วันที่ 7 ก.ค. 68 ที่ทำเนียบรัฐบาล นางมาระตี นะลิตา อันดาโม รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และ พล.ร.ต.สุรสันต์ คงสิริ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะโฆษกศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา (ศบ.ทก.) แถลงผลการประชุม ศบ.ทก.
โดย พล.ร.ต.สุรสันต์ กล่าวว่า ผลการประชุมของศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ ศบ.ทก. ในเรื่องความมั่นคง มีดังนี้
1.การรายงานผลการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติ วันที่ 4 ก.ค. เป็นการประชุมครั้ังที่ 6/2568 โดยทางสภาความมั่นคงแห่งชาติได้มีมติมอบอำนาจให้ ศบ.ทก.ดำเนินการแก้ไขปัญหาความตึงเครียดตามแนวชายแดนให้คลี่คลายลง
โดย ศบ.ทก.มีอำนาจเต็ม ในการกำหนดมาตรการ ไม่ว่าจะการเพิ่มมาตรการถ้าสถานการณ์เลวร้ายลง หรือผ่อนคลาย หากสถานการณ์ดีขึ้น สามารถทำได้ 2 รูปแบบ พร้อมเน้นย้ำหลีกเลี่ยงใช้กำลังทหาร ส่วนประเด็นที่สองจากมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ ก็คือ การดำเนินการต่อกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติให้มีมาตรการที่กดดันและเข้มงวดมากขึ้นมากขึ้น
พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า ศบ.ทก.มีขอบเขตหน้าที่ในการแก้ปัญหาตามแนวชายแดน ในลักษณะของเฉพาะกิจ โดยมติของทำงานปกติเพราะเป็นไปตามสายการทำงานปกติ อย่างงานต่างประเทศก็จะเป็นกระทรวงการต่างประเทศที่ดำเนินการ โดยอยากชี้แจงการแบ่งงานให้ชัดเจนทางศบ.ทก.ทำอะไร และกระทรวงต่างๆ ทำงานกันอย่างไรบ้าง
2.นำเสนอแผ่นภาพฉายเรื่องการดำเนินการมาตรการผ่านแดน หรือผ่านด่านเข้าออกของประชาชนทั้งสองฝ่ายที่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่ หรือประชาชนท้องถิ่นที่เดินทางผ่านเข้าออกมาซื้อสินค้าอุปโภคบนิโภคประจำวันก็สามารถเดินทางเเข้าออกได้ แม้กระทั่งในกลุ่มเปราะบาง นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยให้ดำเนินการเข้าออกได้ ตลอดจนการขนส่งเวชภัณฑ์ผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องเข้ามารักษาพยาบาลอีกประเทศยังสามารถเดินทางผ่านเข้าออกชายแดนได้ ดูตัวเลขตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.- 7 ก.ค. ไทยมีการผ่อนปรนมาตรการ โดยข้อมูลจากกองกำลังบูรพา พบว่ามีบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักร จำนวน 212,766 คน และมีคนเดินทางออกจากราชอาณาจักรจำนวน 206,100 คน ส่วนตัวเลขในกองกำลังสุรนารี มีตัวเลขคนเดินทางเข้าออก 2,154 คน จะเห็นได้ว่าในแต่ละพื้นที่ก็จะมีตัวเลขที่มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับประเด็นความตึงเครียดของสถานการณ์ตามแนวชายแดนนั้นๆ
3.ในส่วนของความมั่นคงเป็นเรื่องของกรณีที่ ศบ.ทก. มีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ที่มีผลกระทบคือไม่สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานได้ ตามปกติ ทางศบ.ทก. ไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการประชุมหารือกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงมหาดไทยถึงแนวทางในการผ่อนปรนการนำเข้าแรงงาน
ซึ่งจากผลการประชุม เพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสรุปคือกระทรวงมหาดไทยจะพิจารณาผ่อนผัน คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตหรือที่ใบอนุญาตหมดอายุไปแล้วระหว่างอยู่ประเทศไทยให้สามารถอยู่ต่อได้เป็นกรณีพิเศษและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดใดจนกว่าด่านชายแดนจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยภายหลังจากที่ด่านเปิดปกติแล้วให้คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ภายใน 14 วัน
นอกจากนี้กระทรวงแรงงานจะออกมาตรการให้คนต่างด้าวสามารถยื่นคำขออนุญาตทำงานพร้อมเอกสารและหลักฐานทำงานต่อนายทะเบียนอนุญาตโดยสามารถทำงานครั้งละ 90 วันและต่อใบอนุญาตอย่างต่อเนื่องทุกๆ 90 วัน ส่วนคนต่างด้าวที่มีงานทำอยู่แล้วสามารถเปลี่ยนได้จ้างและสามารถเพิ่มนายจ้างได้สามรายตลอดระยะเวลาในพื้นที่ที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ทำงาน
ทั้งนี้จากผลการประชุมของคณะกรรมการที่ผ่านมากรมการจัดหางานจะนำผลการประชุมเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวหรือ คบต. ในวันที่ 8 ก.ค.นี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในโอกาสแรกต่อไป ทั้งนี้การประกาศของพรที่คาดว่าจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้าก็จะมีผลย้อนหลังให้ถึงวันที่ 7 มิ.ย. 68 เพราะศบ.ทก.เข้าใจดีว่าผลกระทบมันเกิดตั้งแต่ช่วงของสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
ด้านนางมาระตี กล่าวถึงประเด็นด้านการต่างประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบ ซึ่งมีการติดตามการประชุมสรุปได้ดังนี้
1.สถานการณ์ในพื้นที่ เมื่อเช้านี้มีการรายงานจากหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ทุกจุดตรวจจุดผ่านแดนโดยพบว่าสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยดีโดยฝ่ายไทยยังคงอนุโลมให้มีการมีการผ่านแดนสำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้ป่วยรวมถึงแรงงานต่างชาติที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาเพื่อทำงาน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของชุมชนทั่วๆ ไปที่มีความจำเป็นที่จะต้องข้ามเข้ามาในฝั่งไทยเพื่อจับจ่ายใช้สอยปกติ โดยขอเรียนย้ำว่ามาตรการควบคุมจุดแดงของฝ่ายไทยยังคงดำเนินการอย่างเข้มงวดเพื่อความมั่นคงโดยรวมของพื้นที่และความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนทั้งสองฝ่าย ที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติโดยเฉพาะขบวนการหลอกลวงทางออนไลน์เช่น สแกมเมอร์หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่สร้างความเสียหายต่อประชาชนและประเทศอย่างร้ายแรง โดยทุกมาตรการได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบโปร่งใสและเป็นไปตามนโยบายที่ทาง ศบ.ทก. มอบให้ ส่วนนโยบายอื่นๆที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะคำนึงถึงประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ
2.มาตรการเยียวยาประชาชน ในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโดยกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกในการระบายสินค้าสดและสินค้าอุปโภคบริโภคของเกษตรกร ไปยังตลาดกระจายสินค้าขนาดใหญ่ทั้งในห้างสรรพสินค้างานแสดงสินค้าในจังหวัดต่างๆ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆพร้อมทั้งยังมีการประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสม
โดยวันนี้ได้ยินเรื่องราวที่น่าภูมิใจของหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก็ได้ช่วยซื้อผลผลิตของเกษตรกรรายย่อยตามแนวชายแดน โดยขอย้ำอีกครั้งว่ารัฐบาลไทยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนและตระหนักว่าความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้ โดยเมื่อสักครู่ได้รับทราบถึงความคืบหน้าเป็นข่าวดีเกี่ยวกับการผ่อนผันให้แรงงานกัมพูชาอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไปได้
3.การดำเนินการด้านการต่างประเทศโดยเรื่องแรกเป็นเรื่องของโครงสร้างการทำงานเป็นกลไกภายในกระทรวงต่างประเทศที่จะบริหารสถานการณ์ในขณะนี้โดยตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความตึงเครียดของสถานการณ์ไทยกัมพูชาทางกระทรวงต่างประเทศได้ดำเนินมาตรการและประสานงานด้านต่างๆในมิติการต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกแรกได้มีการจัดตั้งคณะทำงานระดับกระทรวงที่เรียกว่า Task Force เพื่อติดตามสถานการณ์เพื่อติดตามสถานการณ์และบูรณาการการทำงานในการ บูรณาการภายในกระทรวง และอีกภารกิจสำคัญคือเพื่อเผยแพร่ข้อมูลระหว่างกระทรวงกับสถานเอกอัครราชทูตไทยต่างประเทศในทั่วโลกและสถานกงสุลใหญ่เพื่อประโยชน์ในการชี้แจงกับประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยโดยในคณะทำงานนี้ได้บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่มกรมเอเชียตะวันออก กรมสนธิสัญญาและกฎหมายดำเนินเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศและเขตแดนซึ่งกลุ่มนี้อาจจะรับศึกนิดนึง และกรมอาเซียน กรมองค์การระหว่างประเทศก็จะรับผิดชอบในเรื่องของการติดตามท่าทีของกัมพูชาในเวทีระหว่างประเทศรวมถึงท่าทีของประเทศอื่นๆ กรมสารนิเทศรับผิดชอบในเรื่องของการสื่อสารเชิงกลยุทธ์และบริหารข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยคำนึงว่าไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งบุคคลสามารถแสดงออกซึ่งความเห็นได้และเป็นเรื่องที่ดี กรมการกงสุลซึ่งมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลคนไทยในต่างประเทศรวมถึงคนไทยในกัมพูชาซึ่งงานของกระทรวงการต่างประเทศทั้งหมดก็จะมีความปราณีตและเกี่ยวโยงกับงานซึ่งกระทรวงจะได้พยามสื่อสารภารกิจที่เกี่ยวข้องให้สาธารณะชนรับทราบอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนี้ เกี่ยวกับการดำเนินการของกระทรวงต่างประเทศตามที่ปรากฎการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับหนังสือของเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรกัมพูชาประจำสหประชาชาติณนครนิวยอร์กถึงเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งลงเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 68 แจ้งความประสงค์ของกัมพูชาที่จะฟ้องร้องในประเด็นชายแดนไทยกัมพูชาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือไอซีเจ โดยกระทรวงต่างประเทศขอเรียนว่าได้มีการสั่งการไปยังเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาตินครนิวยอร์กให้ออกหนังสือเช่นกันถึงเลขาธิการสหประชาชาติด้วยแล้วเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ตลอดจนท่าทีและการดำเนินการของฝั่งไทยในเรื่องนี้ซึ่งเป็นไปตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมและฝ่ายไทยก็ได้ขอให้เลขาธิการสหประชาชาติเวียนหนังสือชี้แจงของไทยเป็นหนังสือของสมัชชาสหประชาชาติเพื่อให้ทั้งสมาชิกของสหประชาชาติที่มีกว่า 193 ประเทศรับทราบซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ออกมาชี้แจงด้วยแล้วว่าการเวียนหนังสือเอกสารในลักษณะนี้เป็นแนวทางปฏิบัติปกติจริงๆแล้วของสหประชาชาติที่รัฐสมาชิกทุกรัฐสามารถทำได้โดยสำหรับฝ่ายไทย ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการชี้แจงจุดยืนของไทยในเรื่องนี้ไปแล้ว
ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ออกข่าวสารนิเทศอีกฉบับ เพื่อชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับท่าทีของไทยและข้อคิดเห็น เพื่อประโยชน์ของการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในพื้นที่สื่อมีการนำเสนอข้อมูลจำนวนมาก บางส่วนไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมด ข้อสรุปว่าเอกสารข่าวสารสารนิเทศฉบับนี้ได้ชี้แจงถึงการดำเนินการของฝ่ายไทยตั้งแต่เกิดเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 พ.ค. และจุดยืนของรัฐบาลไทย คือการแก้ไขปัญหาเขตแดนกับกัมพูชาโดยสันติวิธี ภายใต้พันธะกรณีเอ็มโอยูปี 43 ระบุอย่างชัดเจนว่า สองฝ่ายต้องแก้ไขปัญหาเขตแดนผ่านการเจรจาภายใต้กลไกเจบีซี สอดคล้องกฎหมายระหว่างประเทศและสหประชาชาติ
สำหรับประชาชนที่อยากจะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้รวบรวมข่าวสารและเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ที่สำคัญทั้งหมด เกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในขณะนี้ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
Advertisement