ส่องอัตราโทษ ‘เมาแล้วขับ’ หนักสุดจำคุก 10 ปี ปรับ 2 แสน เพิกถอนใบขับขี่

11 เม.ย. 60

จากสถิติของกรมคุมประพฤติ พบว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา มีการเกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 478 คน บาดเจ็บ 4,128 คน และมีคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติจากสำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ 121 แห่ง จำนวน 4,833 คดี ประกอบด้วย ขับรถขณะเมาสุรา 4,342 คดี คดีอื่นๆ 452 คดี และคดีขับรถประมาท 38 คดี

ทั้งนี้ หากเทียบกับสถิติเมาแล้วขับในช่วง ปีใหม่ 2559 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น 871 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 25.9 โดยจังหวัดที่มีคดีเมาแล้วขับ ถูกคุมประพฤติเพิ่มขึ้น คือ นครพนม 272 คดี กรุงเทพมหานคร 266 คดี และเชียงราย 156 คดี

นอกจากนี้ข้อมูลจากองค์การองค์การอนามัยโลกปี 2556 ยังระบุอีกว่า คนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย และอันดับที่ 40 ของโลก แต่ถ้านับเฉพาะสุรากลั่นถือเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ทั้งๆ ที่ทราบกันดีกว่าสุรามีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ลดความไวของการรู้สึก และการสั่งงานของสมอง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน และมองเห็นผิดไป แต่คนทั้งหลายก็มักจะดื่มสุรา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งการดื่มแต่ละครั้งมีผลต่อร่างกายไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น การใช้ความรุนแรง การทะเลาะวิวาท การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอันดับ 3 ของโลก เฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง โดยในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คดีขับรถขณะเมาสุรามีจำนวนสูงเป็นอันดับ 2 ของคดีทั้งหมดรองจากคดียาเสพติด

สำหรับประเทศไทยได้กำหนดมาตรการในการตรวจจับผู้ขับขี่ที่เมาสุรา โดยถือเอาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เป็นผู้ขับขี่ที่เมาสุรา ซึ่งมีอัตราโทษดังนี้

ทั้งนี้ หากไม่ต้องการให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็ไม่ควรดื่มเบียร์ 8 ดีกรี เกิน 1 กระป๋อง (330 มิลลิลิตร) ไวน์ไทย หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5 ดีกรี เกิน 1 กระป๋อง (330 มิลลิลิตร)

ข้อมูลจาก กรมควบคุมประพฤติ, http://www.si.mahidol.ac.th

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ