เจาะผนังถ้ำหลวง ยาก! กูรูชี้เขาหินปูนเสี่ยงถล่ม แนะใช้เครื่องขุดน้ำมันเซาะแนวพื้นช่วยได้ (คลิป)

28 มิ.ย. 61
ความคืบหน้าการค้นหากลุ่มผู้สูญหาย 13 คน ที่สูญหายไปในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน วันนี้ (28 มิ.ย. 61) เจ้าหน้าที่ได้นำรถขุดเจาะบาดาล 3 คัน เพื่อเจาะเปิดทางน้ำตรงบริเวณด้านหน้าถ้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการเจาะผนังถ้ำในแนวราบเพื่อเจาะให้ถึงภายในถ้ำบริเวณที่มีน้ำขังอยู่เพื่อเป็นการระบายน้ำออกให้ได้ถึง 1000 ลูกบาศก์เมตร
เจ้าหน้าที่ขุดเจาะช่องเพื่อเติมออกซิเจนเข้าไปและระบายน้ำออก
ด้าน ผศ.น้อม งามนิสัย นักวิชาการภูมิศาสตร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่า ตัวเองเคยศึกษาถ้ำพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งถ้ำหลวงนางนอนเป็นถ้ำที่เป็นหินปูนซึ่งเป็นการตกตะกอนของดินเหนี่ยวผสมกับแคลเซี่ยมคาร์บอเนต ซึ่งยากต่อการเจาะเพราะเป็นถ้ำเป็นหินปูน เนื้อแน่นและมีอายุกว่า 100 ปี ภาพรวมของหินชนิดนี้น้ำสามารถไหลผ่านได้ ขณะที่ลักษณะของหินปูเป็นการแตกแนวดิ่งสลับกับมีชั้นแนวนอน ทำให้ลักษณะของหินจึงเป็นก้อนๆคลายกับอิฐก่อนกันเป็นชั้นๆและมีลักษณะน้อยใหญ่ตามการยึดตัวภายในถ้ำ
ผศ.น้อม งามนิสัย นักวิชาการภูมิศาสตร์
ดังนั้นหากจะมีการขุดเจาะเพื่อเปิดผนักถ้ำ เข้าไปช่วยเหลือเด็กทั้ง 13 คน ส่วนตัวมองได้ 2 ลักษณะ คือ วิธีที่ 1 การแซะพื้นถ้ำตามรูถ้ำตามแนวที่น้ำไหลผ่าน ให้ถ้ำขยายใหญ่มากขึ้น ซึ่งหากทำวิธีนี้ได้น้ำก็จะไหลผ่านได้เร็วขึ้น , วิธีที่2 คือการเจาะลงมาจากผนังถ้ำด้านบน ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ที่เคยเดินเข้าไปสำรวจ หรือแผนที่ทางกายภาพเพื่อการวิเคราะห์ร่วมกันหรือแม้แต่อาศัยเครื่องมือวัดความหนาของผนังถ้ำ แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กอยู่ช่วงไหนของถ้ำ และการเจาะแนวดิ่งยังต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ใช้ในการขุดเจาะสำหรับการค้นหาหรือใช้เพื่อขุดเจาะน้ำมัน “หัวเจาะ ที่ปตท.ใช้” โดนคุณสมบัติต้องเป็นหัวเจาะแบบเหล็กมีขนาดใหญ่ เคลือบด้วยเนื้อเพชรโรงงานสังเคาะห์ชนิดพิเศษที่มีความแข็ง
แบบจำลองการขุดเจาะเพื่อเปิดผนักถ้ำ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ