โรคสมองน้อยฝ่อ โรคที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการเคลื่อนไหว

2 เม.ย. 67

โรคสมองน้อยฝ่อ หรือ ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ โรคที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการเคลื่อนไหว

โรคสมองน้อยฝ่อ​ (spinocerebellar atrophy) หรือ “ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ” ทําให้สมองสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อไปทีละน้อย จนไม่อาจรักษาสมดุลของร่างกายได้

สาเหตุของโรคสมองน้อยฝ่อ

สาเหตุของโรคสมองน้อยฝ่อยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยมากพบในครอบครัวที่เคยมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวเท่านั้น ถ้าพ่อแม่มีใครมีภาวะโรคสมองฝ่อ ลูกที่เกิดมาก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้เช่นกัน​

อาการของโรคสมองน้อยฝ่อ

หน้าที่ทางสรีรวิทยาของสมองน้อย​ ส่วนใหญ่เพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและประสานงานการเคลื่อนไหว รอยโรคในสมองน้อยทำให้เกิดภาวะ hypotonia ของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้แขนขาอ่อนแอ และประเมินระยะรวมถึงกะระยะทางผิดเพี้ยนไป การควบคุมแรงควบคุมน้ำหนักผิดปกติไป และแขนขาสั่นผิดปกติ

โรคสมองน้อยฝ่อ​ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้สูงวัย จะส่งผลโดยตรงต่อการทรงตัว และจะเป็นไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น เดินเซ มือสั่น การพูดหรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ ไม่มีแรง ขับถ่ายปัสสาวะ-อุจจาระ​ลำบาก ดูแลตัวเองไม่ได้ เป็นต้น

การรักษาโรคสมองน้อยฝ่อ

ขณะนี้ยังไม่มียาอะไรที่จะรักษาให้สมองเสื่อมช้าลง และยังไม่มีวิธีฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยให้กลับเป็นปกติได้ดังเดิม อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบเร็ว ก็อาจช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองออกไปได้

การป้องกันโรคสมองน้อยฝ่อ

แพทย์แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักจะพบว่าขาดในเรื่องของโปรตีน นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวป่วยโรคสมองน้อยฝ่อควรให้กำลังใจผู้ป่วย เพราะจากเดิมที่ดูแลตัวเองได้ กลับไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเองแบบเดิม อาจเกิดการหงุดหงิด น้อยใจ จนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด