ABS คือ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค ย่อมาจาก Anti Lock Braking System ซึ่งประโยชน์ของระบบเบรกป้องกันล้อล็อค คือ รักษาเสถียรภาพของทิศทางรถยนต์ในระหว่างการเบรก สามารถควบคุมระบบบังคับเลี้ยวได้เมื่อเบรก ช่วยให้ระยะเบรกเหมาะสมในทุกสภาพถนน
การทำงานของ ABS
ระบบเบรก ABS เป็นระบบป้องกันเบรกล็อค จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการเหยียบเบรกที่มากกว่าปกติ และเมื่อมีการเหยียบเบรกที่มากกว่าปกติ เป็นระบบการจัดการช่วยชะลอความเร็ว รูปแบบการจัดการจะค่อยๆ ลดความเร็วลง และไม่ทำให้ล้อล็อก ระบบการทดแรงของเบรกจะทำงานในรูปแบบ “จับ-ปล่อย” เป็นจังหวะ มาตรฐานระยะการจับและปล่อยจะอยู่ที่ 16-50 ครั้งต่อวินาที
ประโยชน์ของ ABS
ระบบเบรกป้องกันล้อล็อคใช้อิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมแรงเบรก ที่ส่งไปยังล้อในการควบคุมทิศทางของรถ รักษาเสถียรภาพของทิศทางรถยนต์ได้โดยลดแรงเบรกในล้อใดก็ตามที่กำลังจะล็อก ทั้งนี้เพื่อป้องกันรถยนต์ลื่นไถลในแกนแนวตั้ง เพื่อยังสามารถควบคุมและบังคับเลี้ยวได้
ข้อดี-ข้อเสียของ ABS
ข้อดีคือ ช่วยป้องกันล้อล็อก หรือล้อตายเวลาเบรกฉุกเฉิน หรือเบรกกระทันหัน ให้ผู้ขับขี่รถควบคุมทิศทางของรถได้เวลาเบรกกระทันหัน สามารถควบคุมพวงมาลัยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้ และยืดอายุการใช้งานของดอกยาง ไม่ให้ยางรถยนต์สึกไว
ข้อเสีย เบรก ABS มีเสียงดัง หากกดแล้วระบบทำงานจะเกิดเสียงขึ้น และมีการสั่นสะเทือนเข้ามาถึงภายในรถ ระยะทางการเบรกแบบ ABS ให้ระยะทางยาวขึ้น ซึ่งต้องทำให้ผู้ขับขี่เผื่อระยะห่างระหว่างรถคันหน้า ต้องประเมินสถานการณ์ให้ดี และมีข้อเสียคือ เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากกว่าเบรกแบบธรรมดา
วิธีการดูแลรักษา ABS
ดูแลเติมน้ำมันเบรกอยู่เสมอ ตรวจสอบน้ำมันเบรกเป็นประจำ ตรวจสอบการทำงานของเบรกรถยนต์ตามรอบที่กำหนด ปกติแล้วตามคู่มือประจำรถมักจะระบุว่าให้นำรถเข้ารับการตรวจสอบระบบเบรกรถยนต์ทุก 20,000-25,000 กิโลเมตร ตามสภาพการใช้งาน คู่ไปกับการตรวจซ่อมบำรุงเบรกรถยนต์อยู่ตลอดจะเป็นการดีไม่น้อย ดูแลรักษาความสะอาดชุดระบบเบรก และผ้าเบรกรถยนต์อยู่เสมอเช่นเดียวกับการดูแลรถยนต์ในทุกส่วน