อนุทิน -ศักดิ์สยาม ส่งผู้ป่วยโควิด 135 คนกลับภูมิลำเนา ยันรถไฟระบบปิดปลอดภัยตลอดเส้นทาง

27 ก.ค. 64

อนุทิน ศักดิ์สยาม”ตรวจความพร้อมรถไฟขบวนพิเศษเที่ยวแรก ส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 135 คน กลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา 7 จังหวัดภาคอีสาน ยันปลอดภัย ปลอดเชื้อ รถไฟใหม่ระบบปิดทั้งหมด ปลายทางเตรียมพร้อมรถส่งต่อไม่ปะปนประชาชนทั่วไป.

ช่วงเช้าวันนี้ (27 ก.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่บริเวณ สถานีรถไฟรังสิต เพื่อตรวจความพร้อมของขบวนรถไฟ ในการจัดส่งผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเขต กทม.และจังหวัดปริมณฑล กลับไปเข้ารับการรักษาในจังหวัดภูมิลำเนาใน 7 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และนครราชสีมา โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัด รถไฟเที่ยวพิเศษ ต้นทางสถานีรถไฟรังสิต-ปลายทางอุบลราชธานี ออกเดินทางจากสถานีรังสิตวันอังคารที่ 27ก.ค. 2564 เวลา 09.00 น. เป็นขบวนแรก

โดยกระทรวงคมนาคม รฟท. ได้ร่วมมือ กับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จัดขบวนรถพิเศษรองรับผู้ติดเชื้อโควิด (มีอาการระดับเขียว และเหลือง) กลับไปเข้ารับการรักษาอาการที่ 7 จังหวัดภูมิลำเนา

ทั้งนี้ ในกระบวนการ จะมีรถรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากที่พัก มายังสถานีรถไฟรังสิต ทำให้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น โดยขบวนรถไฟได้ออกจากสถานีรังสิต ในเวลาประมาณ 12.00 น.ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนด แต่ทั้งนี้ ได้มีการประสานกับแต่ละจังหวัดที่จะต้องรับตัวผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต่อ เพื่อปรับเวลาในการถึงแต่ละจุดให้ตรงกันแล้ว

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรมว.สาธารณสุขกล่าวว่า วันนี้ รถไฟขบวนแรกจะมีการส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา จำนวน 135 คน จัดให้นั่งตู้ละ 36 คน โดยรถไฟเป็นระบบปิด ทั้งหมด โดยส่งผู้ป่วยโควิด-19 ลงตามพื้นที่ตั้งแต่สถานีนครราชสีมา จนถึงปลายทางอุบลราชธานี ซึ่งในแต่ละสถานีจะมีรถพยาบาลแต่ละจังหวัด รับตัวผู้ป่วยโควิดต่อไปยังโรงพยาบาลสนามหรือสถานีที่จัดเตรียมไว้ทันที ไม่ต้องกังวลในเรื่องการแพร่เชื้อใดๆ การจัดส่งเป็นระบบปิดทั้งหมด ไม่มีการปะปนกับประชาชนทั่วไป โดยมีคณะแพทย์ พยาบาลจำนวน 12 คน แบ่งเป็น 2 ทีม อยู่บนขบวนรถดูแลตลอดการส่งตัวผู้ป่วย

“ขอให้ประชาชนในจังหวัดที่รถไฟผ่านไม่ต้องกังวล เพราะผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่บนขบวนรถไฟจะไม่สามารถออกนอกรถ หรือแวะลงไปซื้อข้าวผัด. ซื้อน้ำได้เหมือนปกติ ไม่ได้เลย ทุกอย่างอยู่ในระบบปิด มีเจ้าหน้าที่ดูแล มีรายชื่อผู้ป่วยโควิด ที่โดยสารมาทั้งหมด ซึ่งกระทรวงคมนาคมพร้อมให้การรสนับสนุนในการส่งผู้ป่วยโควิด-19กลับภูมิลำเนา ในทุกรูปแบบของระบบขนส่ง”

สำหรับโรงพยาบาลที่อยู่ปลายทาง ได้มีการเตรียมพร้อมจัดสถานที่รองรับผู้ป่วยโควิดจากกทม.ที่จะกลับไปรักษาตัว ซึ่งอย่าเหมารวมว่า สถานการณ์ต่างจังหวัดตึงทั้งหมดเราพยายามใช้เครือข่ายที่มีทั้งหมด เพราะเราจะไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย ต้องทำสุดความสามารถให้ผู้ป่วยเข้าถึงแพทย์เพื่อรับการรักษาทุกคน

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่าจะยุติการฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อนั้น นายอนุทินกล่าวว่า วันนี้ (27 ก.ค.) เวลา14.00 น. นายกรัฐมนตรีเรียกประชุม ศบค. รวมทั้งตนและรมว.คมนาคม ไม่อยากให้กังวล ซึ่ง ที่สถานีกลางบางซื่อฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1 ล้านคน เป็นการดำเนินการที่ดี ไม่มีเหตุผลที่จะยุบ กระทรวงสาธารณสุขพร้อมทุกอย่างด้วยความดปร่งใส จัดซื้อวัคซีน เวชภัณฑ์ ยาในสถานการณ์โควิด สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด สัญญาซื้อวัคซีน หากกฎหมายให้เปิดเผยได้ อธิบดีกรมควบคุมโรคก็สามารถเปิดเผยได้ อยู่ที่กฎหมายให้ทำได้หรือไม่ ทำได้แค่ไหน ซึ่งเรื่องทางการแพทย์เป็นเรื่องที่ต้องปกปิด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ก็ให้ดูตามกฎหมาย
สำหรับผมในฐานะรมว.สาธารณสุข อะไรที่เป็นไปตามกฎหมายทำได้หมด ยิ่งเปิดให้รู้มากก็ยิ่ง ทำให้ตัวเองมีความโปร่งใสมากขึ้น ไม่มีปัญหาอะไร

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนนาคม กล่าวว่า เป็นการดำเนินการตามนโยบายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในการประชุมครม.ให้รมต.ที่มีความสามารถในการช่วยส่งประชาชน ที่ติดเชื้อโควด-19 ในระดับ สีเหลือง สีเขียว สามารถกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนาได้ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วกับกระทรวงสาธารณสุข บูรณาการ กับจังหวัดปลายทาง เพื่อส่งผู้ป่วยที่ลงทะเบียนคัดกรองกับสปสช. และสพฉ. โดยวางแผนในการจัดส่ง เป็นระบบปิด สามารถควบคุมได้เป็นอย่างดี

สำหรับ สถานีรังสิตซึ่งใช้เป็น สถานีต้นทางนั้น เนื่องจาก รถไฟสายสีแดง จะเปิดให้บริการในวันที่ 2 ส.ค.นี้ ดังนั้นปัจจุบันจึงยังไม่มีผู้โดยสาร ทั่วไปเข้ามาที่สถานีรังสิต จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการปะปนกับผู้โดยสารทั่วไป

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท.กล่าวว่ ตามปกติ รถไฟ 1 ตู้ จะมี 70 ที่นั่ง ซึ่งในการ ส่งผู้ติดเชื้อโควิด -19 จะจัดที่นั่งในสัดส่วน 50% ตามมาตรการสาธารณสุข และแยกตู้สำหรับเจ้าหน้าที่ ทีมแพทย์ และผู้เกี่ยวข้อง ออกจากผู้ติดเชื้อโควิด และมีตู้เสบียง มีอาหารบริการอยู่บนขบวนรถ และในขบวนรถจะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย พร้อมทั้งมีแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถนำตัวผู้ป่วยส่งเข้าสู่การรักษาได้อย่างรวดเร็ว

นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงศ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า จะแยก ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ตรวจยืนยัน แบบ RT-PCR (Polymerase chain reaction) เป็นการ Swab และ ตรวจเชื้อจากชุดทดสอบแอนติเจน Antigen Test Kit (ATK) ออกจากกัน เพราะกลุ่มตรวจจาก ATK จะต้องไปตรวจอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับรถไฟขบวนพิเศษที่นำมาส่งผู้ป่วยติดโควด-19 ครั้งนี้ เป็น รถไฟ CNR มีจำนวน 115 ตู้ เป็นรถไฟใหม่ของรฟท. มีระบบปรับอากาศ ห้องน้ำสูญญากาศมีระบบบำบัดเหมือนเครื่องบินปลอดภัยอย่างมาก สามารถจัดบริการเป็นระบบปิด ได้อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม พร้อมจัดรถสำหรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา ทุกวัน หากได้รับการประสานจากกระทรวงสาธารณสุข สปสช. โดยทั้งรฟท. บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้เตรียมพร้อมรถไว้บริการทุกวัน

advertisement

Powered by Positioning

คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด