การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. จัดให้มีการเลือกตั้งพร้อมกัน 76 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) จำนวน 2,469 แห่ง แบ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี 2,121 แห่ง และการเลือกตั้งเฉพาะสมาชิกสภาเทศบาล 348 แห่ง เนื่องจากมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี กรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระไปก่อนแล้ว
กกต.รายงานว่าการเลือกตั้งรอบนี้ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล 60,521 คน มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอีก 4,558 คน รวมผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จำนวนทั้งสิ้น 65,079 คน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ?
1. มีสัญชาติไทย แต่ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
4. และคุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ?
1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล หรือโดยคาสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย
4. วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5. มีลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
หลักฐานที่ใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง ?
1. บัตรประจาตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
2. บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่าย และมีเลขประจำตัวประชาชน (ต้องเป็นบัตรที่ไม่หมดอายุ) เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ,ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต), หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอปพลิเคชันของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย ว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แอปพลิเคชัน ThaID (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์), แอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE (ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์) และแอปพลิเคชันบัตรคนพิการ (บัตรประจาตัวคนพิการอิเล็กทรอนิกส์) เป็นต้น
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง ?
1. ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้ที่หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์
2. ยื่นหลักฐานแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) หรือบัตร หรือหลักฐานที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่าย และมีเลขประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อกรรมการประจำหน่วย พร้อมลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. รับบัตรเลือกตั้ง ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ 2 สี ได้แก่ "บัตรสีเหลือง" สำหรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และ "บัตรสีเขียว" สำหรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล แต่ถ้าเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลประเภทเดียว จะได้รับบัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบ
4. ทำเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนนทาเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทาเครื่องหมาย ดังนี้
- บัตรเลือกตั้งนายกเทศมนตรี (สีเหลือง) เลือกผู้สมัครได้ 1 คน
- บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (สีเขียว) เลือกผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลได้ไม่เกินหกคน
- หากไม่ต้องการเลือกผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่เลือก ผู้สมัครผู้ใด
5. พับบัตรเลือกตั้ง แล้วหย่อนบัตรเลือกตั้ง โดยนำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
การกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น...ห้ามมิให้ ?
1. ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนเองเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง พยายามออกเสียงลงคะแนน หรือออกเสียงลงคะแนน
2. ผู้ใดจงใจกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บัตรเลือกตั้งที่ตนได้รับจากกรรมการประจำหน่วย ชำรุดหรือเสียหาย หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรที่ใช้ได้
3. ผู้ใดซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการเลือกตั้ง
4. ผู้ใดเล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันขันต่อใด ๆ เกี่ยวกับผลของการเลือกตั้ง
5. ผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร นับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
6. ผู้ใดใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ถ่ายภาพบัตรเลือกตั้ง เพื่อให้เห็นเครื่องหมายลงคะแนน ในคูหาเลือกตั้ง
7. ผู้ใดขาย จำหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้ง ระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวัน จนถึงเวลา 18.00 น. ของวันเลือกตั้ง
8. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครใด หรืองดเว้นไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใด
9. ผู้ใดกระทำการอันเป็นเท็จเ พื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง หรือเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
10. ผู้ใดจงใจทำเครื่องหมายโดยวิธีใดไว้ที่บัตรเลือกตั้ง นอกจากเครื่องหมายที่ลงคะแนน
11. ผู้ใดนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทาตามหน้าที่และอำนาจ
Advertisement