หุ้นไทยดิ่งกว่า 10 จุด ห่วงเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ยอดโควิดพุ่งซ้ำ

6 ม.ค. 65

ตลาดหุ้นไทยวันนี้(6 ม.ค.) เปิดการซื้อขายปรับตัวลดลง 14.22 จุด อยู่ที่ระดับ 1,662.57 จุด ปรับลง -14.22 จุด หรือติดลบ 0.85% โดยเป็นการปรับตัวลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นะเอเชีย หลังจากเมื่อคืนนี้ตามเวาลประเทศไทย ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผย รายงานการประชุมรอบวันที่ 14-15 ธ.ค. 2564 ด้ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ก็ไม่ได้เกินความคาดหมายของนักลงทุนบางส่วนที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ เดือนมี.ค. 2565 และยังความเห็นของกรรมการบางส่วนที่มองว่าเฟดสมควรที่จะปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet) ทันทีหลังขึ้นดอกเบี้ยสร้างความกังวลกับภาพรวมการลงทุนในระยะสั้น โดยประเด็นดังกล่าวเป็นปัจจัยลบกดดันให้ตลาดหุ้นดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้น นิวยอร์กวานนี้(5 ม.ค.) ปิดการซื้อขายติดลบ 392.54 จุด ส่วนดัชนี Nasdaq ปรับลดลงดิ่งลงแรงที่สุดในรอบ 11 เดือน

แต่ก็ไม่ได้เกินความคาดหมายของนักลงทุนบางส่วนที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่ เดือนมี.ค. 2565 และยังความเห็นของกรรมการบางส่วนที่มองว่าเฟดสมควรที่จะปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet) ทันทีหลังขึ้นดอกเบี้ยสร้างความกังวลกับภาพรวมการลงทุนในระยะสั้น โดยประเด็นดังกล่าวเป็นปัจจัยลบกดดันให้ตลาดหุ้นดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้น นิวยอร์กวานนี้(5 ม.ค.) ปิดการซื้อขายติดลบ 392.54 จุด ส่วนดัชนี Nasdaq ปรับลดลงดิ่งลงแรงที่สุดในรอบ 11 เดือน

นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยวันนี้(6 ม.ค.) มีย่อตัวหลังเฟดส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ของการการลด งบดุลหลังขึ้นดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน มี.ค.2565 ซึ่งเร็วกว่าคาดการณ์เดิม อย่างไรก็ตามยังคงมุมมองเชิงบวกสำหรับการลงทุนช่วง 4-5 เดือนแรก ทั้งนี้จากความเห็นของกรรมการบางส่วนที่มองว่าเฟดสมควรที่จะปรับลดขนาดงบดุล (Balance sheet) ทันทีหลังขึ้นดอกเบี้ย ก่อให้เกิดความกังวลกับภาพรวมการลงทุนในระยะสั้น เนื่องจากการเข้าสู่นโยบายการเงินตึงตัว จะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเริ่มลดการผ่อนคลาย 2) การขึ้นดอกเบี้ย และ 3) การเริ่มลดขนาดงบดุล ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบลดลง และเป็นลบกับสินทรัพย์เสี่ยง

ดังนั้นความเห็นดังกล่าวซึ่งระบุถึงการเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ของนโยบายการเงินตึงตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เฟดดำเนินการในช่วงปี 2561 และทำให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกปรับลดลง จะทำให้นักลงทุนต้องเพิ่มความระมัดระวัง อีกทั้งให้ติดตามการประชุมของเฟดที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค. นี้

สำหรับการเดินหน้าเข้าสู่นโยบายการเงินตึงตัวเร่งการหมุนกลุ่ม ขณะที่ทิศทางดำเนินนโยบายของเฟดจะส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรเร่งตัวขึ้น ซึ่งในทางการเงินส่งผลให้อัตราคิดลด (discounted rate) ที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบมากต่อหุ้นที่ซื้อขายด้วย Valuation ที่แพง หรือมูลค่าอิงกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ขณะที่กระทบน้อยกว่ากับหุ้นที่ซื้อขายด้วย Valuation ที่ไม่สูงนัก หรือมีปันผลในระดับสูง ช่วยหักล้างความเสี่ยงของอัตราคิดลด ดังนั้นกระแสระวังหุ้นเติบโต (Growth) และเข้าลงทุนหุ้นคุณค่า (Value)จะเริ่มกลับมา ทำให้ระยะสั้นต้องระวังหุ้นแพง อาทิ เทคโนโลยี การแพทย์ ไฟฟ้า รวมถึงหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นธนาคาร พลังงาน และหุ้นที่ผลตอบแทนปันผลสูง

ด้านตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของไทยบ่งชี้ถึงการเริ่มเข้าสู่การระบาดระลอกที่ 5 ศูนย์ข้อมูล Covid-19 รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ 6 ม.ค. 2565 ที่ 5,775 ราย เพิ่มขึ้นจากวานนี้ที่ 3,899 ราย และเร่งตัวขึ้นชัดเจนจากต่ำกว่า 3 พันรายในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา บ่งชี้ถึงการเข้าสู่ระลอก 5 (Wave 5) อย่างชัดเจน ตลาดหุ้นไทยอาจผันผวน โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นที่กังวลเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการเข้มข้นที่อาจกระทบการดำเนินงาน อาทิ กลุ่มห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สปา โรงภาพยนตร์ ขณะที่หุ้นได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจภายนอกหรือส่งออก อาทิ อาหาร เกษตร พลังงาน (ไม่รวมอิเล็กทรอนิกส์) เช่น TFG, TU, CPF, GFPT, TWPC, TVO, BANPU อาจเคลื่อนไหวดีกว่าในระยะสั้น นักลงทุนควรติดตามการเพิ่มของผู้ติดเชื้อที่มีการประเมนฉากทัศน์ (scenario) ของผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 10,000-30,000 ราย ตลาดอาจมีแรงกดดันระยะสั้น แต่คาดจะฟื้นตัวดีเมื่อเห็นจำนวนการระบาดสูงสุดแล้ว ความผันผวนดังกล่าวคาดเปิดโอกาสลงทุนที่ดี

โดยธีมการลงทุนปี 2565 การฟื้นตัวเปลี่ยนจากการผลิต มายังภาคบริการ ซึ่งหนุนการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ เป็นบวกต่อหุ้นธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ สื่อสาร ค้าปลีก บันเทิง โดยมีหุ้นเด่นคือ KBANK, CPN, ADVANC, ONEE, WHA, BANPU, OR

นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ Chief Research Officer บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ประเมินการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron มีความเสี่ยงกระทบเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 1/65 โดยหากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ภายในไตรมาสที่ 1/65 จะมีความเสี่ยงต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยและผลการดำเนินงาน บจ.ปี 2565 ที่ได้คาการณ์ไว้ล่าสุด ประเมิน SET Index ปี 2565 มีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1550-1750 จุด แนะนำ 10 หุ้นเด่น โดยเลือกหุ้นที่เติบโตดีราคาไม่แพงรวมถึงหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจของโลกยุคใหม่ คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2565 โดยตั้งไว้ 3 สมมติฐาน 5 คำทำนาย ประกอบด้วยสมมติฐาน 1) COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นอันเป็นผลมาจากการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง 2) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกฟื้นตัว 60-90% และ 3) ปัญหาคอขวดด้านอุปทานจะเริ่มคลี่คลายลง

ส่วน 5 คำนายหลักได้แก่ 1) กิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกปี 2565 จะกลับมาเป็นปกติมากขึ้น 2) เงินเฟ้อโลกจะลดลงในครึ่งหลังปี 2565 3) นโยบายการเงินโลกจะตึงตัวขึ้นเพื่อกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ยกเว้น จีน ที่ยังคงมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อสร้างสมดุลเศรษฐกิจ 4) สงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และ 5) ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา 5 ปัจจัย ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความผันผวนของตลาดการเงินโลก ความเสี่ยง Global Stagflation ความผันผวนด้านภูมิอากาศโลก และ การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่อาจรุนแรงกว่าสายพันธุ์ Delta

สำหรับ ปี 2565 นั้น ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีโอกาสที่จะกลับเข้าสู่ภาวะก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งหมายถึง อัตราการเติบโตของ GDP ในระดับที่มีเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะชะลอตัวลง อัตราดอกเบี้ยที่เริ่มปรับตัวขึ้น การเพิ่มภาษีขึ้นบ้าง เพื่อสร้างสมดุลให้กับฐานะการเงินของรัฐบาล และสุดท้าย คาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นจะลดลงจากปี 2564

โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (DM) จะชะลอตัว โดย IMF ประเมินว่า GDP จะเติบโต 4.5% ในขณะที่คาดว่าอัตราการขยายตัวของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EM) จะฟื้นตัวในครึ่งปีหลังปี 2565 โดย IMF ประเมินว่า GDP จะเติบโต 5.1% โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการเปิดประเทศได้มากขึ้น หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนมากขึ้นซึ่งจะส่งผลธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัวขึ้น ซึ่งคาดว่าจะช่วยชดเชยกับการลดลงของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยกระตุ้นการบริโภคในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในปี 2563-64 ได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม การระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้การคาดการณ์เศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาด
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจไทย “มองบวกอย่างระมัดระวัง” ปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับมาเติบโต 3.6-4.0% จากที่หดตัวลง -6.1% ในปี 2563 และเติบโต +1.0% ในปี 2564 ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกปี 2565 จะเติบโต 2% GDP จะเติบโต 3.6 – 4.0% และนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 8 ล้านคน ด้านกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะเติบโต 6% YoY ในปี 2565 โดยได้รับแรงหนุนจาก GDP ที่เติบโต 3-4% SCBS ประเมินผลตอบแทนของ SET Index ได้ที่ 5% ภายในสิ้นปี 2565 และ 8% เมื่อรวมเงินปันผล ในกรณีเลวร้ายหากไม่สามารถควบคุมการแพร่ะบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ได้อาจส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลงเหลือ 2.6% (กรณีเลวร้ายที่สุด) ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนมีโอกาสเติบโตใกล้ 0%

สำหรับการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron มีโอกาสกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2565 ให้ลดลงจากระดับที่ IMF เคยคาดการณ์ไว้สำหรับปี 2022 ที่ 4.9% เหลือเพียง 3.6% หากไม่สามารถควบคุมการระบาด ได้ภายในไตรมาสที่ 1/65 ส่วนเศรษฐกิจไทยนั้นอัตราการเติบโตของ GDP ปี 2565 มีความเสี่ยงลดลงจากประมาณการณ์ล่าสุดที่ 3.6% เหลือ 2.5% หากแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต้องเลื่อนระยะเวลาออกไป รวมถึงรัฐบาลกลับมาคุมเข้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ
ประเมินระดับ SET Index ปี 2565 อิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1660 จุด และ คาดว่าจะมีกรอบการเคลื่อนไหวบริเวณ 1550-1750 จุด แนะนำ 10 หุ้นเด่น ที่คาดว่าผลการดำเนินงานปี 2565 จะเติบโตเด่น ได้แก่ KBANK, AMATA, ZEN, LH และ GULF รวมถึงหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจของโลกยุคใหม่ ได้แก่ DELTA, ADVANC, ONEE, SECURE และ XPG


นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมรอบวันที่ 14-15 ธ.ค.2564 ได้ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงการปรับลดขนาดงบดุลบัญชี (Balance Sheet) ทันทีหลังจากเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ถือเป็นประเด็นหลักที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกพักตัว เพราะหมายความว่าสภาพคล่องจะเริ่มลดลง จึงเป็นลบกับหุ้นที่ P/E แพงๆ หรือหุ้นที่มี Valuation สูง เช่น หุ้นเทคโนโลยี ขณะที่บ้านเรา แม้ไม่ได้มีหุ้นเทคโนโลยีโดยตรง แต่อาจมีผลต่อหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรอบแนวรับไว้ที่ 1,665 จุด และแนวต้าน 1,680 จุด

advertisement

Powered by อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ข่าวยอดนิยม