ความยั่งยืน

ส่องความวิกฤตจากคลื่นความร้อน 8 ประเทศในอาเซียน

8 พ.ค. 67
ส่องความวิกฤตจากคลื่นความร้อน 8 ประเทศในอาเซียน

indonesia

แม้ว่าสภาพอากาศของประเทศไทยขณะนี้จะเย็นลง และมีฝนตกลงมาบ้างแล้วแต่หลายคนยอมรับว่า อากาศร้อนของประเทศไทยในปี 2567 นี้ร้อนกว่าทุกปีที่ผ่านมาและสอดคล้องกับข้อมูลของหน่วยงานต่างๆที่ระบุว่า ปี2567 เป็นปีที่ประเทศในแถบอาเซียน ร้อนทำลายสถิติ แม้ความร้อนจะมีแนวโน้มคลี่คลายลงแต่ภัยพิบัติจากสภาพอากาศแปรปรวนยังคงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องเตรียมรับมือต่อไป

บทความนี้ SPOTLIGHT พาไปสำรวจสถานการณ์ความวิกฤตจากคลื่นความร้อนของ 8 ประเทศในอาเซียน รวมถึงแนวทางการรับมือของหลายประเทศ

ประเทศไทย

อุณหภูมิแตะระดับ : 45 °C (ทุบสถิติร้อนสูงสุด 73 ปี)

  • พบผู้เสียชีวิตจากฮีตสโตรกแล้ว 30 ราย
  • คาดปี 67 คนไทยใช้ไฟทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงถึง 35,000 เมกะวัตต์

afp__20230420__33dj2rk__v1__h

ประเทศเวียดนาม

อุณหภูมิแตะระดับ : 44 °C

  • ลาในอ่างเก็บน้ำซองเมย์ ตายอืดยกอ่าง กว่า 200 ตัน เนื่องจากพื้นที่นี่ไร้ฝนหลายสัปดาห์จึงเกิดความแห้งแล้ง
  • ประชาชนต่างพากันหลบร้อนในห้างสรรพสินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศ ที่นครโฮจิมินห์

s__26165329

ประเทศมาเลเซีย

อุณหภูมิแตะระดับ : 40 °C

  • พื้นที่เกือบครึ่งของคาบสมุทรมาเลเซียเผชิญภาวะแห้งแล้งเสี่ยงไฟป่า
  • กระทรวงสารณสุขมาเลเซีย ออกมาตรการฉุกเฉิน เผย มีผู้เสียชีวิตจากลมแดด 2 คน 

malaysia

ประเทศสิงค์โปร์

อุณหภูมิแตะระดับ : 37 °C (ร้อนที่สุดอันดับ 4 จากการจดบันทึกเมื่อปี 1929)

  • โรงเรียน ผ่อนปรนกฎระเบียบด้านการแต่งกาย เพื่อให้นักเรียนสวมใส่ชุดเอื้ออำนวยต่อการเรียนมากขึ้น

singapore

ประเทศอินโดนีเซีย

อุณหภูมิแตะระดับ : 40 °C

  • พบผู้ป่วยไข้เลือดออก ติดเชื้อไวรัสเดงกี (malaysia heat wave) กว่า35,000 ราย (เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2023)
  • เผชิญสภาพอากาศสุดขั้ว ‘น้ำท่วม – ดินถล่ม’จังหวัดสุลาเวสีใต้ ส่งผลต่อบ้านเรือนกว่า 1,000 หลังคาเรือน

afp__20240507__34r387p__v1__hประเทศกัมพูชา

อุณหภูมิแตะระดับ : 43 °C

  • โรงเรียนในกรุงพนมเปญประกาศ ลดเวลาเรียนลง 2 ช.ม.
  • คลังแสงอาวุธระเบิด จ.กำปงสปือ ปลิดชีพทหาร 20 นาย คาดอากาศร้อนจัด

cambodiaเมียนมา (พม่า)

อุณหภูมิพุ่งสูงสุด : 48.2 °C (ทุบสถิติสูงงสุดในรอบ 60ปี)

  • มีผู้เสียชีวิตจากลมแดดเฉลี่ยวันละ 40 คน (นับจากกลางเดือน มี.ค.67)
  • เฉพาะเดือนเม.ย.67 มีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อน 1,473 คน

myanmarweatherประเทศฟิลิปปินส์

อุณหภูมิแตะระดับ : 45 °C (สถิติสูงสุดในประวัติการณ์)

  • กระทรวงศึกษาธิการสั่งหยุดการเรียนการสอนนับ 1,000 แห่ง เนื่องจากชั้นเรียนมีความแออัดและไม่มีเครื่องปรับอากาศ
  • โรงไฟฟ้ากว่า 13 แห่งบนลูซอน ต้องปิดปฎิบัติการชาวคราว เนื่องจากไฟสำรองเหลือน้อย

afp__20240402__34n68by__v2__hอากาศร้อนขนาดนี้ หรือนี่คือสัญญาณโลกเดือด ?

อากาศร้อนจัด เพราะ ปรากฏการณ์เอลนีโญ

ปรากฎการณ์เอลนีโญ คือ ปรากฏการณ์ที่กระแสน้ำอุ่น ไหลจากตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก อันเป็นปกติ ไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู นานประมาณ 2-3 เดือน บางครั้งอาจยาวนานข้ามปี

ผลกระทบของเอลนีโญ

  • มักเกิดฝนแล้ง ปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยจะน้อยกว่าปกติ ส่งผลต่อความเสียหายด้านการเกษตร ขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภค

  • อุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิโดยรวมของประเทศไทยจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง อาจส่งผลต่อสุขภาพประชาชน

ทำให้ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาเตือนว่า อากาศร้อนปี 2566 จะร้อนกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน หลังปรากฏการณ์ลานีญา ในช่วง 3-4 ปีติดต่อกันได้สิ้นสุดลงแล้ว และปี 2566 ไม่ได้ร้อนที่สุด แต่ปี 2567 จะร้อนมากกว่านี้ เพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ จะแรงที่สุดตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. ปี 2566 เป็นต้นไป

ปรากฏการณ์เอลนีโญ นอกจากทำให้ปีนี้อากาศร้อนมากขึ้น ยังก่อให้เกิดภัยแล้งยาวนานไปถึงปีหน้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างมาก 1 องศาฯ ในปีหน้า และปีถัดๆไปอุณหภูมิจะสูงขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้นเมื่ออากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกัน ก็จะเกิดพายุฤดูร้อน ทำให้ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปตลอดเดือน เม.ย. จะมีทั้งอากาศร้อนอบอ้าวและพายุฤดูร้อน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และตะวันออก ให้ระวังพายุฤดูร้อน ซึ่งเป็นห่วงไม้ผลพวกทุเรียนในภาคตะวันออก จะหักโค่นได้รับความเสียหาย แต่เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถป้องกันหรือระวังได้

ไทยกําจะลังเจอ ลานีญา เข้ามาเเทนที่ 

ลานีญา คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางสมุทรศาสตร์ที่ตรงข้ามกับกับเอลนีโญ ซึ่งทำให้ฝั่งเอเชียฝนตกมากยิ่งขึ้น จนอาจเกิดเป็นภัยพิบัติทางน้ำขึ้นมาได้ ขณะที่ฝั่งอเมริกาจะแห้งแล้งกว่าเดิม

3 ผลกระทบของลานีญาในประเทศไทย 

  • รูปแบบที่ 1 หากช่วงฤดูฝนของปี 2567 มีการพัฒนาเข้าสู่สภาวะลานีญารุนแรง จะทำให้ปริมาณน้ำสูงถึง 14,000 ล้าน ลบ.ม.

  • รูปแบบที่ 2 หากช่วงฤดูฝนของปี 2567 มีการพัฒนาเข้าสู่สภาวะลานีญาอ่อน จะทำให้ปริมาณน้ำมีประมาณ 6,000 – 8,000 ล้าน ลบ.ม.

  • รูปแบบที่ 3 หากในช่วงฤดูฝนของปี 2567 สภาวะลานีญาอยู่ในระดับปกติ และในปี 2568 ปริมาณน้ำจะอยู่ที่ระดับประมาณ 6,000 ล้าน ลบ.ม.

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT