Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
คนเกือบครึ่งมีเงินสำรองไม่ถึง 1 เดือน โพลชี้ 83% รับวิกฤตระยะยาวไม่ไหว

คนเกือบครึ่งมีเงินสำรองไม่ถึง 1 เดือน โพลชี้ 83% รับวิกฤตระยะยาวไม่ไหว

14 พ.ค. 68
12:49 น.
แชร์

ในสถานการณ์ที่ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับรายได้ที่อาจไม่เติบโตเท่าทัน หลายคนอาจรู้สึกว่าการจัดการเงินในแต่ละวันกลายเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องอาศัยความรอบคอบและวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น

 

ล่าสุด “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,229 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2568 เกี่ยวกับเรื่องที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่คือเรื่อง “คนไทยกับการรับมือปัญหาเศรษฐกิจ”

 

คนส่วนใหญ่ “ค่อนข้างกังวล” กับเศรษฐกิจไทยตอนนี้

 

คนกังวลเศรษฐกิจมีเงินสำรองไม่ถึงเดือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้สึกกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ 51.59% ระบุว่า ค่อนข้างกังวล 40.60% ระบุว่ากังวลมาก เมื่อรวมกันจะเห็นได้ว่ามีประชาชนถึงกว่า 92% ที่รู้สึกไม่มั่นคงและไม่สบายใจกับทิศทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

 

สิ่งที่กังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย คือ ราคาสินค้าที่แพงขึ้น ร้อยละ 73.23 ตามมาด้วยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 67.36 ภาวะดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน แต่ยังสะท้อนความเปราะบางทางการเงินของประชาชนในวงกว้าง

 

เงินสำรองฉุกเฉิน “อยู่ได้ไม่ถึงเดือน”

 

เมื่อถามถึงเงินสำรองฉุกเฉินหากไม่มีรายได้เลย พบว่าเกือบครึ่งหนึ่ง 48.32% มีเงินสำรองใช้ได้ไม่ถึง 1 เดือน และอีกร้อยละ 35.24 มีเงินสำรองเพียง 1–3 เดือนเท่านั้น ซึ่งรวมแล้วคิดเป็นกว่า 83% ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง และไม่สามารถรองรับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

 

ประคองตัวด้วยการลดรายจ่าย แต่แผนการเงินยังไม่ยั่งยืน

 

ในภาวะสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ปรับตัวโดยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 77.37% รองลงมาคือการลดการก่อหนี้ใหม่ร้อยละ 63.96 สะท้อนถึงความพยายามในการประคองตนเองให้อยู่รอดท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ

 

อย่างไรก็ตามแม้ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงิน แต่ยังพบว่าร้อยละ 58.99 วางแผนแล้วแต่ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเพียงร้อยละ 27.83 ที่สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่องจริงจัง ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคในการแปลงความตั้งใจให้กลายเป็นพฤติกรรมทางการเงินที่ยั่งยืน

 

ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล “ยังต่ำ”

 

สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลไทย ในการรับมือกับปัญหาผลกระทบ จากการขึ้นภาษี สินค้านำเข้าของสหรัฐฯ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 76.06 ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาลที่จะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเพียงร้อยละ 23.94 เท่านั้นที่ยังคงเชื่อมั่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสะท้อนถึงความท้าทายด้านความน่าเชื่อถือของภาครัฐในสายตาประชาชน

อ้างอิงที่มา : https://dusitpoll.dusit.ac.th/

Advertisement

แชร์
คนเกือบครึ่งมีเงินสำรองไม่ถึง 1 เดือน โพลชี้ 83% รับวิกฤตระยะยาวไม่ไหว