หญิงชาวจีนไอเรื้อรังไม่หาย หมอ CT Scan พบเชื้อราลามทั่วปอด ซักประวัติคนไข้เพิ่มเติมพบเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่งทำเมนู "ซุปนกพิราบ" รับประทาน
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานอ้างถึงกรณีหญิงสาวชาวจีน วัย 30 ปี ตัดสินใจไปพบแพทย์หลังจากมีอาการ ไอแห้งเรื้อรัง เมื่อทำการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) บริเวณทรวงอก พบว่าทั้งปอดทั้งสองข้างมีการติดเชื้อหลายจุดและเกิดโพรงอากาศหลายแห่ง จึงถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในแผนกโรคระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยอาการหนัก
แพทย์ได้สังเกตเห็นภาพ CT Scan ที่มีลักษณะเฉพาะของโรค จึงสงสัยว่าอาจเป็นการติดเชื้อ Cryptococcus (คริปโตคอคคัส) ซึ่งเป็นเชื้อราก่อโรค
ทั้งนี้ แพทย์ได้สอบถามเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสกับนกหรือสัตว์เลี้ยงหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยปฏิเสธ
อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ Cryptococcus และทำการส่องกล้องหลอดลมแบบไม่เจ็บเพื่อนำของเหลวจากปอดไปตรวจหาแอนติเจนและทำการถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี tNGS (targeted Next-Generation Sequencing)
ผลการตรวจพบว่า ทั้งจากเลือดและของเหลวจากปอดพบแอนติเจนของเชื้อ Cryptococcus เป็นบวก และตรวจพบเชื้อ Cryptococcus ชนิดใหม่ในปริมาณสูงด้วย tNGS จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคปอดอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus ชนิดใหม่
หลังทราบผลวินิจฉัย หญิงสาวจึงนึกออกว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เพื่อนได้นำ นกพิราบ มาให้ และไม่กี่วันถัดมา เธอนำไปทำเมนู ซุปนกพิราบ รับประทาน
แพทย์จึงสรุปว่า การติดเชื้อคริปโตค็อกคัสชนิดใหม่ของผู้ป่วยมีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานนกพิราบ แต่โชคดีที่หลังจากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวและออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว
แพทย์อธิบายว่า Cryptococcus ชนิดใหม่เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในมูลนกพิราบ ดิน และซากพืชเน่าเปื่อย เมื่อแห้งจะกลายเป็นละอองลอยในอากาศและสามารถเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ
กลุ่มเสี่ยงสูงในการติดเชื้อนี้ ได้แก่ ผู้ที่เลี้ยงนกพิราบ คนรักนก คนทำงานสวน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ที่ใช้สเตียรอยด์ต่อเนื่อง
โรคปอดอักเสบจากเชื้อ Cryptococcus ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีไข้ต่ำ เจ็บหน้าอก ซึ่งมักถูกมองข้าม แต่หากเป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด และหากไม่รักษาทันท่วงที ประมาณ 10% ของผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60%–80%
โรคจากนกพิราบ หรือ โรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis) เป็น "เชื้อรา" ชนิดหนึ่งที่พบในมูลของนก โดยเฉพาะนกพิราบ มักก่อโรคในกับแมว และคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี (HIV) หรือผู้ที่เคยปลูกถ่ายอวัยวะ รวมถึงผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
การติดต่อ : เกิดจากการหายใจเอาเอาละอองเชื้อราเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ติดเชื้อที่ปอดและสมองได้
อาการ : หากติดเชื้อที่ปอด จะมีอาการไอ หายใจไม่เต็มอิ่ม เจ็บบริเวณหน้าอก และมีไข้ แต่หากติดเชื้อที่สมอง หรือระบบปราสาทส่วนกลาง จะปวดหัว มีไข้ ปวดคอ คลื่นไส้อาเจียน มีความไวต่อแสง รู้สึกสับสน หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง จากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้บริเวณที่มีฝูงนก หรือมูลของนก
2. สวมหน้ากากอนามัยหรือถุงมือทุกครั้ง ขณะทำความสะอาดบริเวณที่มีมูลนก
3. ล้างมือให้สะอาด หลังทำกิจกรรมที่ใกล้ชิดกับนก หรือมูลของนก
Advertisement