มท. สั่งผู้ว่าฯทั่วประเทศยึดป.วิอาญา-พรบ.อุ้มหายคุ้มครองสิทธิปชช. หลังDSIลงพื้นที่สอบคดีฮั้วสว.หากพบกระทำโหดร้าย-ไร้มนุษยธรรมฟ้องศาลยุติการกระทำได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 พค. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง ทำหนัสือ ด่วน ที่สุด ที่มท0307.1/25786 ถึง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง การประสานความร่วมมือในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
ด้วยปรากฏเป็นข่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญได้รายงานข้อมูลต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย กรณีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม มีกลุ่มบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา จากอดีตผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา นั้น
กรมการปกครอง ยินดีให้ความร่วมมือ กับกรมสอบสวนคดีพิเศษในการดำเนินการตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ โดยขอให้พิจารณาดำเนินการ
ดังนี้ 1. ให้มีหนังสือและเอกสารหลักฐานยืนยันการเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่สืบสวน สอบสวนคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ และเป็นพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบในคดีพิเศษที่จะขอให้กรมการปกครองและพนักงานฝ่ายปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนในคดีนั้น เพื่อสั่งการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและข้อบังคับที่เกียวข้อง สำหรับในกรุงเทพมหานครให้แจ้งอธิบดีกรมการปกครอง สำหรับในเขตจังหวัด ให้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาสังการดังกล่าวต่อไป
2. การปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมการปกครองได้มีหนังสือ ลับ ด่วนที่สุด
ที่ มท 0307.3/ว 12837 ลงวันที่ 12เมษายน 2568 กำซับให้พนักงานฝ่ายปกครองให้ความสำคัญกับ
สิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิของบุคคลในคดีอาญา และเสรีภาพในเคหสถานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยให้พนักงานฝ่ายปกครองถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด รวมถึงขอบเขตความรับผิดชอบของ
นอกจากนี้ ในวันที่ 8 พค. นายมานะ สิมมา ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือด่วนที่สุด มท. 0208.1 8477 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ รายงานเหตุ
กลุ่มบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีกลุ่มบุคคลอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอ เพื่อสอบถามข้อมูลอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นวุฒิสภา จำนวน 2 ราย ซึ่งไม่ได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองประชาชน จึงมีแนวปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจัดหวัด นายอำเภอ รวมถึงปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ และสมาชิก กองอาสารักษาดินแดน ให้ยึดแนวปฏิบัติ และการรับคำร้องทุกข์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
รวมถึง การปฏิบัติหน้าที่ในคดีพิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กรณีพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษประสานขอความร่วมมือพนักงานฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจ สืบสวนสอบสวน ให้สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ตามมาตรา22 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 และข้อบังคับคณะกรรมการคดีพิเศษ ( กคพ. )ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ ในคดีพิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568
นอกจากนี้ยังให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายพ.ศ. 2565
“หากนายอำเภอผู้รับแจ้งเห็นว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทรมาน การกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย นายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งได้รับมอบหมายจากนายอำเภอมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา เพื่อให้มีคำสั่งยุติการกระทำเช่นนั้นทันที ตามมาตรา22และมาตรา26 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามสำหรับแนวทางดังกล่าวยังได้สั่งการไปให้ทุกจังหวัดทั่วประเทศยึดแนวทางนี้อีกด้วย
Advertisement