วันที่ 2 พ.ค. นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานในการทดสอบระบบ แจ้งเตือนภัยผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Cell Broadcast ระดับเล็ก พื้นที่ภายในอาคาร โดยจำลองสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งจะครอบคลุม 5 พื้นที่ คือ ศาลากลาง จังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัด อุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร A และ B โดยจะไล่เรียงเริ่มตั้งแต่ ที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รายงานผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการเตือนภัยด้วยวาจาเพื่อขออนุมัติแจ้งเตือนผ่านระบบเซลล์บอร์ดแคช ไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางกลุ่มไลน์ เพื่อส่งแจ้งเตือนให้ประชาชน
เมื่ออนุมัติแล้วต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ส่งข้อความตาม ข้อมูล แจ้งเตือนที่ได้เตรียมไว้ เมื่ออนุมัติให้ส่ง ให้จ้างชุดเวรดำเนินการ จากนั้นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการเตือนภัย แจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ค่ายเพื่อยืนยันการส่งข้อความแจ้งเตือน จากนั้นผู้ให้บริการจะส่งข้อความ ไปยัง 5 พื้นที่ทดสอบ โดยมีระยะเวลาแสดง 10 นาที
อธิบดีปภ. กล่าวว่าหลังจากนี้จะมีการทดสอบระบบ Cell Broadcastอีก 2 ครั้ง ในวันที่7 พฤษภาคม เวลา 13.00 น. เป็นการทดสอบระดับกลาง ครอบคลุม 5 พื้นที่ อ.เมืองลำปาง อ.เมืองนครราชสีมา อ.เมืองนครสวรรค์ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และเขตดินแดง ของกรุงเทพฯ ส่วนครั้งที่ 3 ในวันที่ 13 พฤษภาคม เวลา 13.00 น.จะเปฺ็นการทดสอบส่งแจ้งเตือนในระดับใหญ่สูงสุด เต็มพื้นที่ 5 จังหวัด เชียงใหม่ อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร
ขณะที่ปภ.จะดำเนินการทดลองระบบ77 จังหวัดพร้อมกัน ทั่วประเทศอีกครั้ง ก่อนเดือนกรกฎาคมด้วย
นายภาสกร กล่าวอีกว่า การทดสอบCell Broadcastครั้งนี้จะรองรับทั้ง Android เวอร์ชั่น11 ขึ้นไป และ iOS เวอร์ชั่น18 ขึ้นไป แต่จะไม่ครอบคลุมเครือข่าย 2G และ 3G โดยอาจมีสัญญาณล้ำออกไปรัศมี 1.5 กิโลเมตร นอกเหนือจากจุดเป้าหมาย ซึ่ง โทรศัพท์ประมาณ3ล้านเลขหมายที่ไม่รองรับจะมีการแจ้งเตือนทาง SMS หากเกิดเหตุ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะมีการจัดทำแบบสอบถามทาง Google form เพื่อจะวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการใช้ระบบCell Broadcastร่วมกับผู้ให้บริการทั้ง 3 ค่ายด้วย
ทั้งนี้เมื่อมีการทดสอบระบบCell Broadcast เสร็จสิ้น อธิบดีกรมปภ. ได้ไล่สอบถามในแต่ละจุดรวมทั้ง 5 จุดถึงการส่งสัญญาณเตือน ของเครือข่ายทั้ง 3 ค่าย ได้รับสัญญาณเตือนและข้อความในเวลาไล่เลี่ยกัน
นายภาสกร กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนและระบุว่า การทดสอบระบบครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นที่น่าพอใจ ประชาชนได้รับการแจ้งเตือน เวลาใกล้เคียงกันไม่ถึง 1 นาทีสัญญาณและน้ำเสียงชัดเจน ทั้งพื้นที่ 5 จุด และ 3 ค่ายโทรศัพท์มือถือ พร้อมขอให้ติดตามผลเพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพในการส่งต่อไป
ด้าน นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้สัมภาษณ์ภายหลังทดสอบระบบ แจ้งเตือนภัยผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Cell Broadcast (CBS) ระดับเล็ก พื้นที่ภายในอาคาร โดยจำลองสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งจะครอบคลุม 5 พื้นที่ คือ ศาลากลาง จังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัด อุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร A และ B จะมีการนำไปปรับปรุงในการทดสอบอีกสองระดับอย่างไร ว่า วันนี้เป็นการทดสอบขนาดเล็กต้องการดูประสิทธิภาพของผู้ให้บริการ ว่าการครอบคลุม พื้นที่เป็นไปตามที่เรากำหนดหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่าสัญญาณอาจจะล้นไปพื้นที่ใกล้เคียงบ้าง เนื่องจากตัวสัญญาณเครือข่าย ยังไม่ครอบคลุมในส่วนภูมิภาค ในรัศมี 1.5 กิโลเมตรในพื้นที่ที่เราทดสอบ
ส่วนสัญญาณ CBS มีข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น นายภาสกร กล่าวว่า วันนี้เป็นการทดสอบระบบครั้งแรก สิ่งที่กังวลคือ คนที่ไม่เคยได้ยินเสียงแจ้งเตือน จะตกใจ แต่ได้มีการประชาสัมพันธ์ไปล่วงหน้าแล้ว มั่นใจว่าประชาชนทุกคน จะรับทราบการส่งข้อมูลดังกล่าว แต่ระบบการส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูง จำเป็นจะต้องรองรับกับโทรศัพท์ ที่มีการอัพเดตเวอร์ชั่นโทรศัพท์ โดยแอนดรอยด์อัพเวอร์ชั่น เป็น 11 ที่มีคนใช้อยู่ 70 ล้านเลขหมาย และระบบ iOS ที่ต้องอัพเดตเวอร์ชั่นเป็น 18 มีผู้ใช้บริการ ประมาณ 50 ล้านเลขหมาย ส่วนประชาชนที่ยังใช้บริการเครือข่าย 2G และ 3G มีเพียง 3 ล้านเลขหมาย จะได้รับข้อความแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS ไม่เกิน 10 นาที ซึ่งเราจะส่งการแจ้งเตือนผ่าน CBS และ SMS คู่ขนานกันไปเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลครบถ้วน และระบบเซลล์บอร์ดแคสจะสมบูรณ์ สามารถใช้งานได้ภายในเดือนกรกฎาคม และประเทศไทยจะมีระบบแจ้งเตือนภัยที่ทันสมัยไม่แพ้ประเทศใดในโลก
เมื่อถามว่า ถ้าเกิดเหตุฉับพลันเช่น น้ำป่าไหลหลาก กระบวนการจะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ นายภาสกร กล่าวว่า เรามีข้อปฏิบัติหลักประจำคือ SOP ที่กำหนดไว้ว่าการได้รับข้อมูลข่าวสาร ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติตามพระราชบัญญัติการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ประกอบแห่งชาติ เป็นหน่วยกลางในการจัดการสาธารณภัย เพื่อแจ้งเตือนภัยประชาชน ส่วนข้อมูลจะมาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เรื่องดินฟ้าอากาศ เป็นส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยา , เรื่องแผ่นดินไหว เป็นส่วนของกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
นอกจากนี้ยังมีกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือสทนช. กรมชลประธานที่จะมีทั้งผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเครื่องมือในการวัดมาตรน้ำ ซึ่งหน่วยราชการเหล่านี้เป็นหน่วยงานเบื้องต้นที่จะส่งข้อมูลให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนทางปภ. มีหน้าที่ รับข้อมูลข่าว วิเคราะห์ข่าว และกระจายข่าว เพราะฉะนั้นปภ. เมื่อรับข้อมูลมาจะเร่งดำเนินการตามภายนั้นๆ ในกรณีที่ไม่รุนแรงถึงขนาดแจ้งเตือนประชาชน ก็จะเป็นลักษณะในการรายงานข่าวตามช่องทางต่างๆ แต่หากเป็นกรณีที่มีความฉุกเฉิน หรือรุนแรง กรณีน้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมเฉียบพลัน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จำเป็นที่จะต้องแจ้งเตือนประชาชนสามารถใช้ Cell Broadcast ส่งได้ทันที
ส่วนการทดสอบระดับแจ้งเตือนภัยทั้งประเทศ นายภาสกร กล่าวว่า หลังจากที่เราได้ดำเนินการไปทั้ง 3 ระดับ และดูความพร้อม กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จะมีการเชื่อมระบบทั้งภาคส่ง คือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และภาครับ คือ ผู้ให้บริการทั้ง 3 ค่าย ที่เรียกว่า Cell Broadcast เซ็นเตอร์ ซึ่งที่มีการทดลองสถานการณ์ระดับเล็กเป็นการส่งข้อความผ่านทางไลน์ เพื่อให้ผู้ให้บริการเป็นคนกดส่ง แต่เมื่อระบบสมบูรณ์แล้วจะส่งที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเอง จะลดขั้นตอนของผู้ให้บริการ เมื่อเรากดส่งไปข้อมูลที่ส่งถึงประชาชน ในเวลาไม่เกิน 1 นาที
เมื่อถามย้ำว่า จะสามารถทดสอบระบบทั้งประเทศได้ทันภายในเดือนพฤษภาคมหรือไม่ นายภาสกรกล่าวว่า คาดว่า หลังจากได้ดำเนินการครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คาดว่าก่อนเดือนกรกฎาคม จะมีการทดสอบระบบใหญ่ทั้งประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งสุดท้าย
Advertisement