ไลฟ์สไตล์

จะรับมือกับภาวะ Dead Inside อย่างไร? เมื่อใจมันพัง แต่ชีวิตต้องไปต่อ

21 ก.ค. 66
จะรับมือกับภาวะ Dead Inside อย่างไร? เมื่อใจมันพัง แต่ชีวิตต้องไปต่อ

โลกแห่งความกดดัน แต่ทำไมชีวิตเราถึงว่างเปล่า

ในโลกปัจจุบันที่สังคมเรามีแต่ความเครียด และความกดดันรุมเร้าจากสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง อีกทั้งอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย ที่อาจเป็นเหมือนดาบสองคม กระจกที่เรามองสะท้อนตัวเองเปรียบเทียบกับคนอื่น และนำมาตีค่าวัดผลความสำเร็จในชีวิตของเราและทำให้เราขาดความเชื่อมั่นในตัวเองในที่สุด (self-esteem)

สิ่งเหล่านี้ทำให้หลายๆคนอาจกำลังเผชิญกับความรู้สึกว่างเปล่าข้างในใจ ก็แค่ใช้ชีวิตให้จบไปในแต่ละวัน โดยไม่ได้มีเป้าหมายอะไร รู้สึกเฉยๆ ไม่ได้มีอะไรกังวลใจ ไม่ได้ทุกข์ แต่ก็ไม่ได้มีความสุข จากสิ่งที่เคยชอบ เคยทำแล้วสนุก ตื่นเต้นกับการใช้ชีวิต แต่วันนี้สิ่งเหล่านั้นกลับเป็นเรื่องชินชา แพชชั่นที่เคยมีตอนนี้กลับไม่มีแล้ว

หากคุณมีความรู้สึกแบบนี้ ในช่วงสั้นๆก็นับว่าเป็นเรื่องดี แต่หากอาการเหล่านี้อยู่กับคุณนาน ไม่หายไปสักที และดูเหมือนว่าจะแย่ขึ้นเรื่อยๆ นั้นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณอาจกำลังเผชิญกับภาวะ Dead Inside หรือ ภาวะสิ้นยินดี และแม้ดูเหมือนว่าเป็นลักษณะนิสัยของคนที่ไม่ปล่อยวางอะไรง่ายๆ แต่แท้จริงแล้วภาวะสิ้นยินดีนั้นอันตรายมาก เพราะจะทำให้เราหมดไฟไปเรื่อยๆ และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ในอนาคต 

istock-1317882356

คนไทยกับโรคซึมเศร้า

กรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยข้อมูลโรคซึมเศร้าในสังคมไทยปี 65 พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มากถึง1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด โดยมีเพียงผู้ป่วยเพียงแค่ 28 คนเท่านั้นที่เข้ารับการรักษาจาก 100 คน

นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา คนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน ซึ่งจากสถิติแล้วปฎิเสธไม่ได้เลยว่า โรคซึมเศร้ากลายเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของสังคมไทย

แต่โรคซึมเศร้า อาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการเกิดภาวะ Dead Inside แต่อาจมีอาการจิตเวชด้านอื่น ที่เป็นสาเหตุได้เช่นกัน นั้นก็คือ PTSD หรือ โรคเครียดหลังเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือสถานการณ์อื่นๆเมื่อเราต้องพบเจอกับภาวะความเครียด ความกดดัน และเหนื่อยมากจนร่างกายเกินจะรับไว

istock-1437852417

วิธีการรับมือกับภาวะ Dead Inside

  • ลองสำรวจความรู้สึกตัวเอง ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เรากดดัน แล้วเขียนลงบนกระดาษ เพราะไม่มีใครรู้จักเราดีที่สุดเท่าตัวเรา
  • กล้าปฎิเสธสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกกดดัน หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เรากังวล เช่น เราเล่นโซเชียลมีเดียแล้วจิตตกเพราะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ให้ลองทำ social detox หรือการลดการใช้โซเชียลมีเดียดู  
  • เปลี่ยนกิจกรรมที่มีความจำเจ แล้วหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ลองมองสิ่งเล็กๆ รอบตัวเราที่ทำให้เรามีความสุขง่ายๆ เช่นออกไปเจอสิ่งใหม่ๆ เจอเพื่อนใหม่ๆ หรือสังคมใหม่ๆ
  • ให้กำลังใจตัวเองบ่อยๆ รักตัวเองและเป็น และไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น แต่เปรียบเทียบตัวเองเมื่อวานกับวันนี้เพื่อการเป็น Be the best version of yourself (เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด)
  • หาตัวช่วย : ไม่เชื่อเรื่องน่าอาย หากเราจะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ หรือจิตแพทย์ เมื่อเราไม่สามารถหาทางออกได้ในชีวิต 

ที่มา 

กรมสุขภาพจิต

VeryWellMind

 

advertisement

SPOTLIGHT