เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2568 เวลา 13.00 น.ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ สส.นครปฐม พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถามนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคกล้าธรรม (กธ.) ถึงสถานการณ์แม่น้ำท่าจีนล้นตลิ่งช่วงฤดูฝน จนท่วมบ้านเรือนของประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออก
โดยนายอรรถกร ชี้แจงว่า เป้าหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำอยู่แล้ว ซึ่งน้ำทุกหยดที่ไหลผ่านครองแต่ละสายของประเทศมีความจำเป็นที่ต้องลงไปวางแผนบริหารจัดการ ซึ่งภาพรวมนั้นหลักๆแล้วน้ำที่จะไหลเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยามาจากภาคเหนือ ร่วมกับปริมาณน้ำฝนที่อาจเกิดขึ้นในบางพื้นที่ทำให้การบริหารจัดการน้ำในแต่ละช่วงอาจต้องใช้เทคนิคหรือวิธีการที่แตกต่างออกไป แต่เป้าหมายสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการน้ำไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนของประเทศ ต้องทำอย่างไรให้ประชาชนมีน้ำใช้ในวันที่น้ำแล้ง
การบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน น้ำที่ไหลลงมาจากภาคเหนือจะลงมารวมที่ สถานีวัดน้ำ 42 ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะมีความสามารถในการรองรับน้ำอยู่ที่ 3,660 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้มีน้ำไหลผ่านประมาณ 768 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คิดเป็นประมาณ 20 %
ขณะนี้กรมชลประทานได้ทำการพร่องน้ำมากกว่าปีก่อนเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ฝนปีนี้จะเยอะกว่าปกติทำให้สถานการณ์น้ำทั้งด้านบนและข้างล่างต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
หลักการสำคัญที่กรมชลประทานใช้มาตลอดระหว่างทางต้องพยายามตัดยอดน้ำทางด้านซ้ายและด้านขวาเพื่อเป็นไปตามหลักของวิศวกรที่กรมชลประทานคำนวณไว้ การตัดยอดน้ำที่มากเกินไปจะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งหน้าฝนและหน้าแล้ง
จากนั้นปริมาณน้ำจะลำเลียงผ่านประตูน้ำและการบังคับน้ำต่าง ๆ รวมถึงประตูน้ำพลเทพ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีความสามารถในการรับน้ำมากที่สุดประมาณ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะนี้มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีคิดเป็น 30 % เท่านั้นดังนั้นเมื่อประเมินสถานการณ์แล้วกรมชลประทานคิดว่าการแบ่งปันน้ำยังสามารถรับน้ำได้อีกเยอะ
สำหรับการจัดการวางแผนแม่น้ำท่าจีนได้มีการเตรียมการพร่องน้ำในคลองส่งน้ำและระบายน้ำไปยังคลองต่าง ๆ ในแม่น้ำท่าจีนซึ่งตัวชี้วัดสำคัญ คือ
1. การประเมินน้ำในสถานีวัดน้ำ C2 หากมีน้ำไหลผ่านมากกว่า 900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีก็ต้องปรับแผนการพร่องน้ำเพิ่มขึ้น
2. กรมชลประทานต้องตรวจสอบและเตรียมความพร้อมเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดหากมีปริมาณน้ำมากเกินไป
3. ต้องดำเนินการขุดลอกคลอง ส่งน้ำและครองระบายน้ำต่างๆที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำท่าจีนทั้งหมดรวมถึงการกำจัดวัชพืชหรือสิ่งกีดขวางทางน้ำด้วย โดยขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 75 รายการ เหลืออีก 33 รายการที่ต้องไปเร่งรัดให้กรมชลประทานดำเนินการให้เสร็จ ก่อนที่จะมีช่วงน้ำมาเยอะ
4. เตรียมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ในพื้นที่เสี่ยงเพิ่มอีก 19 จุด
5. ติดตามและประเมินสภาพอากาศสถานการณ์น้ำแบบเรียวไทม์จัดให้มีจุดแจ้งเตือนภัยต่างๆและให้กรมชลประทานแจ้งเตือนระดับน้ำ ทุกสถานะเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนรับรู้ว่าจะต้องระวังตัวเมื่อไหร่
นอกจากนี้ ได้สั่งให้กรมชลประทานได้เปิดศูนย์เพื่อติดตามสถานการณ์และบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าฝนโดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์ทั่วประเทศเพื่อให้รู้ว่าสถานการณ์แต่ละที่เป็นอย่างไรและนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยกันพิจารณาเพื่อให้ทราบว่าควรระมัดระวังส่วนไหน
นายอรรถกร กล่าวต่อว่า กรมชลประทานมีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำของแม่น้ำท่าจีน ให้สามารถรับและระบายน้ำได้ให้ได้อย่างน้อย ๆ 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และการแก้ไขปัญหาการระบายน้ำตามคอขวดต่างๆถือเป็นปัญหาหลัก เพื่อให้การระบายน้ำจากแม่น้ำท่าจีนลงสู่อ่าวไทยให้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพถือเป็นเป้าหมายระยะสั้นของกรมชลประทาน
นายอรรถกร กล่าวย้ำว่า วันนี้ได้มีตัวแทนจากกรมชลประทานเข้ามาด้วย จึงขอสั่งการไว้เลยว่าให้เร่งจัดการดูแล แม่น้ำท่าจีนตอนบนได้มอบหมายให้กรมชลประทานขุดลอกตะกอนต่างๆตามที่อยู่โดยเฉพาะประตูระบายน้ำโพพญาและแม่น้ำท่าจีนตอนล่างได้มีการขุดลอกและปรับปรุงไปทั้งหมด 23 จุด
Advertisement