได้ แต่ที่ชาวพระพุทธบาทปฏิบัติกันเป็นพิเศษในวันเข้าพรรษา คือ เมื่อถึงฤดูฝนจะมีดอกไม้ชนิดหนึ่งขึ้นตามเชิงเขา ดอกชนิดนี้มีลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือต้นขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ บางต้นก็มีดอกสีเหลือง บางต้นก็มีดอกสีขาว บางต้นก็มีดอกสีม่วง ดอกชนิดนี้จะขึ้นเฉพาะหน้าฝนเข้าพรรษาเท่านั้น ชาวบ้านจะเก็บดอกชนิดนี้มาถวายพระ และเรียกดอกนี้ว่า “ดอกเข้าพรรษา”
ตักบาตรดอกเข้าพรรษา จัดที่ไหน ?
จังหวัดสระบุรี ร่วมกับ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนจังหวัดสระบุรี กำหนดจัดงานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทานจังหวัดสระบุรี ประจำปี พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2568 มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของจังหวัดสระบุรี ส่งเสริมการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระบุรีให้เพิ่มมากขึ้น
กิจกรรม “ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” 9 ก.ค. - 11 ก.ค. 2568
สถานที่จัดงาน : บริเวณบันไดนาค วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
กำหนดการ : วันที่ 9 กรกฎาคม 2568
กำหนดการ : วันที่ 10-11 กรกฎาคม 2568
ขอบคุณภาพจาก : ThailandFestival
ข้อมูลจาก : ThailandFestival , opsmoac
Advertisement