หมายเลข08

นายชัชชาติ  สิทธิพันธุ์

ลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ

มาช่วยสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคนมาช่วยสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคนมาช่วยสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

ประวัติส่วนตัว

  • นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชื่อเล่น "ทริป"
  • เกิดเมื่อ วันที่ 24 พ.ค. 2509 อายุ 56 ปี
  • บิดา พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • มารดา จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์
  • มีพี่น้อง 2 คน คือ
    - ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ - อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    - รศ. นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ - กรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ. 2562-2564 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ทัวร์ - ฝาแฝด)
  • คู่สมรส ปิยดา (สกลุเดิม: อัศวฤทธิภูมิ) พนักงานการบินไทย มีบุตรชาย 1 คน คือ แสนปิติ สิทธิพันธุ์
  • ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร

ประวัติการศึกษา

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน

  • อดีตวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน
  • อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • กรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • กรรมการบริษัท ขนส่ง จํากัด
  • กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
  • กรรมการประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ และประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย

นโยบาย

200 นโยบาย “ 9 ด้าน 9 ดี” แก้ปัญหากรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

  • บริหารจัดการดี พัฒนาแพลตฟอร์มรับฟังความเห็นประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย เปิดให้แจ้งปัญหาผ่านออนไลน์ มีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้งบฯ ประเมิน ผอ.เขต และผู้ว่าฯ กทม. มีสภาคนรุ่นใหม่สะท้อนเสียงเยาวชน เปิดเผยข้อมูลจัดจ้าง กทม.และกรุงเทพธนาคม โปร่งใสไม่ส่วย
  • ปลอดภัยดี สร้างแผนที่จุดเสี่ยงอาชญากรรม จราจร และสาธารณภัย, ยกระดับคุณภาพกล้อง CCTV ขอดูภาพทางออนไลน์ได้, จัดชุดปฏิบัติการณ์ดูแลคนไร้บ้านและขอทาน เปิด ”บ้านอุ่นใจ” เป็นที่ปลอดภัย เปิดฝึกอาชีพ พัฒนาห้องน้ำ ห้องอาบน้ำที่คนไร้บ้านเข้าถึงได้
  • สุขภาพดี เชื่อมโยงประวัติคนไข้ภายในสถานพยาบาล กทม., เพิ่มการรักษา เวลา ทรัพยากรในศูนย์บริการสาธารณสุข, ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียงสู่ชุมชน, เสริมศักยภาพ อสส.สู่ Caregiver, หมอถึงบ้านผ่าน Telemedicine, เพิ่มคลินิกโรคคนเมืองยุคใหม่ กายภาพบำบัด จิตวิทยา
  • สิ่งแวดล้อมดี คนเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ใน 15 นาที, ปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น, ตรวจจับควันดำจากต้นตอ, ตรวจคุณภาพอากาศโรงงานเชิงรุก, สร้างพื้นที่นำร่องต้นแบบการแยกขยะ ดูแสสวัสดิการพนักงานเก็บขยะ, ทบทวนแผนบำบัดน้ำเสีย แก้ปัญหาคลองแสนแสบ
  • เรียนดี เรียนฟรี ชุดฟรี ตำราฟรี มีโปรแกรมหลังเลิกเรียนดูแลนักเรียนจนกว่าผู้ปกครองจะมารับ, พัฒนาศูนย์เด็กอ่อน-เด็กเล็ก, เปิดโรงเรียนในวันหยุดเป็นพื้นที่กิจกรรม-การเรียนรู้ให้นักเรียนและชุมชน, พัฒนาหลักสูตรโรงเรียน 3 ภาษา (ไทย ต่างประเทศ คอมพิวเตอร์), เพิ่มหลักสูตรฝึกอาชีพ, ใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานเอกสาร ปรับปรุงระเบียบการเลื่อนวิทยะฐานะเพื่อคืนครูให้นักเรียน
  • “กรุงเทพฯ เดินได้” พัฒนาทางเดินเท้าคุณภาพ 1,000 กม., ตั้ง Command Center บริหารจราจร ใช้ระบบจัดการจราจรอัจฉริยะ (ITMS), ตัดถนนย่อยตามผังเมืองเพื่อระบายรถ, หารือกับรถไฟฟ้าในกำกับ กทม.เพื่อลดค่าใช้จ่ายประชาชน, เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูกราคาเดียว, สร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (Hub), สายสื่อสารลงดิน, ศึกษาการเดินเรือเพิ่ม เช่น คลองลาดพร้าว
  • โครงสร้างดี ลอกท่อ ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กม., ลอกคูคลอง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประสิทธิภาพสูง ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมหาพื้นที่รับน้ำธรรมชาติ
  • เศรษฐกิจดี ขึ้นทะเบียนผู้ค้าแผงลอย เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน, จัด 12 เทศกาลตลอดปี, พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลักดัน Hi-tech เช่น eSports, E-commerce และ Hi-touch เช่น นวด สปา, ย้ายระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับประชาชนขึ้นออนไลน์ สามารถตรวจสอบแบติดถามการขออนุญาตกับ กทม.ได้
  • สร้างสรรค์ดี เปิดห้องสมุนออนไลน์ อ่าน E-book จากทุกที่, ปรับห้องสมุดให้เป็น Co-working space มี Wi-Fi ฟรี , เปลี่ยนศาลาว่าการฯและลานคนเมืองสู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สาธารณะ, สร้างพื้นที่สาธารณะทั่วกรุงเทพฯ, ปักหมุดทำฐานข้อมูลรวมพื้นที่ของรัฐและเอกชน ให้ประชาชนเลือกใช้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ “นายชัชชาติ

ผู้สมัคร “ผู้ว่าฯ กทม.”

ดูทั้งหมดview all

News Update